สิวอุดตัน ตัวการสำคัญก่อนเกิดสิวอักเสบ
“สิวอุดตัน” หนึ่งปัญหาผิวที่กวนใจใครหลายคนไม่น้อย เพราะนอกจากจะทำให้ผิวไม่เรียบเนียนแล้ว สิวอุดตันนี้เองที่เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาสิวเรื้อรัง ยิ่งถ้าหากรักษาผิดวิธีนอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดสิวอักเสบแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดรอยสิว ก่อนจะวนเวียนเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเรียกว่าเป็นวงจรสิวไม่รู้จบเลยก็ว่าได้
หากต้องการถอนรากถอนโคนของปัญหา เราจำเป็นที่จะต้องรู้ต้นตอที่แท้จริงเสียก่อน วันนี้ Better Me Clinic จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ “สิวอุดตัน” สิวเม็ดเล็กๆ ที่สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ พร้อมเจาะลึกว่าสิวอุดตันคืออะไร? สิวอุดตันหายเองได้ไหม? หากเป็นสิวอุดตันควรเลือกใช้สกินแคร์แบบใด? ไปจนกระทั่งเราจะรักษาสิวอุดตันได้อย่างไร? หากพร้อมแล้ว มาหาคำตอบไปพร้อมกันเลย!
สิวอุดตันคืออะไร? มีลักษณะเป็นอย่างไร?
สิวอุดตัน (Comedones) หรือ สิวไขมัน คือ สิวไม่อักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดจากการจับตัวกันของสิ่งตกค้างบริเวณใต้ผิวหนังกับน้ำมันส่วนเกินของใบหน้า เมื่อสิ่งสกปรกเหล่านี้หมักหมมกันเป็นเวลานานจึงทำให้รูขุมขนไม่สามารถระบายของเสียออกมาเพื่อปรับสมดุลได้ สิ่งสกปรกต่างๆ จึงรวมตัวกันอยู่ใต้ผิว และเกิดการอุดตันในที่สุด
สิวอุดตัน มีลักษณะเป็นตุมนูนขนาดเล็กที่ฝังตัวอยู่บนผิวหนัง มีลักษณะของหัวสิวแตกต่างกันไปตามสาเหตุของการเกิดสิว แต่โดยมากเมื่อสัมผัสสิวชนิดนี้จะไม่รู้สึกเจ็บปวดใดๆ เพียงแต่จะรู้สึกได้ว่าผิวไม่เรียบเนียนเท่านั้น พบได้บ่อยบริเวณหน้าผาก หน้าแก้ม คาง และแผ่นหลัง เป็นต้น
สิวอุดตัน นับเป็นสิวประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นบนผิวของคนเรามากที่สุด รวมทั้งยังใช้เวลาในการรักษานาน และสามารถกลับมาเป็นได้เรื่อยๆ อีกด้วย
สิวอุดตันเกิดจากอะไร?
โดยทั่วไปแล้วเซลล์ผิวหนังกำพร้าชั้นที่ตายแล้วบนผิวของคนเราจะต้องผลัดเซลล์ผิวและหลุดออกไปจากรูขุมขนโดยอัตโนมัติ แต่ในการเกิดสิวอุดตันนั้น เซลล์ผิวหนังกำพร้าเดิมที่ควรจะหลุดออกไป กลับไม่หลุดออก และมีจำนวนมากขึ้น
มิหน้ำซ้ำเซลล์ผิวเหล่านี้กลับจับตัวกับน้ำมันส่วนเกินของใบหน้า เคราติน รวมทั้งฝุ่นละอองต่างๆ จนรูขุมขนเกิดการอุดตันขึ้น ของเสียที่ควรจะถูกขับออกทางรูขุมขนจึงไม่สามารถระบายออกมาได้ และกลายเป็นสิวอุดตันในที่สุด
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของสิวอุดตันได้ เช่น
1. การเปลี่ยนของฮอร์โมนในร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายจะทำให้ต่อมไขมันขยายตัวขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นที่ฮอร์โมนเพศชายอย่างเทสโทเตอโรน (Testosterone) เพิ่มขึ้นทั้งในเพศชายและเพศหญิง นำไปสู่การผลิตน้ำมันหรือซีบัม (Sebum) ออกมามากกว่าปกติ ก่อนที่ซีบัมจะจับตัวกับสิ่งตกค้างและกลายเป็นสิวอุดตัน
