fbpx

🔥FREE! Schedule a 3D Facial Design consultation with Dr.Chanya only this month 🇺🇸 🇰🇷 🔥

อาการแบบนี้ใช่ “แพ้ครีม” หรือเปล่า? เช็กอาการได้ที่นี่!

อาการแบบนี้ใช่ “แพ้ครีม” หรือเปล่า? เช็กอาการได้ที่นี่!
อาการแบบนี้ใช่ “แพ้ครีม” หรือเปล่า? เช็กอาการได้ที่นี่!

อาการแพ้ครีมเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หลายคนมักจะคิดว่าเราสามารถสังเกตเห็นอาการแพ้ครีมได้ในช่วงที่มีการเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าผลิตภัณฑ์เดิมๆ ที่เราคุ้นเคยก็อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน!

อาการแพ้ครีมจะน่ากลัวขนาดไหน? มีสาเหตุมาจากอะไร? นานไหมถึงจะหาย? รวมถึงถ้าเป็นแล้วจะฟื้นฟูผิวยังไงให้กลับมากระจ่างใสเหมือนเดิม มาร่วมหาคำตอบกับ Better Me Clinic พร้อมๆ กันที่บทความนี้เลย!

อาการแพ้ครีมมีลักษณะอย่างไร?

อาการแพ้ครีม เป็นคำที่หลายคนนำมาใช้เรียกอาการระคายเคือง มีผื่นแดง หรือมีสิวเห่อ ที่เกิดขึ้นหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เคยใช้มาก่อน มีสาเหตุมาจากการแพ้สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ หรือสารเคมีในผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นมากเกินไป สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณผิวหน้าและผิวกาย 

อาการแพ้ครีมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม โดยมีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกันดังนี้

1. การแพ้ครีมจากสารก่อให้เกิดการระคายเคือง

การแพ้ครีมจากสารก่อให้เกิดการระคายเคือง (Irritant Contact Dermatitis) เป็นอาการแพ้ที่พบได้มากที่สุด โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อสารออกฤทธิ์ (Active Chemical) ทำลายชั้นผิวด้านนอก ทำให้เกิดผื่นแดงบริเวณผิวหนัง รู้สึกระคายเคือง คัน แสบร้อน ผิวแห้งแตกหรือลอกเป็นขุย

การแพ้ครีมจากสารก่อให้เกิดการระคายเคืองมักจะเกิดขึ้นทันทีหลังใช้ ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงตั้งแต่ครั้งแรก แต่บางรายอาจเริ่มเกิดการระคายเคืองขึ้นได้เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์นั้นซ้ำหลายครั้ง

2. การแพ้ครีมจากสารก่อภูมิแพ้

การแพ้ครีมจากสารก่อภูมิแพ้ (Allergic Contact Dermatitis) เป็นอาการที่เกิดจากการแพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ทำให้ระบบภูมิคุ้นกันตอบสนองโดยการปล่อยสารฮิสตามีน (Histamine) ออกมา คล้ายกับการแพ้อาหารหรือแพ้อากาศ

ส่วนมากจะเกิดจากผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของน้ำหอมหรือสารกันเสีย ทำให้เกิดอาการคันบริเวณที่ใช้ตั้งแต่ครั้งแรก หรือมีอาการเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และถ้าหากเกิดอาการแพ้ขึ้นครั้งหนึ่งแล้ว ในครั้งต่อไปเพียงแค่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้เพียงเล็กน้อยก็จะสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้นได้

ในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงอาจทำให้มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างเช่น ใบหน้าบวม หายใจมีเสียงหวีด ส่วนในผู้ที่มีอาการรุนแรงฉับพลัน (Anaphylaxis) อาจเกิดลมพิษ แน่นหน้าอก หรือหายใจไม่ออกร่วมด้วย ถึงแม้จะพบได้น้อย แต่หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

แพ้ครีมเกิดจากสาเหตุอะไร?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่ากลไกของอาการแพ้ครีมนั้นคล้ายกับอาการแพ้อื่นๆ คือ ภูมิคุ้มกันในร่างกายมีการตอบสนองไวต่อสารเคมีบางชนิดที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ จนทำให้เกิดอาการแพ้ตามมา 

ตัวอย่างเช่น สารลาโนลิน (Lanolin) ที่สกัดมาจากน้ำมันที่หล่อเลี้ยงขนแกะ ทำให้สารนี้มีความปลอดภัยสูงและถูกนำมาใช้ในครีมบำรุงผิว เนื่องจากมีคุณสมบัติในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว จึงช่วยทำให้ผิวนุ่มลื่น แต่ในผู้ที่แพ้อาจเกิดผื่นลมพิษ หายไม่ออก หรือแน่นหน้าอกได้

