fbpx

🔥FREE! Schedule a 3D Facial Design consultation with Dr.Chanya only this month 🇺🇸 🇰🇷 🔥

ทำความรู้จัก สิวเห่อ เกิดจากอะไร? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?

ทำความรู้จัก สิวเห่อ เกิดจากอะไร? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?
ทำความรู้จัก สิวเห่อ เกิดจากอะไร? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?

สิวเห่อ เป็นหนึ่งในปัญหาผิวที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและผู้ที่มีผิวมัน ซึ่งมักจะปรากฏเป็นสิวจำนวนมากบนใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นสิวอักเสบ สิวหัวหนอง หรือสิวหัวดำ ทำให้ผิวหน้าดูขรุขระและไม่เรียบเนียน การทำความเข้าใจถึงสาเหตุและการรักษาสิวเห่อที่ถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะช่วยฟื้นฟูให้ผิวกลับมาเรียบเนียนและดูดีได้อีกครั้ง

Better Me Clinic By Dr. Chanya จึงจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับปัญหาสิวเห่อให้มากขึ้น ตั้งแต่ต้นตอสาเหตุของการเกิดสิว วิธีป้องกันการเกิดสิวเห่อ ไปจนถึงวิธีรักษาสิวเห่อที่ถูกต้อง ใครที่มีปัญหาสิวเห่อหนักมากต้องไม่พลาดบทความนี้เลย!

สิวเห่อ เกิดจากอะไร?

สิวเห่อ หรือ Acne Breakout เป็นภาวะที่เกิดจากการอักเสบของรูขุมขน ซึ่งมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างทั่วใบหน้า โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ สิวอุดตัน, สิวหัวขาว, สิวหัวดำ, สิวอักเสบ, สิวหัวหนอง และสิวผดเล็ก ๆ คล้ายผื่นคัน

 

สาเหตุของการเกิดสิวเห่อสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยรวมกัน ส่วนมากมักเกิดจากรูขุมขนอุดตันด้วยไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทำให้เกิดการอักเสบและกลายเป็นสิวขึ้นมาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดสิวเห่อได้ด้วย ดังนี้

  • ฮอร์โมน ฮอร์โมนเพศชายจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากและทำให้รูขุมขนอุดตันง่ายขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นหรือช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ก่อนมีประจำเดือน
  • แบคทีเรีย แบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า P. acnes มักอาศัยอยู่ในรูขุมขน เมื่อรูขุมขนอุดตัน แบคทีเรียเหล่านี้จะเพิ่มจำนวนขึ้นและก่อให้เกิดการอักเสบได้
  • สภาพแวดล้อม อากาศร้อนชื้น ฝุ่นละออง มลภาวะ หรือการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดตัวเกินไป อาจทำให้เกิดเหงื่อออกมากและอุดตันรูขุมขนได้
  • อาหาร อาหารบางชนิด เช่น ของมัน, ของทอด หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง อาจกระตุ้นให้สิวเห่อได้
  • ยา ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด หรือยาที่มีคอร์ติโคสเตียรอยด์ อาจทำให้สิวเห่อได้
  • ความเครียด เป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวเห่อได้ เนื่องจากร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ทำให้มีการผลิตน้ำมันมากขึ้น เกิดการอุดตัน และเกิดการอักเสบ
  • เครื่องสำอาง การใช้เครื่องสำอางที่ไม่เหมาะสมหรือการแต่งหน้าหนาเกินไป อาจทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวเห่อได้พักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลมากขึ้น และกระตุ้นการผลิตน้ำมันในผิวหนังจนทำให้เกิดสิวเห่อขึ้นมา
  • แสงแดด การได้รับแสงแดดมากเกินไปจะทำให้ผิวแห้งและผลิตน้ำมันส่วนเกินออกมามากจนทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวเห่อได้

สิวเห่อ มักเกิดขึ้นบริเวณใด?