นอกจากนี้แล้วการนอนดึก ความเครียดสะสม การใช้ยาคุมกำเนิด ก็สามารถทำให้ฮอร์โมนแปรปรวนจนเกิดเป็นสิวอุดตันได้เช่นกัน
2. ผิวถูกรบกวนเป็นประจำ
การดูแลผิวหน้าเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเราทำการสครับผิว ผลัดเซลล์ผิวบ่อยๆ อาจเป็นการรบกวนชั้นผิวหนังและทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ทางที่ดีควรผลัดเซลล์ผิวเพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อไม่ให้ผิวหน้าบางและเกิดการระคายเคืองจนเกินไป
นอกจากนี้ การใส่หน้ากากอนามัยก็นับเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดสิวอุดตัน เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่ไม่กระชับจะทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างหน้ากากอนามัยกับใบหน้าอยู่ตลอดทั้งวัน จนทำให้เกิดการระคายเคือง
รวมทั้งการใส่หน้ากากอนามัยเป็นระยะเวลานานก็จะทำให้บริเวณที่ถูกปิดอยู่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น รวมถึงยังอับชื้นจนเป็นแหล่งของแบคทีเรีย เมื่อน้ำมันที่เพิ่งผลิตออกมารวมตัวกับแบคทีเรียที่เพิ่งหมักหมมใหม่ก็จะทำให้เกิดการอุดตันได้ง่าย
3. มลภาวะ
มลภาวะ นับเป็นหนึ่งสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะเพียงก้าวขาออกจากบ้านเราก็จะต้องเจอกับฝุ่นควัน PM 2.5 และไอเสียจากท่อรถยนต์ เมื่อสิ่งเหล่านี้ได้จับตัวกับน้ำมันบนใบหน้าแล้ว ก็จะก่อให้เกิดสิวอุดตัน รวมถึงในบางรายอาจเกิดการแพ้จนทำให้มีผดผื่นร่วมด้วย
4. พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
การรับประทานอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน น้ำตาลมากเกินไป จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งไปรบกวนการเผาพลาญไขมัน ทำให้ระบบผิวหนังทำงานผิดปกติ ผลิตน้ำมันบนใบหน้าออกมามากเกินไป ซึ่งง่ายต่อการดูดซับแบคทีเรียและเกิดสิวอุดตัน
นอกจากนี้แล้วการรับประทานอาหารจำพวกนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงให้สิวอุดตันกลายเป็นสิวอักเสบได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องหมั่นสังเกตตัวเองเป็นประจำว่าอาหารประเภทใดที่ทำให้เกิดสิว หากทราบแล้วก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้น หรือรับประทานในปริมาณน้อย
5. การเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว
การดูแลผิวหน้าเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว อาจทำให้การผลิตน้ำมันบนใบหน้าผิดปกติและนำมาสู่การเกิดสิวอุดตันได้
ผิวที่มีปัญหาสิวจึงควรเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับผิวที่อ่อนโยน มีเนื้อเบาสบายผิว และผลิตมาสำหรับผู้ที่เป็นสิวโดยเฉพาะ
สิวอุดตันมีกี่ประเภท?
