สิวไต ปล่อยไว้ก็ไม่ได้ บีบไปก็ไม่ควร แล้วต้องรักษาอย่างไร?
สิวไต เป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับใครหลายคน เพราะไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อความมั่นใจในตนเองเท่านั้น แต่ยังอาจทิ้งรอยแผลเป็นที่น่ากังวลไว้อีกด้วย บทความนี้ Better Me Clinic จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจถึงสาเหตุ ลักษณะ และวิธีการรักษาสิวไตอย่างละเอียด เพื่อให้คุณสามารถจัดการกับปัญหาสิวชนิดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ!
สิวไตคืออะไร?
สิวไต (Nodular Acne) คือ สิวอักเสบชนิดหนึ่งที่มีลักษณะรุนแรงและเกิดจากการอักเสบในผิวชั้นลึก สิวประเภทนี้มักมีลักษณะเป็นตุ่มเนื้อขนาดใหญ่ มีความเจ็บปวด และเป็นก้อนไตแข็ง ๆ ใต้ผิวหนัง โดยลักษณะเด่นของสิวไตมักจะเป็นสิวไม่มีหัวที่มองเห็นได้และใช้ระยะเวลานานในการรักษา
สิวไตเกิดจากสาเหตุใด?
เนื่องจากสิวไตถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสิวอักเสบ ทำให้สาเหตุของการเกิดสิวที่เป็นไตนั้นคล้ายกับสิวอักเสบชนิดอื่น ๆ เพียงแต่จะมีอาการที่รุนแรงกว่า โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิวไม่มีหัวเป็นไตนั้นมีหลายปัจจัย ดังนี้
1. การอุดตันของรูขุมขน
2. การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการผลิตน้ำมันในผิวหนัง โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศที่กระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนจึงทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการอุดตันรูขุมขนและเกิดสิวอุดตันรวมถึงสิวอักเสบได้ง่าย
สำหรับช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนมากที่สุด คือ วัยรุ่น วัยเจริญพันธุ์ และช่วงที่มีประจำเดือน นอกจากนี้ ความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และส่งผลให้แอนโดรเจนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้ต่อมไขมันผลิตซีบัมมากเกินไปจนเกิดการอุดตันและทำให้สิวมีโอกาสอักเสบมากขึ้น
3. ปริมาณของเชื้อ Cutibacterium Acnes
Cutibacterium acnes (C. acnes) เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวหนังของเรา ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่เมื่อผิวหนังไม่แข็งแรง เช่น รูขุมขนถูกอุดตันหรือมีผิวมัน เชื้อ C. acnes จะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและทำให้เกิดการอักเสบได้ หากแบคทีเรียชนิดนี้เพิ่มจำนวนมากเกินไปก็จะทำให้เนื้อเยื่อรอบรูขุมขนเกิดการอักเสบลึกและรุนแรง ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นสิวไม่มีหัวที่เป็นไตได้ในที่สุด
4. พันธุกรรม
พันธุกรรมมีผลต่อการเกิดสิวไตได้ เนื่องจากยีนที่ส่งต่อในครอบครัวอาจมีผลต่อการทำงานของต่อมไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ต่อมไขมันผลิตซีบัมมากเกินไป ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้รูขุมขนอุดตัน
นอกจากนี้ คนที่มีพันธุกรรมเป็นสิวแข็งเป็นไตอาจมีแนวโน้มที่จะมีการอักเสบของผิวหนังมากกว่าปกติ รวมถึงมีภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อแบคทีเรียในรูขุมขนสูงกว่า ทำให้เกิดการอักเสบรุนแรงที่ก่อให้เกิดสิวเป็นไตได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
5. การบีบสิว
การบีบสิว กดสิว หรือการทำกระบวนการใดก็ตามที่พยายามจะเค้นสิวให้ออกมา หากทำอย่างไม่ถูกต้องก็อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่กระตุ้นให้รูขุมขนบริเวณนั้นบาดเจ็บและนำไปสู่การเกิดสิวแข็งเป็นไตได้ เนื่องจากในขณะที่เราบีบสิวอยู่ แบคทีเรียที่อยู่ในสิวอาจแพร่กระจายไปยังบริเวณรอบข้างและลงสู่ผิวชั้นลึก ทำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงและลุกลามไปยังบริเวณอื่น ๆ ดังนั้นหากต้องการบีบสิวหรือกดสิว ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการและทำหัตถการกับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
สิวไตมีลักษณะอย่างไร?
