สิวที่คางเกิดจากอะไร? รักษาอย่างไร? พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ
เชื่อว่าในปัจจุบัน หลายคนต้องเผชิญกับปัญหาสิวกวนใจ ซึ่งหนึ่งในปัญหาสิวที่พบได้บ่อยคือ สิวที่คาง โดยเฉพาะผู้ที่มีสภาพผิวแพ้ง่าย สวมแมสก์เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งผู้ที่ทำศัลยกรรมคางมา
โดยการเกิดสิวที่คางส่งผลให้ใบหน้าดูหมองคล้ำ ไม่เรียบเนียน ในบางรายอาจเกิดอาการอักเสบเป็นแผลได้ นอกจากนี้การเป็นสิวที่คางยังสามารถบ่งบอกได้ว่าเรากำลังเป็นโรคอะไรอยู่ด้วย
ดังนั้น เพื่อช่วยให้ทุกคนเข้าใจปัญหาสิวที่คาง วิธีการรักษา และป้องกันการเกิดสิวที่คางได้อย่างถูกต้อง Better Me Clinic จึงรวบรวมทุกรายละเอียดเกี่ยวกับสิวที่คางมาไว้ในบทความนี้ ตั้งแต่สาเหตุการเกิดสิวที่คาง ชนิดของสิวที่คาง สิวที่คางบ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง? รวมถึงวิธีการรักษาและการป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่คางซ้ำ ตามมาอ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลย
สิวที่คางคืออะไร
สิวที่คาง (Acne Vulgaris) เป็นปัญหาทางสภาพผิวหนังชนิดหนึ่ง มักเกี่ยวข้องกับการอุดตันรูขุมขนและต่อมไขมัน ทําให้เกิดตุ่มนูนบนผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณคาง สันกราม และกรอบหน้า ซึ่งเป็นบริเวณที่พบการเกิดสิวที่คางได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นและอาจคงอยู่จนถึงวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากบริเวณนี้มีต่อมไขมันที่ความเข้มข้นสูงนั่นเอง
สิวที่คางเกิดจากอะไร?
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวที่คางนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกัน ส่วนใหญ่มักพบในวัยรุ่นและผู้หญิงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนรวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่กระตุ้นให้เกิดสิวที่คางได้ง่าย โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่มักพบว่าทำให้เกิดสิวที่คาง มีดังนี้
- ฮอร์โมนไม่สมดุล ในช่วงวัยแรกรุ่นมักมีความผันผวนของระดับฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจนจะเป็นตัวกระตุ้นต่อมไขมัน ทำให้เกิดการผลิตน้ำมันส่วนเกินและนำไปสู่ปัญหารูขุมขนอุดตัน นอกจากนี้การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ หรือวัยหมดประจำเดือนก็อาจทำให้เกิดสิวที่คางได้
- การดูแลผิวไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดผิวหน้าได้ไม่สะอาดพอ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกฤทธิ์รุนแรง หรือแม้กระทั่งการไม่ล้างเครื่องสำอางก็อาจนำไปสู่การสะสมของสิ่งสกปรก น้ำมัน และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ส่งผลให้เกิดสิวที่คางตามมา
- การรับประทานอาหาร โดยเฉพาะการรับประทานคาร์โบไฮเดรตขัดสี อาหารที่มีน้ำตาล และผลิตภัณฑ์จากนมในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดสิวที่คางรุนแรงขึ้น นอกจากนั้น อาหารเหล่านี้ยังสามารถเพิ่มระดับอินซูลินและเพิ่มการอักเสบในร่างกายได้ด้วย
- ความเครียด การที่มีระดับความเครียดเพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ส่งผลให้การผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น นำไปสู่การเกิดสิวที่คางและสิวส่วนอื่น ๆ ของใบหน้า
- การผลิตน้ำมันมากเกินไป บริเวณคางมีต่อมน้ำมันหนาแน่นกว่าส่วนอื่น ๆ ของใบหน้า เมื่อต่อมเหล่านี้ผลิตไขมันในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะสามารถทำให้เกิดสิวได้
- แบคทีเรีย โดยเฉพาะแบคทีเรีย Propionibacterium ซึ่งเป็นแบคทีเรียทั่วไปที่พบในผิวหนัง อาจทำให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อภายในรูขุมขนที่อุดตัน ซึ่งนำไปสู่การก่อตัวของสิว
- การสวมแมสก์ การสวมแมสก์อย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการเสียดสีบริเวณคางจนเกิดการระคายเคือง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความอับชื้นบริเวณคาง จนนำไปสู่ปัญหาสิวที่คางตามมา
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นสิว หรือต่อมไขมันไวต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและการตอบสนองการอักเสบของผิวหนัง ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นสิวที่คางได้ง่ายเช่นกัน
สิวที่คางมีกี่ชนิด?