แต่ส่วนมากแล้ว อาการแพ้ที่หลายคนเผชิญมักจะมาจากการระคายเคืองเมื่อสารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำลายผิวชั้นนอก โดยสารที่นับว่าเป็นต้นเหตุของอาการแพ้ครีมมากที่สุดมี 3 กลุ่ม ดังนี้

  • สารแต่งกลิ่นหรือน้ำหอม (Fragrances) ปัจจุบันมีสารแต่งกลิ่นมากกว่า 5,000 ชนิดที่ถูกนำมาใช้ในเครื่องสำอาง พบมากสุดในครีมกันแดด ครีมบำรุงผิวหน้าและผิวกาย รวมถึงยาสระผมและเครื่องสำอาง นอกจากนี้น้ำหอมไม่เพียงแต่จะทำให้ผิวระคายเคืองเท่านั้น แต่กลิ่นจากน้ำหอมยังส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้เกิดอาการระคายเคืองในโพรงจมูกด้วย
  • วัตถุกันเสีย นับเป็นหนึ่งในสารกลุ่มพาราเบนที่ถูกนำมาใส่ในเครื่องสำอางเพื่อป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อรา ถึงแม้จะยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ออกไปได้ แต่ก็มักจะทำให้เกิดผื่นแพ้ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้มีอัตราการใช้วัตถุกันเสียไม่เกิน 0.4% เมื่อใช้ชนิดเดียว และ 0.8% เมื่อใช้หลายชนิด 
  • สารพาราฟีนิลีนไดอะมีน หลายครั้งที่อาการแพ้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว แต่มีสาเหตุมาจากสารพาราฟีนิลีนไดอะมีนในยาย้อมผม หลังทำผู้ใช้อาจเกิดผื่นแพ้บริเวณเปลือกตา ใบหู หรือมีอาการบวมบริเวณใบหน้าได้

ความรุนแรงของอาการแพ้ครีม

อาการแพ้ครีมในแต่ละบุคคลอาจมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ในบางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต 

ระดับความรุนแรงของอาการแพ้ครีม แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • ผิวหนังเกิดการอักเสบ เป็นอาการที่พบได้มากที่สุด เกิดจากผิวระคายเคืองมากจนเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้มีผื่นคัน แดง ผิวแห้ง ลอกเป็นขุย รวมถึงเกิดแผลพุพอง โดยอาการแพ้ระดับนี้มักเกิดขึ้นหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ได้ไม่นาน
  • ผื่นลมพิษ เป็นอาการที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกแสบร้อนหรือรู้สึกคล้ายมีเข็มทิ่มแทงบริเวณที่มีการสัมผัสผลิตภัณฑ์ ก่อนจะตามมาด้วยผื่นลมพิษที่มีลักษณะบวม แดง และคัน อาการแพ้ระดับนี้มักเกิดขึ้นหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ได้ไม่นาน
  • ผื่นแพ้สัมผัส ผู้ที่มีอาการแพ้ระดับนี้จะมีผื่นขึ้นทั่วบริเวณ ร่วมกับอาการคัน บวม และแดง โดยอาการมักจะเกิดขึ้นทีละน้อย ก่อนจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวลาต่อเนื่องนานกว่า 12 ชั่วโมง และจะรุนแรงที่สุดเมื่อสัมผัสสารไปแล้ว 2 วัน
  • ผื่นสัมผัสที่ไวต่อแสง สารบางชนิดอาจทำให้เกิดผื่นแดง คัน รวมถึงทำให้ผิวไวต่อแสงมากขึ้น ในผู้ที่มีอาการแพ้ลักษณะนี้แต่ยังทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงที่จะเกิดผิวหนังไหม้ได้
  • อากาารแพ้รุนแรง เป็นอาการแพ้ที่พบได้น้อย จะมีอาการคล้ายกับการแพ้อื่นๆ คือ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน หายใจมีเสียงหวีด และแน่นหน้าอก หากมีอาการเช่นนี้ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจรุนแรงถึงขั้นเสียงชีวิตได้

อาการแพ้ครีมกี่วันหาย?