สิวเป็นไตมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากสิวทั่วไป โดยสิวไตจะมีลักษณะเป็นสิวแข็งเป็นไต หรือ เป็นก้อนแข็งที่อยู่ลึกใต้ผิวหนัง ไม่เหมือนกับสิวอักเสบชนิดตุ่มนูนแดงหรือสิวหัวหนองที่สามารถมองเห็นหัวสิวบนผิวชั้นนอกได้ นอกจากนี้ สิวไตยังมักจะมีขนาดใหญ่และเกิดการอักเสบใต้ผิวหนัง ทำให้เมื่อสัมผัสจะรู้สึกปวดมากและมีอาการบวมแดงรอบ ๆ บริเวณที่เป็น
โดยสิวไตสามารถเกิดขึ้นได้หลายจุดในร่างกาย ซึ่งบริเวณที่พบสิวเป็นไตได้บ่อย มีดังนี้
- สิวไตที่จมูก เป็นจุดที่เกิดสิวแข็งเป็นไตได้บ่อยที่สุด เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีการสะสมของน้ำมันส่วนเกินมาก ทำให้ง่ายต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
- สิวไตที่แก้มและกรอบหน้า มักเกิดจากการสัมผัสสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการเผลอใช้มือสัมผัสใบหน้าหรือเท้าคางบ่อย ๆ
- สิวไตที่ลำคอ มักมีสาเหตุมาจากประวัติทางพันธุกรรม โดยสิวเป็นไตที่เกิดขึ้นบริเวณนี้อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นบริเวณที่ผิวหนังบางและเคลื่อนไหวบ่อย พบได้มากในเพศชายที่มีผิวสีขาว
วิธีการรักษาสิวไต
การรักษาสิวเป็นไตสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการตอบสนองของผิวหนังต่อการรักษา โดยการรักษาสิวแข็งเป็นไตมีวิธีหลัก ๆ ดังนี้
1. การรักษาด้วยยาทาภายนอก
การใช้ยาทาภายนอกเป็นวิธีเบื้องต้นสำหรับการรักษาสิวไต โดยเฉพาะในกรณีที่สิวเป็นไตยังไม่รุนแรงมาก ซึ่งผลิตภัณฑ์รักษาสิวไตจะเน้นไปที่การฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบและลดการผลิตไขมัน เพื่อป้องกันการอุดตันของรูขุมขนและบรรเทาอาการอักเสบ สำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสิวเป็นไตด้วยตนเอง สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวได้ทั้งผลิตภัณฑ์ที่มาในรูปแบบยาหรือครีมบำรุงผิว โดยให้มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของตัวยาเหล่านี้
- ยากลุ่มเบนโซลอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อและลดจำนวนแบคทีเรีย C. acnes ทำให้อาการอักเสบค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น
- ยาที่มีส่วนผสมของกรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) เป็นกรดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและลดการอุดตันของรูขุมขน รวมถึงช่วยลดรอยดำหลังเกิดสิวได้ด้วย
- ยากลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) สามารถใช้กับสิวได้ทุกระยะ มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตันของรูขุมขน อีกทั้งยังช่วยลดการบวมและลดการอักเสบได้ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้ผิวบางลงและรู้สึกแสบเมื่อโดนแดดได้
- ยาทาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ (Topical Antibiotics) เช่น Clindamycin หรือ Erythromycin ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและลดการอักเสบ การใช้ยาปฏิชีวนะควรใช้ร่วมกับยาทาภายนอกอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการดื้อยา
2. การรับประทานยารักษาสิวไต
การรับประทานยารักษาสิว เป็นหนึ่งในวิธีรักษาสิวแข็งเป็นไตที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสิวไตที่รุนแรงหรือสิวเป็นไตที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาภายนอก
โดยยารักษาสิวชนิดรับประทานที่ใช้ในการรักษาสิวไตนั้นมีหลายชนิด แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกยาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลตามความรุนแรงของสิว สำหรับยาที่มักนำมาใช้ในการรักษาสิวไต มีดังนี้
- ยากลุ่มไอโสเตรตินอย (Isotretinoin) มีคุณสมบัติในการลดการสะสมของแบคทีเรียและการอักเสบ เป็นตัวยาที่ให้ผลลัพธ์ดีแต่อาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรง จึงมักจะใช้ในผู้ที่มีสิวจำนวนมากหรือสิวที่มีการอักเสบอย่างรุนแรงเท่านั้น
- ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน เช่น เซฟาเลกซิน (Cephalexin) หรือเตตระไซคลิน (Tetracycline) มีคุณสมบัติสำคัญในการรักษาการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย ลดการอุดตันของรูขุมขน และช่วยลดการอักเสบ
- ยาคุมกำเนิด มีคุณสมบัติช่วยลดการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการผลิตซีบัม (น้ำมัน) ทำให้ควบคุมความมันบนผิวหนังได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยาคุมกำเนิดยังช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียบริเวณใบหน้าได้ด้วย ส่งผลให้ลดโอกาสในการเกิดสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ การรักษาสิวเป็นไตก็ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนังเท่านั้น เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงจากตัวยา
3. การรักษาสิวไตด้วยวิธีทางการแพทย์
- ฉีดสิว (Acne Injection) เป็นการใช้ยา Corticosteroids หรือยาที่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบฉีดลงไปที่ตุ่มสิว ทำให้สิวยุบตัวลง นิยมใช้ในการรักษาสิวแข็งเป็นไตที่มีแนวโน้มว่าสิวจะมีอาการบวมมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังฉีดสิวสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ภายใน 2-3 วัน
- ผลัดเซลล์ผิว (Peeling) หรือกระบวนการเร่งให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วด้วยการใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ช่วยให้รูขุมขนไม่อุดตัน ลดการอักเสบ และกระตุ้นให้ผิวเกิดการซ่อมแซมด้วยตนเอง โดยที่ Better Me Clinic เรามีการผลัดเซลล์ผิวด้วยสูตร Acne Peeling สูตรนี้สามารถช่วยรักษาสิวได้อย่างครอบคลุม ช่วยฆ่าเชื้อสิว และทำให้สิวหายไวขึ้นอีกด้วย
- การกรอผิว (Microdermabrasion) เป็นวิธีขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วด้วยการใช้เครื่องมือพิเศษอย่างเกล็ดอัญมณีในการกรอผิวด้านบน โดยวิธีนี้จะช่วยลดการอุดตันของรูขุมขนไปพร้อม ๆ กับการกระตุ้นคอลลาเจนเพื่อเติมเต็มรอยหลุมสิวและแก้ไขปัญหารูขุมขนกว้าง
- การทำทรีตเมนต์ เป็นการเติมสารอาหารให้กับผิวหน้าโดยตรงผ่านเทคนิคต่าง ๆ หากใครที่กำลังเจอกับปัญหาสิว Better Me Clinic ขอแนะนำ Acne Treatment ทรีตเมนต์ที่มีส่วนผสมของ Tree Tea Oil ช่วยลดการอักเสบและการเห่อของสิว สามารถเห็นผลลัพธ์หลังทำได้อย่างชัดเจน
- การฉายแสงลดสิว นิยมใช้แสงอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ แสงสีฟ้า ที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และแสงสีแดง ที่มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบของต่อมไขมัน รวมถึงกระตุ้นให้ผิวแข็งแรงขึ้น โดยหัตถการนี้มักจะใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การทายา, รับประทานยา หรือการใช้เลเซอร์ ในบางคลินิกอาจมีการฉายแสงอาจในกระบวนการของการทำทรีตเมนต์ด้วย
- การฉีดมาเด้คอลลาเจน คือโปรแกรมเมโสชนิดหนึ่งที่เน้นฉีดตัวยาที่มีส่วนผสมของวิตามิน แร่ธาตุ และคอลลาเจนเข้าไปที่ชั้นผิว เพื่อขับสารพิษและของเสียออก รวมถึงกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้ผิวแข็งแรงขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสิวเรื้อรัง
วิธีป้องกันการเกิดสิวไต
การป้องกันการเกิดสิวแข็งเป็นไตนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการป้องกันการเกิดสิวไตอย่างถูกวิธีจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดสิวอักเสบที่รุนแรงและลดโอกาสที่จะเกิดรอยแผลเป็นหลังสิวหายได้
ถึงแม้สิวเป็นไตจะเกิดจากหลายปัจจัยที่ยากต่อการควบคุม แต่เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการดูแลผิวและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม ดังนี้
- ล้างหน้าให้สะอาด ควรล้างหน้าอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ทำให้ผิวแห้ง รูขุมขนอุดตัน หรือระคายเคือง รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการล้างหน้าบ่อย ๆ เพราะอาจทำให้ผิวแห้งและกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น
- เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่มีผิวมันควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสูตรควบคุมความมัน มีเนื้อสัมผัสบางเบา รวมถึงควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันและซิลิโคน ส่วนผู้ที่มีผิวแห้ง ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นกับผิวและไม่อุดตันรูขุมขน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า มือของเรามักสัมผัสกับสิ่งสกปรกและเชื้อโรคเกือบตลอดเวลา การสัมผัสใบหน้าอาจนำสิ่งสกปรกและแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหน้าและทำให้เกิดสิวได้
- หลีกเลี่ยงการบีบหรือกดสิวด้วยตนเอง เนื่องจากการบีบสิวผิดวิธีอาจทำให้แบคทีเรียแพร่กระจายและทำให้สิวอักเสบมากขึ้น รวมถึงยังทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้อีกด้วย
- ปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าฮอร์โมนเป็นหนึ่งในปัจจัยของการเกิดสิว ซึ่งถ้าหากเรายังมีพฤติกรรมเดิมอยู่ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีความเครียดสะสม ถึงแม้จะรักษาสิวไตด้วยวิธีอื่น ๆ แล้ว แต่พฤติกรรมเหล่านี้จะยังคงทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลและนำไปสู่การเกิดปัญหาสิวไตได้ดังเดิม
คำถามที่พบบ่อย
1. สิวไตกดได้ไหม?
