ไขข้อสงสัย สิวเรื้อรัง เกิดจากอะไร? รักษาอย่างไรให้เห็นผล?
สิวเรื้อรัง ปัญหาผิวที่คอยกวนใจใครหลายคน ไม่ว่าจะลองรักษามาแล้วกี่วิธี แต่สิวก็ยังกลับมาสร้างความกังวลใจอยู่เสมอ การเผชิญหน้ากับปัญหาสิวเรื้อรังที่ดูเหมือนไม่มีวันสิ้นสุด นอกจากจะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตอีกด้วย
สำหรับใครที่พยายามรักษาสิวเรื้อรังมานานแต่ยังไม่หายสักทีอย่าเพิ่งหมดหวัง! เพราะในบทความนี้ Better Me Clinic จะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดสิวเรื้อรัง รวมถึงแนะนำวิธีรักษาสิวเรื้อรังที่ตรงจุด เพื่อให้ทุกคนสามารถกำจัดปัญหาสิวเรื้อรังและกลับมามีผิวหน้าที่กระจ่างใสไร้สิวอย่างที่ต้องการ
สิวเรื้อรังคืออะไร?
สิวเรื้อรัง คือ การเกิดสิวขึ้นซ้ำ ๆ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยสิวเหล่านี้มักจะไม่หายขาดหรือหายแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่อย่างรวดเร็ว ซึ่งสิวเรื้อรังมักเป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, การอุดตันของรูขุมขน, การสะสมของความมันและสิ่งสกปรกบนผิว รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย
โดยสิวเรื้อรังสามารถเป็นได้ทั้งในลักษณะของสิวอักเสบ, สิวหัวดำ และสิวหัวหนอง ซึ่งมักทิ้งรอยแผลเป็นหรือจุดด่างดำเอาไว้หลังจากสิวหาย ทำให้หลายคนรู้สึกเครียดและขาดความมั่นใจไป
สิวเรื้อรังเกิดจากอะไร?
หลายคนอาจคิดว่าสิวเรื้อรังเกิดจากการรักษาสิวที่ผิดวิธีเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้ว สิวเรื้อรังมีสาเหตุที่หลากหลายและซับซ้อนมากกว่านั้น โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวเรื้อรัง มีดังนี้
- ความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน ปัญหานี้มักพบได้ในผู้หญิงที่มีรอบเดือนผิดปกติและผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมาก โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการผลิตน้ำมันส่วนเกิน ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดการอุดตันในรูขุมขน กระตุ้นการอักเสบ และทำให้เกิดสิวเรื้อรัง
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นสิวเรื้อรัง เช่น พ่อ, แม่ หรือพี่น้อง ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะมีแนวโน้มเป็นสิวเรื้อรังได้เช่นกัน เนื่องจากพันธุกรรมสามารถส่งผลต่อการทำงานของต่อมไขมัน รูขุมขน และการตอบสนองของผิวต่อฮอร์โมน
- ยาและอาหารเสริมบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด, ยาสเตียรอยด์ (Corticosteroids), เวย์โปรตีน, วิตามินบี (B12) หรือยาไอโอดีน (Iodine) สามารถกระตุ้นให้เกิดสิวเรื้อรังได้ เนื่องจากมีผลข้างเคียงต่อการทำงานของฮอร์โมน ระบบภูมิคุ้มกัน หรือกระบวนการผลิตน้ำมันของผิวหนัง
- พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และน้ำตาล อาจทำให้กระบวนการผลิตน้ำมันบนใบหน้าทำงานผิดปกติ ซึ่งง่ายต่อการดูดซับแบคทีเรียและเกิดสิวอุดตัน นอกจากนี้ การรับประทานอาหารแปรรูปอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้ เนื่องจากมีการใส่สารกันบูด วัตถุปรุงแต่ง และโซเดียมสูง
- ความเครียด เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวเรื้อรังได้ เนื่องจากร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) เพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้มีผลทำให้ต่อมไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันมาก เมื่อมีน้ำมันมากเกินไปก็จะทำให้รูขุมขนอุดตันและส่งผลให้เกิดสิวเรื้อรังขึ้นในที่สุด
- การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพผิว การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหรือสารที่อุดตันรูขุมขน (Comedogenic) เช่น ครีมบำรุงผิว, เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่มีน้ำมัน จะทำให้ผิวอุดตันและเกิดสิวเรื้อรังได้ รวมถึงผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการรักษาสิวแต่มีความเข้มข้นเกินไป ก็อาจทำให้เกิดความระคายเคือง จนสิวมีอาการรุนแรงมากขึ้น
สิวเรื้อรังมักเกิดขึ้นบริเวณใด?