โดยทั่วไปแล้วสิวที่คางมีด้วยกัน 5 ชนิด เมื่อแบ่งตามลักษณะของการเกิดสิว ซึ่งการทำความเข้าใจสิวที่คางประเภทต่าง ๆ จะช่วยให้สามารถเลือกวิธีรักษาได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยสิวที่คางแต่ละชนิดมีลักษณะดังนี้
1. สิวอักเสบที่คาง
สิวอักเสบ มักเกิดจากการที่มีน้ำมัน เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และแบคทีเรีย มาอุดตันรูขุมขน แล้วค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้นจนผนังรูขุมขนแตก ทำให้เกิดรอยแดง บวม และเจ็บบริเวณที่อักเสบ ซึ่งสิวอักเสบที่คางอาจปรากฏเป็นตุ่มหนองเหล็ก ๆ ไปจนถึงตุ่มหนองที่มีขนาดใหญ่
2. สิวอุดตันที่คาง
สิวอุดตัน เกิดขึ้นจากการที่เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว น้ำมัน และสิ่งสกปรกต่าง ๆ เข้าไปอุดตันรูขุมขน จนนำไปสู่การก่อตัวของสิวหัวขาวและสิวหัวดำ สิวหัวขาวคือสิวอุดตันหัวปิดที่ปรากฏเป็นตุ่มเล็กๆ สีเนื้อหรือสีขาวบนคาง
ในทางกลับกัน สิวหัวดำเป็นสิวหัวเปิดที่ในระยะแรกหัวสิวจะเป็นสีเหลือง แต่จะเปลี่ยนเป็นสีดำในภายหลังจากการทำปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยสิวทั้งสองลักษณะไม่รุนแรงเท่าสิวอักเสบ กดไม่เจ็บ แต่สร้างความรำคาญใจให้เจ้าของใบหน้าได้
3. สิวผดที่คาง
สิวผดเป็นสิวประเภทหนึ่งที่ปรากฏเป็นตุ่มสีแดงเล็ก ๆ บนผิวหนัง มักจะไม่มีหัวและหนอง ส่วนใหญ่มักพบในสภาพอากาศร้อน และเกิดขึ้นกับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายรวมถึงมีเหงื่อออกมาก นอกจากนี้การสวมแมสก์ก็มีส่วนทำให้เกิดสิวผดได้เช่นกัน
4. สิวเสี้ยนที่คาง
สิวเสี้ยนเป็นปัญหาสิวที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณคาง มักเกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนอุดตันด้วยไขมัน เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และเคราติน ซึ่งนำไปสู่การก่อตัวของสิวเล็กๆ มีหนามแหลมบนผิวหนัง สิวชนิดนี้มักมีสีเนื้อและอาจมีลักษณะคล้ายสิวหัวดำหรือขนคุด พบได้บ่อยในผู้ที่มีรูขุมขนกว้าง
5. สิวไม่มีหัวที่คาง
สิวไม่มีหัวที่คางมักมีสาเหตุมาจากการอักเสบในรูขุมขนและต่อมไขมันใต้ผิวหนัง เกิดจากการอุดตันในท่อรูขุมขนลึกลงไปสู่ชั้นผิว ซึ่งสิวชนิดนี้จะเป็นก้อนแข็งสีแดงนูน เม็ดใหญ่ และอาจรู้สึกเจ็บปวดเมื่อสัมผัส
สิวที่คางบ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง?
