ฝ้าเกิดจากอะไร? รักษาฝ้าด้วยวิธีไหนดี? รวมไว้แล้วที่นี่
ด้วยลักษณะการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ จำเป็นต้องเผชิญกับแสงแดดในทุก ๆ วัน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าแสงแดดส่งผลเสียโดยตรงต่อผิวของเรา หนึ่งในปัญหาผิวยอดฮิตที่เกิดจากแสงแดดคือฝ้านั่นเอง โดยฝ้านั้นมักเกิดบริเวณใบหน้าเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ใบหน้าเกิดสีปื้นเข้มและสีผิวไม่สม่ำเสมอ
เมื่อใบหน้าเป็นฝ้าที่มีสีน้ำตาลเด่นชัด ทำให้ผิวหน้าดูคล้ำเสียและไม่กระจ่างใส จนนำไปสู่การสูญเสียความมั่นใจเมื่อต้องพบปะกับผู้คน ซ้ำร้ายการเป็นฝ้ายังอาจทำให้เสียโอกาสดี ๆ หลายอย่างในชีวิตไปอีกด้วย
ดังนั้นเพื่อช่วยให้ทุกคนเข้าใจปัญหาฝ้าและวิธีการรักษาฝ้าได้อย่างถูกต้อง Better Me Clinic จึงได้รวบรวมทุกรายละเอียดเกี่ยวกับฝ้ามาไว้ในบทความนี้ ตั้งแต่เรื่องของสาเหตุการเกิดฝ้า วิธีการรักษา รวมถึงข้อควรรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับฝ้า หากพร้อมแล้ว ตามมาดูไปพร้อมกันเลย
ฝ้าคืออะไร?
สำหรับสาเหตุของการเกิดฝ้านั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ปัจจัยหลัก ๆ ที่มักพบว่าทำให้เกิดฝ้า มีดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มีส่วนทำให้เกิดฝ้าได้ เนื่องจากการมีฮออร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงในระดับที่สูง จะกระตุ้นให้เกิดการผลิตเมลานินขึ้นนั่นเอง โดยปัจจัยที่ทำให้ฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้เพิ่มขึ้นมักมาจากการตั้งครรภ์ การใช้ยาคุมกำเนิด การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน และการใช้ยาฮอร์โมน
- รังสียูวี (UV) จากดวงอาทิตย์เป็นหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดฝ้า เนื่องจากแสงแดดจะกระตุ้นการผลิตเมลาโนไซต์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์เมลานิน และเมื่อเมลาโนไซต์ถูกกระตุ้นมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการผลิตเม็ดสีเมลานินมากขึ้นตามไปด้วย ยิ่งถ้าหากปล่อยให้ผิวหน้าเผชิญกับแสงแดดเป็นเวลานานโดยไม่ป้องกันก็อาจส่งผลให้เกิดฝ้ารุนแรงขึ้นได้
- พันธุกรรม ก็มีส่วนทำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นฝ้าจะได้รับการถ่ายทอดยีนที่สร้างเม็ดสีผิดปกติมาด้วย นอกจากนี้ผู้ที่มีสีผิวแบบ Fitzpatrick III-VI ซึ่งเป็นสีผิวที่พบในคนเอเชีย เช่น เกาหลี จีน ญี่ปุ่น หรือคนไทยที่มีผิวค่อนข้างขาวจนถึงผิวดำแบบแขกอินเดียหรือชาวแอฟริกัน มีโอกาสโดนแดดไหม้ง่าย และเกิดฝ้าจากแสงแดดได้มากกว่า
- ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยเฉพาะภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism) เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์มีอิทธิพลต่อการทำงานของเมลาโนไซต์และการสร้างเม็ดสี เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติก็สามารถขัดขวางการผลิตเมลานินและนำไปสู่การเกิดฝ้าได้
- เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว บางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้ โดยเฉพาะเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมและสารเคมีบางชนิด ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบของผิวหนังจนนำไปสู่การเกิดฝ้าขึ้น
ฝ้ามีกี่ชนิด?