สิวอุดตันที่พบบ่อยๆ มี 2 ชนิด แบ่งตามลักษณะของหัวสิว ได้แก่
1. สิวอุดตันหัวเปิด (Open Comedone) หรือ สิวอุดตันหัวดำ (Blackheads)
สิวอุดตันชนิดนี้สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้อย่างชัดเจน โดยจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก มีหัวสีดำอยู่ตรงกลาง เกิดจาการอุดตันของขน เนื้อเยื่อ และไขมันภายในรูขุมขนชั้นตื้น เมื่อเป็นแล้วผิวบริเวณนั้นจะมีรูขุมขนกว้างขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ในระยะแรก สิวชนิดนี้จะมีสีขาวเหลืองซึ่งเป็นสีของเคราตินและไขมัน ก่อนที่สารเมลานินของเซลล์ผิวหนัง จะทำปฏิกิริยากับอากาศจนบริเวณหัวสิวกลายเป็นสีดำในที่สุด
2. สิวอุดตันหัวปิด (Closed Comedone) หรือสิวอุดตันหัวขาว (Whiteheads)
สิวอุดตันชนิดนี้มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีขาวขนาดเล็ก อาจสังเกตเห็นได้ยาก แต่หากสัมผัสแล้วจะรู้สึกถึงปุ่มนูนใต้ผิว เกิดจากการอุดตันของแบคทีเรีย เคราติน และน้ำมัน จนเกิดเป็นถุงซีตส์ใต้ผิว
สิวชนิดนี้เกิดในชั้นที่ลึกกว่าสิวหัวดำ ทำให้รักษาได้ยากกว่า รวมถึงหากรบกวนผิวบริเวณนั้นบ่อยๆ อาจนำไปสู่การระคายเคือง และพัฒนาไปสู่การเป็นสิวอักเสบได้
นอกจากนี้สิวอุดตันยังมีอีกหลายชนิด แต่อาจไม่ได้พบบ่อยมากนัก เช่น
- สิวอุดตันเล็ก (Microcomedones) สิวชนิดนี้เป็นสิวอุดตันขนาดเล็กที่สุด ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดสิวอุดตันที่ใหญ่ขึ้น
- สิวอุดตันขนาดใหญ่ (Macrocomedones) สิวชนิดนี้สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะโดยมากมักมีขนาดใหญ่กว่า 3 มิลลิเมตร มีทั้งแบบหัวเปิดหรือปิด แต่โดยมากหัวจะเปิดออกเองเมื่อสิวมีขนาดใหญ่ขึ้น
- สิวอุดตันขนาดยักษ์ (Giant Comedones) สิวชนิดนี้เป็นสิวหัวเปิดขนาดใหญ่พิเศษ มีขนาดตั้งแต่ 4 มิลลิเมตรไปจนถึง 2 เซนติเมตร ไม่มีอาการอักเสบใดๆ แต่มักทำให้เกิดความรำคาญจนคนพยายามบีบเค้น และเกิดการอักเสบได้ในที่สุด
- สิวแดด (Solar Comedones) สิวชนิดนี้เกิดจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด ทำให้ผิวเสื่อมสภาพลงตามวัย มักเกิดขึ้นบริเวณดวงตา จมูก แก้ม หรือหน้าผาก พบได้ในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
สิวอุดตันและสิวผดแตกต่างกันอย่างไร?
สิวอุดตันและสิวผด ดูภายนอกอาจมีลักษณะที่คล้ายกันมาก แต่แท้จริงแล้วสิวสองชนิดนี้มีสาเหตุที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
โดยสิวอุดตัน เกิดจากการรวมกันของน้ำมันส่วนเกินบนใบหน้าร่วมกับแบคทีเรียและสิ่งตกค้าง ทำให้เกิดการอุดตันขึ้นที่รูขุมขน มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ ทั้งแบบมีหัวและไม่มีหัว เมื่อเป็นแล้วไม่เกิดอาการคันใดๆ สามารถพบได้ทั่วใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก เมื่อเป็นแล้วสามารถพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อกดสิวออกได้
ในขณะที่สิวผด ไม่ใช่สิวอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นผื่นชนิดหนึ่ง เกิดจากการกระตุ้นของสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แสงแดด สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ฝุ่น นอกจากนี้ยังเกิดได้จากการติดเชื้อรา P.Ovale ที่ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณรูขุมขน แต่ยังคงสัมพันธ์กับสภาพอากาศ มักพบบนบริเวณหน้าผาก เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถกดออกได้ แต่ผดจะค่อยๆ ดีขึ้น เมื่อสภาพอากาศดีขึ้น
สิวอุดตันหายเองได้ไหม?