สิวเห่อเป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก ซึ่งบริเวณเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะผลิตน้ำมันและมีโอกาสเกิดการอุดตันได้ง่าย โดยสิวเห่อจะปรากฏขึ้นในหลาย ๆ จุด โดยเฉพาะบริเวณต่อไปนี้

  • สิวเห่อหน้าผาก มักเกิดจากการเสียดสีจากเครื่องประดับ เช่น ที่คาดผม, หมวก หรือผ้าโพกหัว รวมถึงการไว้ผมหน้าม้า มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ คล้ายผดผื่น และอาจรู้สึกไม่เรียบเนียนเมื่อสัมผัส
  • สิวเห่อแก้ม มีลักษณะเป็นสิวอุดตันหรือสิวอักเสบและทำให้ผิวแดงบริเวณหน้าแก้ม เกิดจากการแพ้เครื่องสำอางหรือครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมอันตราย เช่น สเตียรอยด์ หรือสารปรอท
  • สิวเห่อคาง มีลักษณะเป็นตุ่มสิวแดงจำนวนมาก เกิดจากการสัมผัสคางด้วยมือที่ไม่สะอาดหรือการใส่แมสก์บ่อย ๆ จนทำให้เกิดการเสียดสีและอับชื้น
  • สิวเห่อเต็มหน้า มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ คล้ายผดผื่นและรู้สึกไม่เรียบเนียนเมื่อสัมผัส อาจมีอาการสิวเห่อรุนแรงที่ลุกลามไปทั่วทั้งหน้า โดยมีลักษณะเป็นสิวแดง มีหัวหนอง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย สาเหตุมาจากการแพ้เครื่องสำอาง ฮอร์โมน พันธุกรรม หรือปัจจัยอื่น ๆ

วิธีรักษาสิวเห่อให้หน้ากลับมาเรียบเนียนกระจ่างใส

สิวเห่อ เป็นปัญหาผิวที่สร้างความกังวลใจให้กับใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่มีสิวเห่อหนักมากจนกังวลว่าจะรักษาไม่หาย 

แต่อันที่จริงแล้ว หากเข้าใจถึงสาเหตุและเลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม สิวเห่อก็สามารถรักษาให้หายได้ อีกทั้งยังทำให้ผิวหน้ากลับมาเรียบเนียนกระจ่างใสได้อีกครั้ง โดยวิธีรักษาสิวเห่อที่ Better Me Clinic แนะนำมีดังนี้

1. รักษาสิวเห่อด้วยการใช้ยา

การรักษาสิวเห่อด้วยการใช้ยาเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพ โดยยาเหล่านี้จะมีทั้งรูปแบบยาทาเฉพาะจุดและยารับประทาน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้

  • ยาทาเฉพาะจุด 
    • เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ช่วยลดการอักเสบและเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว ใช้ทาเฉพาะจุดหรือทั่วใบหน้า
    • กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตันของรูขุมขน มักใช้ในผลิตภัณฑ์ล้างหน้าหรือโลชั่น
    • กรดเรตินอยด์ (Retinoids) เช่น ทาซารอตีน (Tazarotene) หรืออาดาปาเลน (Adapalene) มีส่วนช่วยในการผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตัน
  • ยารับประทาน
    • ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เช่น ด็อกซี่ไซคลิน (Doxycycline) หรือมิโนไซคลิน (Minocycline) ใช้ในการลดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวและลดการอักเสบ
    • ฮอร์โมน (Hormonal Therapy) ในกรณีที่สิวเห่อเกิดจากฮอร์โมน โดยเฉพาะในผู้หญิง อาจใช้ยาคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนช่วยปรับฮอร์โมนให้สมดุลได้
    • ยาอิสเทรติโนอิน (Isotretinoin) ใช้สำหรับสิวเห่อที่รุนแรงหรือสิว cystic อาจมีผลข้างเคียงมาก จึงต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์