สิวแข็งเป็นไตไม่ควรกดหรือบีบออก เนื่องจากเป็นสิวไม่มีหัวที่สามารถกดออกมาได้เหมือนสิวประเภทอื่น ๆ อีกทั้งสิวเป็นไตยังอยู่ในตำแหน่งผิวหนังชั้นลึก การกดหรือบีบออกอาจทำให้ปัญหาสิวแย่ลงและอาจพัฒนากลายเป็นฝีหรือการติดเชื้ออื่น ๆ ที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ได้
นอกจากนี้ การกดสิวด้วยตัวเองยังอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็น ไม่ว่าจะเป็นแผลเป็นแบบหลุมลึก (Ice Pick Scars) หรือแผลเป็นแบบนูน (Keloid Scars) ที่รักษาได้ยาก หากต้องการรักษาสิวไต ควรเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินปัญหาและรับการรักษาที่เหมาะสม
2. สิวไตใช้เวลากี่วันหาย?
สิวไตจะใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าสิวประเภทอื่น ๆ เนื่องจากเป็นสิวที่เกิดการอักเสบลึกใต้ผิวหนัง โดยปกติแล้วสิวแข็งเป็นไตอาจใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ในการยุบลงหรือหายไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและวิธีการรักษา
นอกจากนี้ หากไม่ได้รับการรักษาสิวเป็นไตอย่างถูกวิธี ก็อาจทิ้งรอยแผลเป็นบนผิวไว้ได้ การรักษาด้วยการใช้ยาทา ยาปฏิชีวนะ หรือการรักษาทางการแพทย์ จะสามารถช่วยเร่งกระบวนการฟื้นตัวและลดการอักเสบให้สิวหายเร็วขึ้นได้
สรุปเกี่ยวกับสิวไต
สิวไต ถึงแม้จะเป็นปัญหาสิวที่พบได้ไม่บ่อย แต่ก็เป็นปัญหาสิวที่มีความรุนแรงมาก ทำให้เกิดความเจ็บปวดและอาจส่งผลให้เกิดรอยแผลเป็นหลังสิวหายได้ เพราะฉะนั้นหากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาสิวไตอยู่ ควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินปัญหาและทำการรักษาอย่างตรงจุดทันที
ผู้ที่มีปัญหาสิวเป็นไตและต้องการปรึกษาแพทย์ ให้ Better Me Clinic เป็นตัวเลือกของคุณ เพราะเรามีบริการรักษาสิวให้เลือกอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในเชิงป้องกันอย่างการผลัดเซลล์ผิว หรือการรักษาเชิงรุกอย่างการฉายแสง LED และการทำเลเซอร์หน้าใส ทุกบริการเราให้คำปรึกษาและดูแลโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น
หากยังไม่มั่นใจว่าควรเลือกรักษาสิวแข็งเป็นไตด้วยวิธีใด สามารถติดต่อเข้ามาที่ Better Me Clinic by Dr. Chanya เพื่อให้คุณหมอประเมินสภาพผิวและแนะนำหัตถการที่เหมาะสมแบบเคสบายเคสได้เลย ติดต่อนัดหมายได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-059-8118, 088-603-2641 หรือไลน์ @bettermeclinic ปรึกษาคุณหมอฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย รับรองว่าคุณจะมีผิวสวย ๆ กลับบ้านไปอย่างแน่นอน!
- Mayoclinic, Acne (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/diagnosis-treatment/drc-20368048), 16 October 2024.
- HDmall, ฉีดสิว อีกทางเลือกเพื่อให้สิวยุบได้รวดเร็วขึ้น (https://hdmall.co.th/c/acne-injection), 16 ตุลาคม 2567.
- HDmall, Tetracycline (เตตระไซคลิน) (https://hdmall.co.th/blog/health/tetracycline/), 16 ตุลาคม 2567.