อาการแพ้ครีมมักเกิดขึ้นหลังจากใช้ครีมไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากที่มีอาการควรหยุดใช้ผลิตภัณฑ์นั้น รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีส่วนผสมเดียวกันทันที เพราะอาจทำให้อาการแพ้รุนแรงขึ้นได้

โดยทั่วไปแล้วหากหยุดใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น อาการแพ้ครีมจะค่อยๆ ทุเลาลง ถ้าหากเป็นเพียงผื่นแดงและผื่นลมพิษที่มีระดับความรุนแรงไม่มากนัก อาการจะหายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง

ส่วนผู้ที่มีผื่นแดง ผื่นลมพิษ ร่วมกับผิวแห้งลอกและบวมนูน อาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ระยะเวลาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการด้วย แต่ถ้าหากเกิน 3 สัปดาห์ไปแล้วอาการแพ้ยังไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป

วิธีรักษาอาการแพ้ครีม

โดยทั่วไปแล้วหากหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสาเหตุของการแพ้ครีมก็จะทำให้อาการค่อยๆ ดีขึ้น และหายไปในที่สุด แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจรักษาด้วยการจ่ายยาบางชนิดให้ดังนี้

  • ยาใช้ภายนอก อย่างครีมหรือขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดการอักเสบและผื่นบนผิวหนัง ใช้เพียงวันละ 1-2 ครั้ง ทาต่อเนื่องกันเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์
  • ยาสำหรับรับประทาน เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ที่จะจ่ายให้สำหรับผู้ที่มีอาการคันและอักเสบบริเวณผิวหนังอย่างรุนแรง หรือยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้จากสารก่อภูมิแพ้

ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาภายนอกหรือยาสำหรับรับประทานก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงวิธีการใช้ยาและข้อควรระวังก่อนใช้ รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส แกะ เกาผิว ในขณะที่มีอาการแพ้เพราะอาจทำให้อาการแพ้รุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

วิธีป้องกันอาการแพ้ครีม

เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการแพ้ครีม สิ่งที่จำเป็นจะต้องรู้ คือ เรามีอาการแพ้ต่อสารชนิดนั้นๆ หรือไม่ รวมถึงผลิตภัณฑ์นั้นได้มาตรฐานและปลอดภัยพอที่จะใช้ได้หรือเปล่า โดยเราสามารถตรวจสอบข้อสงสัยเหล่านั้นได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

1. เข้ารับการทดสอบผื่นแพ้

การทดสอบผื่นแพ้ (Patch Test) ส่วนใหญ่มักจะใช้เพื่อวินิจฉัยโรคผิวหนัง โดยการปิดพลาสเตอร์ที่มีสารก่อภูมิแพ้บนผิวหนังเป็นเวลา 48-96 ชั่วโมง ก่อนที่แพทย์จะตรวจสอบว่าผิวของเรามีปฏิริยาอย่างไรต่อสารทดสอบ

การทดสอบผื่นแพ้จะช่วยป้องกันการเกิดอาการแพ้ครีมจากสารก่อภูมิแพ้ได้เท่านั้น ในผู้ที่มีผิวบอบบางมากการทดสอบนี้อาจไม่ตอบโจทย์

ปรึกษาหมอชัญญาโดยตรง
ปรึกษาหมอชัญญาโดยตรง

วิธีป้องกันอาการแพ้ครีม

เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการแพ้ครีม สิ่งที่จำเป็นจะต้องรู้ คือ เรามีอาการแพ้ต่อสารชนิดนั้นๆ หรือไม่ รวมถึงผลิตภัณฑ์นั้นได้มาตรฐานและปลอดภัยพอที่จะใช้ได้หรือเปล่า โดยเราสามารถตรวจสอบข้อสงสัยเหล่านั้นได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

1. เข้ารับการทดสอบผื่นแพ้

การทดสอบผื่นแพ้ (Patch Test) ส่วนใหญ่มักจะใช้เพื่อวินิจฉัยโรคผิวหนัง โดยการปิดพลาสเตอร์ที่มีสารก่อภูมิแพ้บนผิวหนังเป็นเวลา 48-96 ชั่วโมง ก่อนที่แพทย์จะตรวจสอบว่าผิวของเรามีปฏิริยาอย่างไรต่อสารทดสอบ

การทดสอบผื่นแพ้จะช่วยป้องกันการเกิดอาการแพ้ครีมจากสารก่อภูมิแพ้ได้เท่านั้น ในผู้ที่มีผิวบอบบางมากการทดสอบนี้อาจไม่ตอบโจทย์