ทั้งนี้ การใช้ยารักษาสิวเห่อทั้งในรูปแบบยาทาเฉพาะจุดและยารับประทาน จำเป็นที่จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อให้ได้รับยาที่เหมาะสมกับสภาพผิวและความรุนแรงของสิว

2. ฉีดยาชนิดสเตียรอยด์

การฉีดยาชนิดสเตียรอยด์ เป็นวิธีรักษาสิวเห่อที่มีประสิทธิภาพในบางกรณี โดยเฉพาะเมื่อมีสิวอักเสบหรือซีสต์ (cystic acne) โดยการฉีดยาสเตียรอยด์จะช่วยลดการอักเสบและลดอาการบวมแดงได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงยังช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นจากสิวอักเสบที่รุนแรงอีกด้วย

3. กดสิว

การกดสิว เป็นวิธีรักษาสิวเห่อด้วยการใช้เครื่องมือเฉพาะทางกดสิวหัวดำหรือสิวอุดตันออก ควรทำโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่เกิดแผลเป็น ช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน และป้องกันการเกิดสิวใหม่

4. รักษาสิวเห่อด้วยเลเซอร์

การรักษาสิวเห่อด้วยเลเซอร์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและเห็นผลชัดเจน โดยเลเซอร์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาสิวเห่อได้หลากหลาย เช่น ลดการอักเสบของสิว, ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย, ลดการผลิตน้ำมัน และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น

 

สำหรับชนิดของเลเซอร์ที่นิยมนำมาใช้รักษาสิวเห่อ มีดังนี้

  • เลเซอร์ CO2 ใช้ในการรักษาสิวอักเสบและรอยแผลเป็นจากสิว
  • เลเซอร์ Fractional ช่วยลดการอักเสบของสิว กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และกระชับรูขุมขน
  • เลเซอร์ Vbeam ช่วยลดรอยแดงและรอยดำจากสิว
  • เลเซอร์ Blue Light ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว
ปรึกษาหมอชัญญาโดยตรง
ปรึกษาหมอชัญญาโดยตรง

วิธีป้องกันการเกิดสิวเห่อ

การป้องกันการเกิดสิวเห่อเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาผิวให้มีสุขภาพที่ดีและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสิวอักเสบหรือรุนแรง โดยวิธีป้องกันการเกิดสิวเห่อที่ Better Me Clinic แนะนำ มีดังนี้

  • ล้างหน้าให้สะอาด เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่เหมาะกับสภาพผิวของเรา โดยผิวแห้งควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและไม่ทำให้ผิวแห้งตึง ส่วนผิวมันควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยควบคุมความมันได้ดี ล้างหน้าเบา ๆ ด้วยปลายนิ้ว ไม่ควรขัดถูแรง ๆ เพราะจะทำให้ผิวระคายเคืองและเกิดสิวได้
  • ใช้มอยส์เจอไรเซอร์ มอยส์เจอไรเซอร์จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิวและป้องกันการเกิดสิวได้ ควรเลือกใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันและไม่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า มือของเรามีแบคทีเรียจำนวนมากทำให้เกิดสิวได้ง่าย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าบ่อย ๆ หากจำเป็นต้องสัมผัสใบหน้า ควรล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง
  • เปลี่ยนปลอกหมอนเป็นประจำ ปลอกหมอนเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียและสิ่งสกปรก ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนปลอกหมอนเป็นประจำทุก 1-2 สัปดาห์ รวมถึงควรซักปลอกหมอนด้วยน้ำร้อนเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก, ผลไม้ และธัญพืชเต็มเมล็ด จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นและช่วยลดการอักเสบในร่างกายได้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและน้ำตาลสูง เพราะอาหารเหล่านี้จะกระตุ้นการผลิตน้ำมันในผิวและทำให้เกิดสิวเห่อได้
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยลดความเครียดและฮอร์โมนที่กระตุ้นการเกิดสิวได้ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ วันละประมาณ 30 นาที
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้เกิดความเครียดและฮอร์โมนที่กระตุ้นการเกิดสิวได้ ควรนอนให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น น้ำหอม, แอลกอฮอล์ และสารกันเสีย เนื่องจากจะทำให้ผิวระคายเคืองและเกิดสิวเห่อได้ ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่อ่อนโยนและไม่มีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

คำถามที่พบบ่อย

1. สิวเห่อหนักแค่ไหนถึงควรพบแพทย์?