สิวเรื้อรัง เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วบริเวณผิวหนังตามร่างกาย เพราะส่วนมากมักมีผลกระทบมาจากการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมน ทำให้ไม่ว่าจะเป็นบริเวณไหนก็สามารถเกิดสิวเห่อลุกลามขึ้นซ้ำซากได้ แต่บริเวณที่พบสิวเรื้อรังได้บ่อย มีดังนี้
- สิวเรื้อรังที่หน้าผาก มักเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนที่ผิดปกติ ทำให้ร่างกายผลิตน้ำมันออกมามาก รวมถึงเป็นบริเวณ T-zone ที่มีน้ำมันออกมามากอยู่แล้ว จึงทำให้เกิดการอุดตันและนำไปสู่การเกิดสิวได้ง่าย
- สิวเรื้อรังที่แก้ม เป็นบริเวณที่เราสัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว เช่น ความมันสะสมบนเส้นผม, ฝุ่นละอองต่างๆ ที่สะสมบนปลอกหมอน และการติดนิสัยนั่งเท้าคาง จึงทำให้บริเวณนี้เกิดสิวเรื้อรังได้ง่ายเช่นกัน
- สิวเรื้อรังที่คาง สิวบริเวณนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนมากมักมีผลมาจากการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมน เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด, ความเครียด, การพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงการล้างหน้าไม่สะอาดจนทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียและเกิดสิวเรื้อรังขึ้นในบริเวณนี้
- สิวเรื้อรังที่คอ ต้นคอเป็นบริเวณที่มีสิวเรื้อรังเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณด้านหลังคอ เนื่องจากมีต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันเยอะ หากมีเหงื่อและสิ่งสกปรกสะสมในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดสิวอักเสบและสิวเรื้อรังได้
- สิวเรื้อรังที่หน้าอก เป็นอีกหนึ่งบริเวณที่มีต่อมไขมันและมีแนวโน้มที่จะเกิดสิวเรื้อรังสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีเหงื่อออกมาก ยิ่งถ้าหากสวมเสื้อผ้าที่ไม่ระบายอากาศและใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ทำให้ผิวอุดตัน ก็จะทำให้อาการของสิวนั้นรุนแรงขึ้น
- สิวเรื้อรังที่หลัง เป็นสิวเรื้อรังที่พบได้บ่อยพอ ๆ กับสิวเรื้อรังบนใบหน้า โดยเฉพาะผู้ที่มีกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก เช่น การออกกำลังกาย หรือทำงานกลางแจ้ง เมื่อเหงื่อออกมากแล้วไม่รีบทำความสะอาด ก็จะทำให้เหงื่อและสิ่งสกปรกเกิดการอุดตันในรูขุมขนจนเกิดเป็นสิวเรื้อรังได้
สิวเรื้อรังอันตรายไหม?