หากสิวอุดตันยังมีจำนวนไม่มากและยังมีขนาดเล็กอยู่ สิวอุดตันพวกนี้สามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญกดออก โดยหัวสิวอาจหลุดหรือยุบหายไปเองได้ตามกาลเวลา
แต่หากรู้สึกว่าสิวอุดตันมีขนาดใหญ่และมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาจนเป็นที่กังวล สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ที่ Better Me Clinic เพื่อรักษาสิวอุดตันก่อนที่จะกลายเป็นสิวอักเสบได้
สกินแคร์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นสิวอุดตัน
เนื่องจากสิวอุดตันเกิดจากการสะสมของน้ำมันส่วนเกินบนใบหน้าร่วมกับสิ่งตกค้างและเซลล์ผิวหนังที่ผลัดเซลล์ไม่ปกติ การกู้ผิวหน้าจากสิวอุดตันนั้นจึงเน้นไปที่การลดความมันของใบหน้าและผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
โดยการเลือกสกินแคร์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นสิวอุดตัน ควรดูจากส่วนผสมต่างๆ ดังนี้
- กรดเบต้าไฮดรอกซี (Beta Hydroxy Acid) หรือ BHA หรือ กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) มีคุณสมบัติลดการอุดตันของรูขุมขน เนื่องจาก BHA มีโมเลกุลที่เล็ก ทำให้สามารถซึมลงไปในรูขุมขนเพื่อล้างเอาไขมันที่ติดตามรูขุมขนให้หลุดออกได้ นอกจากนี้ยังสามารถผลัดเซลล์ผิวได้อีกด้วย
- กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids) หรือ AHA หรือ กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) เป็นกรดอ่อนๆ จากผลไม้ มีคุณสมบัติสำคัญในการเร่งการผลัดเซลล์ผิวเก่าบนใบหน้า รวมทั้งกระตุ้นการเกิดเซลล์ผิวใหม่ให้ขึ้นมาแทนที่ นอกจาก AHA จะลดการเกิดสิวอุดตันได้แล้ว AHA ยังช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้นอีกด้วย
- สารสกัดจากใบบัวบก (Centella Asiatica) เป็นแหล่งอาหารของผิว เพราะอุดมไปด้วยกรดอะมิโน เบต้าแคโรทีน กรดไขมัน และไฟโตนิวเทรียนต์ มีคุณสมบัติในการฟื้นฟูผิวและปรับสมดุลผิวให้ผิวชุ่มชื่น ลดการเกิดความมันบนใบหน้าซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดสิวได้
- ซิงค์ (Zinc) หรือ แร่ธาตุสังกะสี มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อนๆ มีคุณสมบัติในการช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงช่วยลดความมันบนใบหน้า ทำให้โอกาสในการเกิดสิวอุดตันลดลง
นอกจากการเลือกซื้อสกินแคร์จากส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แล้ว เรายังควรมองหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเจลสัมผัสเบาบาง ซึมง่าย และเป็นสูตรที่ได้รับการทดลองมาแล้วว่าไม่ทำให้เกิดการอุดตัน (Non Comedogenic) รวมถึงควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เพราะอาจทำให้ผิวเสียสมดุลและเกิดความันมากขึ้นได้
รวมวิธีรักษาสิวอุดตัน
การใช้สกินแคร์ให้เหมาะกับปัญหาผิวเป็นการปรับสมดุลผิวอย่างช้าๆ หากต้องการให้เห็นผลลัพธ์ได้ไวขึ้น อาจรักษาสิวอุดตันด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
1. การรักษาด้วยยาใช้ภายนอก
เมื่อเป็นสิวอุดตัน เราสามารถรักษาได้ด้วยตนเองโดยการทายารักษาเฉพาะจุด ตัวยามักจะเน้นที่การสลายการอุดตันในรูขุมขน ลดการเกิดความมันบนใบหน้า และเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว โดยยาใช้ภายนอกที่มักนำมาใช้ในการรักษาสิวอุดตัน ได้แก่
- ยากลุ่มเบนโซลอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) มีคุณสมบัติในกาลดจำนวนแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว รวมทั้งช่วยผลัดเซลล์ผิวและลดปริมาณไขมันบนผิวหนังได้ด้วย