ปัญหาสิวที่คางเป็นปัญหาผิวที่พบได้บ่อย แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งสิวที่คางก็อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพหรือโรคที่ซ่อนอยู่ในร่างกายของเราได้ โดยหลัก ๆ แล้วการเกิดสิวที่คางมักบ่งบอกโรคต่อไปนี้
- ฮอร์โมนไม่สมดุล ความไม่สมดุลของฮอร์โมนมักเกี่ยวข้องกับการเกิดสิว โดยเฉพาะในผู้หญิง สิวที่คางอาจเป็นผลมาจากความผันผวนของระดับฮอร์โมน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการผลิตแอนโดรเจน (ฮอร์โมนเพศชาย) มากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การผลิตไขมันที่เพิ่มขึ้น รูขุมขนอุดตัน และการเกิดสิวที่คางตามมา
- โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อผู้หญิง โดยมักมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ มีการเจริญเติบโตของเส้นผมมากเกินไป และฮอร์โมนไม่สมดุล สิวที่คางมักพบในผู้หญิงที่เป็น PCOS เนื่องจากมีแอนโดรเจนในร่างกายสูงนั่นเอง
- ปัญหาทางเดินอาหาร เชื่อกันว่าบริเวณคางเชื่อมโยงกับระบบย่อยอาหารในการแพทย์แผนจีน สิวที่คางอาจบ่งบอกถึงปัญหาทางเดินอาหาร เช่น การแพ้อาหารหรือปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของลำไส้ ปัจจัยเหล่านี้สามารถนำไปสู่การอักเสบและการหยุดชะงักของฮอร์โมน ส่งผลให้เกิดสิวตามมา
- ความเครียด ความเครียดและความวิตกกังวลอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมน ซึ่งนำไปสู่การเกิดสิว บริเวณคางมีความเสี่ยงที่จะเกิดสิวที่เกิดจากความเครียดเป็นพิเศษ เนื่องจากอยู่ใกล้กับต่อมที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เมื่อระดับความเครียดสูง ร่างกายจะผลิต Cortisol (คอร์ติซอล) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดมากขึ้น สามารถกระตุ้นต่อมน้ำมันและทำให้เกิดสิวได้
วิธีรักษาสิวที่คาง
ในปัจจุบันมีวิธีรักษาสิวที่คางด้วยกันหลายวิธี ทั้งการรักษาด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องใช้ความอดทน ความสม่ำเสมอ และระยะเวลาพอสมควร ไปจนถึงการรักษาทางการแพทย์ที่หลากหลาย ซึ่งวันนี้ Better Me Clinic ได้รวมวิธีรักษาสิวที่คางมาไว้ให้แล้ว จะมีวิธีไหนบ้างนั้น ตามมาดูกันได้เลย
รักษาด้วยตนเอง
- ดูแลผิวหน้าให้สะอาด ทำความสะอาดใบหน้าวันละสองครั้งด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนและไม่ก่อให้เกิดสิว หลีกเลี่ยงการขัดผิวแรง ๆ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า การสัมผัสใบหน้าหรือบริเวณที่เกิดสิวอาจทำให้แบคทีเรียเพิ่มปริมาณมากขึ้น จนส่งผลให้เกิดการอักเสบของสิวตามมา
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผักผลไม้ ธัญพืช โปรตีนและไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและอาหารแปรรูป
- จัดการความเครียด ทำกิจกรรมลดความเครียด เช่น การออกกำลังกาย การทำสมาธิ หรืองานอดิเรก เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนและลดอาการสิวที่เกิดจากความเครียด
- ทำความสะอาดปลอกหมอนเป็นประจำ เนื่องจากปลอกหมอนสามารถสะสมน้ำมัน สิ่งสกปรก และแบคทีเรียได้
- ใช้เจลแต้มสิว โดยเฉพาะเจลที่มีส่วนผสมของเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์หรือกรดซาลิไซลิก เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการรักษาสิว ก่อนทาเจล ให้ทำความสะอาดใบหน้าด้วยคลีนเซอร์สูตรอ่อนโยนและซับให้แห้ง จากนั้นใช้เจลปริมาณเล็กน้อยทาบริเวณที่เป็นสิวโดยตรง
รักษาด้วยวิธีทางการแพทย์
- ใช้ยาทารักษาสิวเฉพาะที่ โดยเฉพาะยาที่มีส่วนผสม เช่น Benzoyl Peroxide (เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์) Salicylic acid (กรดซาลิไซลิก) หรือ Retinoid (เรตินอยด์) เนื่องจากสามารถช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน ลดการอักเสบ และฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว ซึ่งยาเหล่านี้อาจทำให้ผิวแห้ง ลอก และผิวแดงในระยะแรก จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
- รับประทานยารักษาสิว ในกรณีที่เกิดสิวอักเสบอย่างรุนแรง สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ รักษาด้วยฮอร์โมน หรือยา Isotretinoin (ไอโซเตรติโนอิน) เพื่อจัดการกับสิวที่คางอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์
- การรักษาด้วยเลเซอร์ การรักษาด้วยเลเซอร์ได้รับความนิยมเนื่องจากมีความสามารถในการรักษาสภาพผิวต่าง ๆ รวมถึงสิวที่คาง โดยจะเข้าไปช่วยลดการผลิตน้ำมันและส่งเสริมการผลิตคอลลาเจน
- ฉีดสิวที่คาง การฉีดสิวที่คางเป็นการใช้สาร corticosteroids (คอร์ติโคสเตียรอยด์) ฉีดเข้าไปในสิวที่คางโดยตรง จะช่วยลดการอักเสบ บวม และรอยแดงที่เกิดจากสิว ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฉีดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากหากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดหลุมสิวได้