2. ทดสอบอาการแพ้ด้วยตนเอง

สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเข้ารับบริการทดสอบผื่นแพ้ สามารถทดสอบอาการแพ้ครีมได้ด้วยตนเอง โดยการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์เพียงเล็กน้อยบริเวณหลังใบหูหรือท้องแขนต่อเนื่อง 1 สัปดาห์

เนื่องจากผิวบริเวณนี้มีความบอบบางคล้ายกับบริเวณใบหน้า หากมีผื่นแดง คัน แสบ หรือผิวไหม้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นอย่างเด็กขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้บริเวณใบหน้าได้เช่นกัน

3. ให้ความสำคัญกับส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์

ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ใด ควรอ่านฉลากอย่างละเอียดว่าไม่มีสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และควรหลีกเลี่ยงครีมที่มีส่วนผสมเหล่านี้อย่างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมามากกว่าอาการแพ้

  • สารปรอท (Mercury) เป็นสารที่สามารถทำให้ผิวกระจ่างใสขึ้นและลดการเกิดสิวอักเสบได้อย่างรวดเร็ว แต่อาจทำให้ผิวบางลงจนเห็นเส้นเลือดและเกิดฝ้าถาวร เมื่อใช้อย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ส่วนในหญิงตั้งครรภ์ การใช้ปรอทจะส่งผลอันตรายต่อทารกได้
  • ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) มีคุณสมบัติในการยับยั้งเม็ดสี ช่วยให้ผิวขาวขึ้น แต่อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อน เกิดตุ่ม และมีแผลพุพอง หากใช้ในระดับความเข้มข้นที่สูงเกินไปอาจทำให้เกิดลมขัก แพ้ยา รวมถึงเมื่อใช้อย่างต่อเนื่องก็จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้
  • สเตียรอยด์ (Steroid) ถึงแม้สเตียรอยด์จะถูกนำมาใช้ในยารักษาโรคผิวหนัง แต่การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ อาจทำให้ผิวบางลงและเพิ่มโอกาสที่ผิวจะเกิดการแพ้และอักเสบได้ง่าย
  • กรดเรติโนอิก (Retinoic Acid) เป็นสารที่สามารถลดการทำงานของเม็ดสี ช่วยทำให้ผิวกระจ่างใสขึ้น แต่ผิวอาจแสบ ลอก และไวต่อแสงมากขึ้น ส่วนในหญิงตั้งครรภ์ การใช้กรดชนิดนี้จะส่งผลอันตรายต่อทารกได้

นอกจากนี้ยังควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในสถานประกอบการที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันสินค้าปลอมที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำหอม ไม่ทำให้เกิดการอุดตัน และมีสารที่เป็นส่วนประกอบน้อย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้

หากสงสัยว่าครีมหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่อันตรายหรือไม่ สามารถตรวจสอบเลขอย. และข้อมูลอื่นๆ ได้ที่เว็บไซต์ของอย. www.fda.moph.go.th ในหมวดค้นหาผลิตภัณฑ์

วิธีฟื้นฟูผิวหลังจากหายแพ้ครีม

จะเห็นได้ว่าการแพ้ครีมมักทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่มีการสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ ผิวจะแห้ง ลอกเป็นขุย เกิดผื่นลมพิษ หรือมีอาการใบหน้าบวม ต่างจากที่ใครหลายคนมักเข้าใจว่าการแพ้ครีมจะทำให้เกิดสิวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อาการสิวเห่อหลังใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มักเป็นผลกระทบจากการใช้ครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมต่อการอุดตันของรูขุมขน อย่างสารสกัดจากน้ำมันปิโตรเลียม (Petrolatum) สารให้ความนุ่มลื่น (Emollient) หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เข้าไปรบกวนสมดุลความชุ่มชื้นของผิว อย่างโพรพิลีนไกลคอล (Propylene Glycol: PEG) ผิวจึงอ่อนแอและเกิดสิวได้ง่าย

โดยผู้ที่แพ้ครีมส่วนใหญ่มักจะมีผิวแพ้ง่าย (Sensitivity Skin) และเกราะป้องกันผิวที่ไม่แข็งแรง วิธีการฟื้นฟูผิวหลังจากหายแพ้ครีมจึงเน้นไปที่การดูแลผิวให้แข็งแรงอยู่เสมอ สามารถทำได้ดังนี้