ผู้ที่มีสิวเห่อรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามปกติ ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาผิวหนังทันที โดยสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าควรพบแพทย์ ได้แก่ สิวมีการอักเสบรุนแรง, มีหนองขนาดใหญ่, มีอาการบวมแดงและเจ็บ, สิวไม่หายถึงแม้จะรักษามาแล้วหลายสัปดาห์ รวมถึงมีไข้ร่วมด้วย 

นอกจากนี้ หากสิวทิ้งรอยแผลเป็นหรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คัน, ผื่น หรือผิวหนังแห้งมาก ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมเช่นกัน

2. สิวเห่อหายเองได้ไหม?

หลายคนที่สงสัยว่า สิวเห่อหายเองได้ไหม? คำตอบคือ สิวเห่อสามารถหายเองได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สาเหตุของการเกิดสิว, ความรุนแรงของสิว และการดูแลผิวของแต่ละบุคคล หากสาเหตุของสิวเห่อเกิดจากปัจจัยกระตุ้นชั่วคราว เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการแพ้ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เมื่อปัจจัยเหล่านี้หมดไป สิวก็อาจหายไปเองได้ 

แต่ถ้าหากสิวเห่อมีอาการรุนแรงขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อรับคำแนะนำและรับการรักษาที่เหมาะสมทันที ซึ่งการพบแพทย์จะช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ได้รับการรักษาที่ตรงจุด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

3. แสงแดดมีผลต่อสิวเห่อหรือไม่?

แสงแดดมีผลต่อสิวเห่อ เนื่องจากแสงแดดสามารถกระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันมากขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน ผิวแห้งระคายเคือง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลเป็น

ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้สิวเห่อแย่ลง ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรงในช่วงเวลาที่แดดแรงและควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง

รักษาสิวเห่อที่ไหนดี?

การรักษาสิวเห่อโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสิวเห่อให้หายไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ทิ้งรอยแผลเป็น ดังนั้นการเลือกสถานบริการรักษาสิวจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากความชำนาญของแพทย์ เครื่องมือ และเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ย่อมมีผลต่อใบหน้าของผู้เข้ารับบริการโดยตรง

Better Me Clinic by Dr. Chanya เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสิวเห่อ เนื่องจากคุณหมอของเรามีความชำนาญ มีประสบการณ์ ให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด ใส่ใจรายละเอียดแบบเคสต่อเคส รวมถึงยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เครื่องมือครบครัน พร้อมนวัตกรรมที่ทันสมัย

หากสนใจสามารถติดต่อนัดหมายได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-059-8118, 088-603-2641 หรือไลน์ @bettermeclinic ปรึกษาคุณหมอได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย รับรองว่าคุณจะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่และแก้ปัญหาได้ตรงจุดอย่างแน่นอน

  • NDTV, Sudden Acne Breakout: Causes And Tips For Prevention(https://www.ndtv.com/health/sudden-acne-breakout-causes-and-tips-for-prevention-2100213), 16 September 2024
  • Healthline, Everything You Want to Know About Acne? (https://www.healthline.com/health/skin/acne), 16 September 2024
  • American Academy of Dermatology, How to treat different types of acne (https://www.aad.org/public/diseases/acne/DIY/types-breakouts), 16 September 2024
  • Claveland Clinic, Acne (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/12233-acne), 16 September 2024

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อมอบบริการที่ดีที่สุดสำหรับคุณ