- ยาที่มีส่วนผสมของกรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) สามารถลดการอุดตันของรูขุมขน และในผู้ที่เป็นสิวอักเสบก็สามารถใช้ยาชนิดนี้ในการลดการอักเสบของสิว รวมถึงลดรอยสิวหลังจากสิวหายได้อีกด้วย
- ยากลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) มีคุณสมบัติสำคัญในการลดการอุดตันของรูขุมขน สามารถลดการบวมและอักเสบในผู้ที่เป็นสิวอักเสบได้
ทุกคนสามารถซื้อยารักษาสิวได้ด้วยตนเองที่คลินิกที่มีการรับรองอย่างถูกต้อง และต้องได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร เพราะการใช้ยาที่มีความเข้มข้นมากเกินไปอาจทำให้ผิวระคายเคืองจนกลายเป็นต้นเหตุของการเกิดสิวได้
2. การรับประทานยารักษาสิวอุดตัน
ผู้ที่เป็นสิวอุดตันเพียงอย่างเดียว แพทย์มักไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ เนื่องจากการใช้ยาแบบรับประทานสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ แพทย์จึงจะจ่ายยาให้กับผู้ที่มีปัญหาสิวอุดตันร่วมกับสิวอักเสบเท่านั้น โดยเน้นเป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ หรือยาปรับฮอร์โมนในกรณีที่สิวเกิดจากฮอร์โมนที่แปรนปรวน เป็นต้น
3. รักษาสิวอุดตันด้วยการกดสิว
การกดสิวเป็นการขจัดสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในรูขุมขนโดยใช้เข็มปลายแหลมเปิดรูขุมขนออกก่อน และใช้เข็มอีกด้านกดให้ก้อนไขมันรวมถึงสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในรูขุมขนออกมา ช่วยให้การอุดตันนั้นหายไป และลดต้นเหตุในการเกิดสิวอักเสบ
การกดสิวควรทำกับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะผู้เชี่ยวชาญจะมีเครื่องมือเฉพาะที่สามารถกดสิ่งแปลกปลอมออกมาได้หมดจด ไม่ทำให้ผิวบริเวณอื่นๆ บาดเจ็บ และยังสามารถมั่นใจในความสะอาดได้อีกด้วย
โดยมากแพทย์จะไม่แนะนำให้รักษาสิวอุดตันด้วยวิธีการกดเพียงอย่างเดียว เพราะเป็นการรักษาจากปลายเหตุ ทั้งนี้ควรใช้ยาทาภายนอกควบคู่ไปกับการดูแลผิวเพื่อลดต้นเหตุของการเกิดสิวไปด้วย
4. รักษาสิวอุดตันด้วยการฉีดสิว
การฉีดสิว จะเป็นการฉีดยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เข้าไปบริเวณที่เกิดสิว ซึ่งวิธีนี้มักใช้กับสิวอุดตันที่มีขนาดใหญ่ โดยแพทย์จะฉีดลงบนผิวหนังชั้นตื้นบริเวณที่เป็นสิว
แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดตรงที่อาจทำให้เกิดรอยบุ๋มหลังการรักษาได้ และเป็นวิธีที่ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงในผู้ป่วยบางโรค
ดังนั้นก่อนตัดสินใจฉีดสิว ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงโรคประจำตัวและหากมีความกังวลใดๆ ควรแจ้งแพทย์ก่อนรับบริการ
5. รักษาสิวอุดตันด้วยวิธีอื่นๆ
นอกจากวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายหัตถการที่สามารถรักษาสิวอุดตันได้และให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น
- การผลัดเซลล์ผิว (Peeling) หรือกระบวนการเร่งให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วโดยใช้สารเคมี วิธีนี้จะช่วยให้รูขุมขนไม่อุดตัน รวมถึงช่วยกระตุ้นให้ผิวเกิดการซ่อมแซมตนเอง ที่ Better Me Clinic เรามีการผลัดเซลล์ผิวด้วยสูตร Acne Peeling สูตรนี้สามารถรักษาปัญหาสิวได้อย่างครอบคลุม ช่วยฆ่าเชื้อสิว และทำให้สิวหายไวขึ้น
- การทำทรีตเมนต์ เป็นการใช้เทคนิคต่างๆ เติมสารอาหารให้กับผิวหน้าเพื่อแก้ปัญหาตามสภาพผิว ซึ่งหากใครกำลังเจอกับปัญหาสิว Better Me Clinic ขอแนะนำ Acne Treatment ทรีตเมนต์ที่มีส่วนผสมของ Tree Tea Oil ช่วยลดการอักเสบและการเห่อของสิว รวมทั้งในสูตรนี้ยังมีขั้นตอนฉายแสง LED เพื่อกระตุ้นให้ผิวแข็งแรงและฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวอีกด้วย