1. ใช้มอยเจอร์ไรเซอร์

การใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ นับเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการช่วยให้ผิวชุ่มชื้น รวมถึงช่วยฟื้นฟูผิวและสร้างความแข็งแรงให้กับเกราะป้องกันผิว ถึงแม้จะมีปัญหาผิวแพ้ง่ายก็สามารถใช้ได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์มอยเจอร์ไรเซอร์ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน

2. ทรีตเมนต์ผิว

ทรีตเมนต์ผิว (Treatment)  คือ การเติมสารอาหารต่างๆ ให้กับผิวหน้าโดยตรงผ่านเทคนิคต่างๆ ซึ่งการทำทรีตเมนต์แต่ละครั้งอาจประกอบไปด้วยการดูแลผิวเพียงปัญหาเดียวหรือหลายๆ ปัญหาในคราวเดียว

สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง Better Me Clinic ขอแนะนำโปรแกรม Golden Treatment ทรีตเมนต์ที่มีส่วนผสมของทองคำบริสุทธิ์ มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น พร้อมกับกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิว ช่วยให้ผิวอิ่มฟูและกระจ่างใสขึ้น สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ทันทีหลังรับบริการ

3. เมโสหน้าใส

เมโสหน้าใส (Meso Therapy) คือ การฉีดตัวยาที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากวิตามินและสารสำคัญต่างๆ เข้าไปที่ผิวหนังชั้นกลางเพื่อกระตุ้นการผลิตคอลลาเจน ช่วยให้ผิวกลับมาแข็งแรงและได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง

ในผู้ที่มีปัญหาผิวและต้องการฟื้นฟูผิวหลังแพ้ครีม Better Me Clinic ขอแนะนำ มาเด้คอลลาเจน ที่มีส่วนผสมของวิตามิน แร่ธาตุ เอนไซม์ และคอลลาเจน มีคุณสมบัติสำคัญในการขับของเสียที่ตกค้างอยู่ใต้ผิวออกมา รวมถึงช่วยปรับสมดุลทำให้ผิวแข็งแรงและกระจ่างใสมากขึ้น

จะเห็นได้ว่าปัญหาแพ้ครีมไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดและสามารถหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การดูแลผิวให้แข็งแรงอยู่เสมอก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสามารถช่วยป้องกันผิวจากปัญหาผิวอื่นๆ ได้

หากยังไม่มั่นใจว่าควรเลือกดูแลผิวให้แข็งแรงด้วยวิธีใด สามารถติดต่อเข้ามาที่ Better Me Clinic by Dr. Chanya เพื่อให้คุณหมอประเมินสภาพผิวและแนะนำหัตถการที่เหมาะสมแบบเคสบายเคสได้เลย สามารถติดต่อนัดหมายได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-059-8118, 088-603-2641 หรือไลน์ @bettermeclinic ปรึกษาคุณหมอฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!

  • FDA, Allergens in Cosmetics (https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetic-ingredients/allergens-cosmetics), 16 March 2024.
  • Mayo Clinic, Contact dermatitis (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/contact-dermatitis/symptoms-causes/syc-20352742), 16 March 2024.
  • Bioderma, หน้าแพ้ครีม มีอาการเป็นอย่างไร และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง (https://www.bioderma.co.th/your-skin/sensitive-skin/allergic-face-cream), 16 มีนาคม 2567.
  • Hellokhunmor, แพ้ครีมทาผิว รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่ (https://hellokhunmor.com/สุขภาพผิว/การดูแลและทำความสะอาดผิว/แพ้ครีมทาผิว-รักษาอย่างไร/), 16 มีนาคม 2567.
  • Pobpad, แพ้ครีมทาผิว รับมือได้หากเข้าใจสาเหตุและอาการ (https://www.pobpad.com/แพ้ครีมทาผิว-รับมือได้ห), 16 มีนาคม 2567.
  • Pobpad, แพ้เครื่องสำอาง รับมืออย่างไรดี? (https://www.pobpad.com/แพ้เครื่องสำอาง-รับมืออ), 16 มีนาคม 2567.
  • Pobpad, โรคผื่นระคายสัมผัส (CONTACT DERMATITIS) (https://www.pobpad.com/โรคผื่นระคายสัมผัส-contact-dermatitis), 16 มีนาคม 2567.
  • กองบรรณธิการ HD, สารอะไรในครีมทาผิวที่ทำให้แพ้ได้ อาการเป็นอย่างไรบ้าง และวิธีการบรรเทาอาการแพ้ https://hd.co.th/how-to-relieve-allergic-skin-care), 16 มีนาคม 2567.

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อมอบบริการที่ดีที่สุดสำหรับคุณ