- การทำ Peeling เป็นการผลัดเซลล์ผิวหน้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะช่วยรักษาผิวหน้าได้ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาริ้วรอย ปัญหาสิว หรือปัญหารูขุมขนกว้าง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสิว ฝ้า กระ และริ้วรอย
- การฉีดเมโสหน้าใส (มาเด้ คอลลาเจน) เป็นการฉีดสารสกัดจากธรรมชาติที่มีส่วนประกอบของวิตามิน แร่ธาตุ เอนไซม์ พลาเซนต้า และคอลลาเจน เพื่อบำรุงและฟื้นฟูผิวหน้า ซึ่งเป็นวิธีการรักษาแบบธรรมชาติที่มีความปลอดภัยสูง รวมถึงตัวยาหรือสารที่นำมาใช้ในการรักษายังมีส่วนผสมที่ผลิตจากสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สารสกัดจากพืช สัตว์ และแร่ธาตุต่าง ๆ ช่วยให้ผิวหน้ามีความขาวกระจ่างใส โดย มาเด้ คอลลาเจน จะเน้นรักษาสิวและเสริมความแข็งแรงให้กับผิวหน้า
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่คางซ้ำ
- รักษาความสะอาดของผิว ด้วยการล้างหน้าวันละสองครั้ง โดยใช้ผลิตภัณฑ์สูตรอ่อนโยนสำหรับผิวที่เป็นสิวง่ายโดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์รุนแรง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการระคายเคือง
- ขัดผิวเป็นประจำ การขัดผิวช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ช่วยลดการอุดตัดของรูขุมขน และป้องกันการเกิดสิว ควรใช้สครับขัดผิวอย่างอ่อนโยนไม่ออกแรงมากจนเกินไป
- ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดสิว ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอางที่ไม่ก่อให้เกิดสิว เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อไม่ให้อุดตันรูขุมขน มักมีคำที่ระบุว่า “ไม่ก่อให้เกิดสิว” หรือ “ปราศจากน้ำมัน”
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือบีบสิว เนื่องจากจะทำให้แบคทีเรียแพร่กระจายจนเกิดสิวเห่อตามมา
- ดูแลสุขภาพ ทำได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอสามารถช่วยให้ผิวมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้
- การหลีกเลี่ยงความเครียด อันเป็นสาเหตุให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดสิวได้
- ดูแลความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน ที่นอน เนื่องจากเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสกับใบหน้าโดยตรง หากไม่สะอาดอาจส่งผลให้เกิดสิวที่คางได้
รักษาสิวที่คางที่ไหนดี?
การรักษาสิวที่คางด้วยวิธีทางการแพทย์ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเองและต้องการให้สิวที่คางหายไวขึ้น รวมถึงต้องการรักษาสิวที่คางให้ตรงจุดเหมาะสมกับชนิดของสิว
ดังนั้น การเลือกสถานที่ในการรักษาสิวที่คางจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ และเทคนิคต่าง ๆ มีผลต่อใบหน้าของผู้เข้ารับบริการโดยตรง หากได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดหลุมสิวได้ จึงควรเลือกใช้บริการรักษาสิวที่คางกับคลินิกเสริมความงามที่ได้มาตรฐาน คุณหมอมีประสบการณ์ ใช้ผลิตภัณฑ์และเครื่องมือคุณภาพสูง รวมถึงมีการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ
Better Me Clinic by Dr. Chanya เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสิวที่คางอย่างปลอดภัยและไม่ทิ้งหลุมสิวไว้ เพราะคุณหมอของเรามีประสบการณ์มากกว่าหมื่นเคส พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด ใส่ใจรายละเอียดแบบเคสต่อเคส มีการประเมินสภาพผิวอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจทำ
อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน พร้อมเครื่องมือครบครัน และนวัตกรรมที่ทันสมัย หากสนใจ สามารถติดต่อนัดหมายได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-059-8118, 088-603-2641 หรือไลน์ @bettermeclinic ปรึกษาคุณหมอได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับรองว่าจะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่และแก้ปัญหาได้ตรงจุดอย่างแน่นอน
- Panfish Health, How to Treat Chin Acne: A Comprehensive Guide (https://www.aad.org/public/diseases/a-z/melasma-treatment), 1 January 2024
- SELE, What’s Causing My Chin Acne, and How Do I Get Rid of It?(https://www.bioderma.co.th/your-skin/combination-oily-acne-prone-skin/chin-acne), 1 January 2024
- Bioderma, สิวที่คาง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีป้องกันและรักษา (https://www.nivea.co.th/advice/luminous630-introduction-to-melasma-and-protection-guides), 1 มกราคม 2567
- Eucerin, สิวที่คาง เกิดจากอะไร ? พร้อมวิธีรักษาสิวขึ้นคาง อย่างได้ผล(https://www.eucerin.co.th/skin-concerns/acne-prone-skin/pimple-on-chin), 1 มกราคม 2567