- เลเซอร์หน้าใส เป็นการใช้แสงเลเซอร์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของสิว อีกทั้งยังช่วยกำจัดไขมันและสิ่งสกปรกภายในรูขุมขน โดยการเลือกใช้ชนิดของเลเซอร์จะแตกต่างกันไปตามสภาพผิวของแต่ละคน หากไม่มั่นใจว่าตนเองควรใช้เลเซอร์ชนิดไหน สามารถปรึกษาแพทย์ที่ Better Me Clinic ได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
- การจี้ด้วยไฟฟ้า (Electrosurgery) ใช้ในผู้ที่มีปัญหาผิวอุดตันจำนวนมาก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือจี้ลงบริเวณที่เป็นสิวเพื่อเปิดรูขุมขน แล้วกดนำสิ่งอุดตันออก
- การฉีดมาเด้คอลลาเจน คือ โปรแกรมเมโสชนิดหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสิวทุกชนิด เพราะเป็นการฉีดตัวยาที่มีส่วนผสมของวิตามิน แร่ธาตุ และคอลลาเจนเข้าไปที่ชั้นผิว โดยสารสกัดเหล่านี้จะเข้าไปขับสารพิษและของเสียออกมา รวมถึงช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้ผิวแข็งแรงขึ้น ลดการโอกาสในการเกิดสิวลงด้วย
สิวอุดตันกี่วันหาย?
การรักษาสิวอุดตันอาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์หรือร่วมเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาสิว และปัจจัยอื่นๆ เช่น การดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิว เป็นต้น
ปัญหาสิวอุดตันอาจเป็นปัญหาที่กวนใจใครหลายคน แต่หากเข้าใจถึงสาเหตุ ลักษณะของสิวอุดตัน รวมทั้งลองนำวิธีการรักษาสิวตามที่ Better Me Clinic แนะนำไปใช้ ก็เตรียมตัวโบกมือลาสิวอุดตันได้เลย
แต่หากคุณเป็นคนนึงที่ยังกังวลกับปัญหาสิวอุดตันอยู่ ให้ Better Me Clinic by Dr. Chanya เป็นหนึ่งในผู้ช่วยของคุณ เพราะเรามีบริการรักษาสิวให้เลือกอย่างหลากหลาย ทุกบริการเราให้บริการโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น
หากยังไม่มั่นใจว่าควรเลือกรักษาสิวด้วยวิธีใด สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อให้คุณหมอประเมินสภาพผิวและแนะนำหัตการที่เหมาะสมแบบเคสบายเคสได้
หากสนใจ สามารถติดต่อนัดหมายได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-059-8118, 088-603-2641 หรือไลน์ @bettermeclinic ปรึกษาคุณหมอฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับรองว่าคุณจะมีผิวสวยๆ กลับบ้านไปอย่างแน่นอน!
- Aquaplus, สิวอุดตัน คืออะไร? ดูแลรักษาอย่างไร? (https://aquaplus.co.th/สิวอุดตัน-ที่ต้องรู้/), 6 ธันวาคม 2563.
- Bioderma, สิวอุดตัน (Comedones) เกิดจากสาเหตุใด พร้อมวิธีรักษาอย่างถูกต้อง
- (https://www.bioderma.co.th/your-skin/combination-oily-acne-prone-skin/comedones), 6 ธันวาคม 2563.
- Dermnetnz, Comedonal acne (https://dermnetnz.org/topics/comedonal-acne), 6 Dec 2023.
- Larocheposay, สิวผด VS สิวอุดตัน ต่างกันยังไง ดูยังไงว่าเป็นสิวชนิดไหน (https://www.larocheposay-th.com/articles/different-between-acne-estivalis-and-comedo), 6 ธันวาคม 2563.
- Mesoestetic, สิวอุดตัน ต้นตอเล็ก ๆ ของปัญหาผิวหน้า (https://mesoestetic-th.com/what-is-comedones/), 6 ธันวาคม 2563.
- Skinx, สิวอุดตัน (Comedones) สิวหัวขาว ต้นเหตุของสิวอักเสบ รอยแดง และรอยหลุมสิว!
- (https://skinx.app/content/acne/comedones-acne), 6 ธันวาคม 2563.
- Pobpad, สิวอุดตัน (https://www.pobpad.com/สิวอุดตัน), 6 ธันวาคม 2563.