โดยปกติแล้ว สิวเรื้อรังมักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจได้ รวมถึงหากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่รีบทำการรักษา ก็อาจทำให้ผิวเสียหาย เกิดรอยดำ รอยแดง และเกิดหลุมสิวได้เช่นกัน
นอกจากนี้ หากผู้ที่มีปัญหาสิวเรื้อรังและทำการรักษาสิวด้วยวิธีผิด ๆ ก็อาจทำให้เกิดอันตรายและนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงได้ เพราะฉะนั้นหากมีปัญหาสิวเรื้อรังก็ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้องทันที เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผิวและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
วิธีรักษาสิวเรื้อรัง
การรักษาสิวเรื้อรังมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ประเภทของสิว และปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของการเกิดสิว โดยการรักษาสิวเรื้อรังมักใช้วิธีผสมผสานหลายแนวทาง ทั้งการใช้ยา การดูแลผิวอย่างเหมาะสม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและลดโอกาสการเกิดสิวซ้ำ โดยวิธีรักษาสิวเรื้อรังที่ Better Me Clinic แนะนำมีดังนี้
1. การใช้ยาทาเฉพาะที่
ยาทาเฉพาะที่สามารถใช้ในการรักษาสิวเรื้อรังได้มีหลายชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีฤทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนมากจะเน้นไปที่การลดการอุดตันของรูขุมขน ลดการอักเสบ และฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว โดยยาใช้ภายนอกที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาสิวเรื้อรัง ได้แก่
- ยากลุ่มเบนโซลอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) มีคุณสมบัติในการลดจำนวนแบคทีเรีย Cutibacterium Acnes ที่ทำให้เกิดสิว รวมถึงช่วยผลัดเซลล์ผิวและลดปริมาณไขมันบนผิวหนังได้
- ยากลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) เช่น Tretinoin หรือ Adapalene ยาเหล่านี้เป็นยาที่เป็นอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ มีคุณสมบัติสำคัญในการลดการอุดตันของรูขุมขน ช่วยลดการบวมและอักเสบในผู้ที่เป็นสิวอักเสบได้
- ยาที่มีส่วนผสมของกรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) มีคุณสมบัติในการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน การใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นสิวอักเสบ จะช่วยให้การอักเสบดีขึ้น รวมถึงช่วยลดรอยสิวหลังจากสิวหายได้อีกด้วย
- ยาทาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ (Topical Antibiotics) เช่น Clindamycin หรือ Erythromycinมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ และลดรอยแดง อย่างไรก็ตามยาปฏิชีวนะไม่ควรใช้เป็นยาตัวเดียวในการรักษาสิว เพราะแบคทีเรียจะดื้อยาได้เร็ว ควรใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ ที่กล่าวไปก่อนหน้านี้
2. การใช้ยารับประทาน
การใช้ยารับประทานรักษาสิวเรื้อรัง เป็นวิธีที่มักถูกเลือกมาใช้เป็นตัวเลือกที่สองหลังจากรักษาสิวด้วยยาทาเฉพาะที่แล้วไม่หาย เนื่องจากการรับประทานยารักษาสิวเรื้อรังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้
ยาชนิดรับประทานจะให้ผลลัพธ์ดีมากในผู้ที่มีปัญหาสิวจากปัญหาภายในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ หรือการติดเชื้อภายใน โดยยาชนิดรับประทานที่มักนำมาใช้ในการรักษาสิวเรื้อรัง มีดังนี้
- ยากลุ่มไอโสเตรตินอย (Isotretinoin) เป็นอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ มีคุณสมบัติในการลดการสะสมของแบคทีเรียและการอักเสบ ลดการผลิตน้ำมันและการอุดตันในรูขุมขน เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง จึงจำเป็นต้องมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์
- ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน เช่น ด็อกซีไซคลีน (Doxycycline) หรือเซฟาเลกซิน (Cephalexin) มีคุณสมบัติสำคัญในการลดจำนวนแบคทีเรียและลดการอักเสบบนผิวหนัง แต่ควรรับประทานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการดื้อยาและลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงต่อการทำงานของไต
- ยาคุมกำเนิด เป็นอีกหนึ่งตัวยาที่ใช้รักษาสิวเรื้อรังในผู้หญิง โดยการใช้ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของเอสโตรเจนและโปรเจสติน จะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนแอนโดรเจน ช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำมันส่วนเกินออกมาน้อยลง ลดการสะสมของแบคทีเรียบริเวณใบหน้า และควบคุมสิวที่เกิดจากฮอร์โมนได้
3. การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด
การรักษาสิวเรื้อรังด้วยฮอร์โมนบำบัด เป็นวิธีที่นิยมใช้ในผู้ที่มีสิวเรื้อรังจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่นหรือผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) จุดประสงค์ของการรักษาสิวด้วยฮอร์โมนบำบัดคือการปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศ เพื่อลดการผลิตน้ำมันส่วนเกินและช่วยให้สิวลดลงตามไปด้วย
สำหรับวิธีการรักษาสิวเรื้อรังด้วยฮอร์โมนบำบัดนั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น รับประทานยาคุมกำเนิด, รับประทานยาที่มีส่วนผสมของสปิโรโนแลคโตน (Spironolactone) และการฉีดฮอร์โมน โดยก่อนทำการรักษาสิวเรื้อรังด้วยฮอร์โมนบำบัด ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมก่อน
4. การทำหัตถการทางการแพทย์
การทำหัตถการทางการแพทย์เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยรักษาสิวเรื้อรังได้ โดยเฉพาะผู้ที่ร่างกายอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา โดยหัตถการทางการแพทย์ที่นิยมนำมาใช้รักษาสิวเรื้อรัง มีดังนี้
- การฉีดสิว (Acne Injection) เป็นการใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ฉีดลงบนตุ่มสิว นิยมใช้ในการรักษาสิวที่อักเสบรุนแรงและมีขนาดใหญ่ เช่น สิวซีสต์ รวมถึงสิวที่มีแนวโน้มว่าสิวจะมีการอักเสบมากขึ้นเรื่อย ๆ
- เลเซอร์สิว (Acne Clear Laser) เป็นการบำบัดและรักษาสิวเรื้อรังด้วยการใช้แสงเลเซอร์ โดยเลเซอร์จะช่วยกำจัดไขมันที่อุดตันอยู่ในรูขุมขน ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และยับยั้งการทำงานของต่อมไขมัน ทำให้สิวมีจำนวนลดลง รวมถึงช่วยทำให้รูขุมขนกระชับ และมีผิวหน้าที่เรียบเนียนขึ้น
- การผลัดเซลล์ผิว (Peeling) หรือกระบวนการเร่งให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วด้วยการใช้สารเคมี วิธีนี้จะช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกในรูขุมขน รวมถึงช่วยกระตุ้นให้ผิวเกิดการซ่อมแซมตนเอง โดยที่ Better Me Clinic เรามีบริการผลัดเซลล์ผิวด้วยสูตร Acne Peeling สูตรนี้สามารถรักษาปัญหาสิวได้อย่างครอบคลุม ช่วยฆ่าเชื้อสิว และทำให้สิวหายไวขึ้น
- การกรอผิว (Microdermabrasion) เป็นวิธีขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วด้วยการใช้เครื่องมือพิเศษอย่างเกล็ดอัญมณีในการกรอผิวด้านบน วิธีนี้จะช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน ไปพร้อม ๆ กับการกระตุ้นคอลลาเจนเพื่อเติมเต็มรอยหลุมสิวและแก้ไขปัญหารูขุมขนกว้าง
- การฉายแสง LED ลดสิวอักเสบ นิยมใช้แสงอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ แสงสีฟ้า ที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และแสงสีแดง ที่มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบของต่อมไขมันและกระตุ้นให้ผิวแข็งแรงขึ้น โดยหัตถการนี้มักจะใช้ควบคู่กับการรักษาอื่น ๆ เช่น การทายา, รับประทานยา หรือใช้เลเซอร์
- ไม่ว่าจะเลือกรักษาสิวเรื้อรังด้วยวิธีใด สุดท้ายแล้วการรักษาสิวเรื้อรังก็จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลา ความอดทน และความต่อเนื่องในการรักษา หากขาดความต่อเนื่องและไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็อาจทำให้อาการของสิวเรื้อรังแย่ลงได้
วิธีป้องกันการเกิดสิวเรื้อรัง
การป้องกันการเกิดสิวเรื้อรังเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันกับกระบวนการรักษา โดยการดูแลผิวอย่างถูกวิธีตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดโอกาสการเกิดสิวเรื้อรังและปัญหาผิวอื่น ๆ ได้ สำหรับวิธีป้องกันการเกิดสิวเรื้อรังที่ Better Me Clinic แนะนำ มีดังนี้
- ทำความสะอาดผิวหน้าอย่างถูกวิธี ควรล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยนและไม่ทำให้ผิวแห้งหรือระคายเคือง รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการล้างหน้าบ่อย ๆ เพราะอาจทำให้ผิวแห้งและกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น
- เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่มีผิวมัน ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสูตรควบคุมความมัน มีเนื้อสัมผัสที่บางเบา และควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันและซิลิโคน ส่วนผู้ที่มีผิวแห้ง ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นที่เพียงพอและไม่อุดตันรูขุมขน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า มือของเรามักสัมผัสกับสิ่งสกปรกและเชื้อโรคเกือบตลอดเวลา การสัมผัสใบหน้าอาจนำสิ่งสกปรกและแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหน้าและทำให้เกิดสิวได้
- หลีกเลี่ยงการบีบหรือกดสิวด้วยตนเอง เนื่องจากการบีบสิวอย่างผิดวิธีอาจทำให้แบคทีเรียแพร่กระจายและทำให้สิวอักเสบมากขึ้น รวมถึงยังทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้อีกด้วย
รักษาสิวเรื้อรังที่ไหนดี?
สิวเรื้อรัง เป็นปัญหาสิวที่มักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยสิวเหล่านี้มักจะไม่หายขาดหรือหายแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่ แต่ทั้งนี้ หากเลือกวิธีการรักษาที่ตรงจุด ก็อาจทำให้อาการของสิวเรื้อรังดีขึ้นและกลับมามีผิวที่เรียบเนียนกระจ่างใสได้อีกครั้ง เพราะฉะนั้นจึงควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินปัญหาและทำการรักษาอย่างตรงจุด
ผู้ที่มีปัญหาสิวเรื้อรังและต้องการปรึกษาแพทย์ ให้ Better Me Clinic เป็นตัวเลือกของคุณ เพราะเรามีบริการรักษาสิวให้เลือกอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในเชิงป้องกันอย่างการผลัดเซลล์ผิว หรือการรักษาเชิงรุกอย่างการฉายแสง LED และการทำเลเซอร์หน้าใส ทุกบริการเราให้คำปรึกษาและดูแลโดยแพทย์ผู้ชำนาญเท่านั้น
หากยังไม่มั่นใจว่าควรเลือกรักษาสิวเรื้อรังด้วยวิธีใด สามารถติดต่อเข้ามาที่ Better Me Clinic by Dr. Chanya เพื่อให้คุณหมอประเมินสภาพผิวและแนะนำหัตถการที่เหมาะสมแบบเคสบายเคสได้เลย ติดต่อนัดหมายได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-059-8118, 088-603-2641 หรือไลน์ @bettermeclinic ปรึกษาคุณหมอฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย รับรองว่าคุณจะมีผิวสวย ๆ กลับบ้านไปอย่างแน่นอน!
- Eucerin,หลุมสิวเกิดจากอะไร รักษาหลุมสิว วิธีไหนดี (https://www.eucerin.co.th/skin-concerns/acne-prone-skin/atrophic-scars), 29 เมษายน 2567.
- HDmall, ลดรอยสิว ยาลดสิว vs เลเซอร์สิว วิธีไหนตอบโจทย์เราที่สุด? (https://hd.co.th/how-to-reduce-acne-how-to-compare-the-best), 29 เมษายน 2567.
- HDmall, วิธีลดรอยสิวที่ได้ผลและปลอดภัย (https://hd.co.th/what-is-the-best-treatment-for-acne-scars), 29 เมษายน 2567.
- Nivea, 10 วิธีรักษารอยสิว ลดรอยดำ รอยแดง จากสิวบนใบหน้า (https://www.nivea.co.th/advice/7-ways-to-treat-acne-scars), 29 เมษายน 2567.
- Nivea, สาเหตุรอยสิว วิธีรักษารอยดำจากสิวอย่างไรให้หายขาด(https://www.nivea.co.th/advice/ways-to-treat-acne-scars-and-dark-spots), 29 เมษายน 2567.