เมื่อแบ่งชนิดของฝ้าตามตำแหน่งลักษณะการเกิดฝ้าบนผิวหนังแล้ว พบว่า ฝ้ามี 3 ชนิด คือ ฝ้าตื้น ฝ้าลึก และฝ้าผสม โดยแต่ละชนิดมีลักษณะดังนี้
ฝ้าตื้น (Epidermal Type)
ลักษณะของฝ้าตื้น คือจะมีการสะสมเม็ดสีเมลานินส่วนเกินในชั้นหนังกำพร้า ฝ้าจะมีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาดำและมีเส้นขอบที่เกิดฝ้าชัดเจน โดยฝ้าชนิดนี้ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ดี
ฝ้าลึก (Dermal type)
ฝ้าชนิดนี้พบได้ไม่มากนัก จะมีการสะสมของเม็ดสีเมลานินในชั้นหนังแท้ใต้หนังกำพร้าทำให้มีความลึกและรักษายากขึ้น มักมีสีเทาอมฟ้าไปจนถึงสีน้ำตาลอ่อน และมีเส้นขอบที่ชัดเจนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับฝ้าตื้น
ฝ้าแบบผสม (Mix Type)
ฝ้าแบบผสม เป็นฝ้าที่มีการผสมกันของทั้งฝ้าลึกและฝ้าตื้น เป็นฝ้าที่พบมากที่สุด เรียกได้ว่าเป็นฝ้าที่ต้องใช้ความท้าทายอย่างมากในการรักษา เนื่องจากมีการสะสมของเม็ดสีเมลานินที่ทั้งลึกและขยายวงกว้างขึ้น โดยมีสีน้ำตาลและสีเทาอมฟ้า ซึ่งฝ้าชนิดนี้ต้องใช้วิธีรักษาร่วมกันหลายวิธี
บริเวณที่มักเกิดฝ้า
บริเวณที่มักจะเกิดฝ้าส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่ต้องเผชิญกับแสงแดดโดยตรงและมักโดนแดดเป็นประจำ ได้แก่
- หน้าผาก เป็นบริเวณที่มักเกิดฝ้ามากที่สุด เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้มีความกว้าง ส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะโดนแสงแดดได้ง่ายมาก นอกจากนี้ความไม่คงที่ของฮอร์โมน เช่น อาการที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์หรือขณะรับประทานยาคุมกำเนิด ก็สามารถทำให้เกิดฝ้าบนหน้าผากได้เช่นกัน
- แก้ม ฝ้ามักปรากฏบนแก้ม เนื่องจากแก้มต้องเผชิญกับแสงแดดโดยตรงเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง นอกจากนี้ความผันผวนของฮอร์โมนและความบกพร่องทางพันธุกรรมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดฝ้าที่แก้มได้
- เหนือริมฝีปาก เป็นอีกหนึ่งบริเวณที่มักเกิดฝ้า เนื่องจากการสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในบางกรณีการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือยาบางชนิดก็อาจทำให้เกิดฝ้าที่บริเวณเหนือริมฝีปากได้เช่นกัน
- คาง ฝ้าบริเวณนี้มักพบมากในผู้หญิง เพราะนอกจากการเผชิญกับแสงแดดแล้ว ผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาด้วยฮอร์โมนหรือมีภาวะที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดฝ้าที่คางได้มากขึ้น
- จมูก เป็นบริเวณที่มักโดนแสงแดด จึงเกิดฝ้าแดดได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่ลอกสิวเสี้ยนอย่างรุนแรง ทำให้ผิวมีโอกาสถูกทำลายจากแสงแดดมากขึ้น
- คอและเนินอก แม้ว่าฝ้าจะส่งผลต่อใบหน้าเป็นหลัก แต่ก็สามารถขยายไปถึงบริเวณคอและเนินอกได้ เนื่องจากบริเวณเหล่านี้มักโดนแสงแดดไม่แพ้กัน
ฝ้าแตกต่างจากกระอย่างไร?
ฝ้าและกระเป็นสภาพผิวที่เกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีทั้งคู่ แม้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจดูคล้ายคลึงกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วก็มีข้อแตกต่างกัน ซึ่งควรทำความเข้าใจความแตกต่างเพื่อการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
กระ (Freckles)
การใช้ยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้ระคายเคืองผิวและนำไปสู่การอักเสบได้ เช่น วิตามินบี 6, วิตามินบี 12, Anabolic Steroids, Corticosteroids, Corticotropin และ Phenytoin เป็นต้น
ฝ้า (Melasma)
ฝ้า มีลักษณะเป็นแผ่นปื้น ๆ โดยทั่วไปแล้วปื้นเหล่านี้จะมีขนาดใหญ่และมีรูปร่างหลากหลายมากกว่ากระ ฝ้ามักเกิดกับผู้หญิงและมักเกิดขึ้นเมื่อโดนแดดบ่อย ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือเมื่อใช้ยาคุมกำเนิด โดยปกติแล้วจะเกิดบนใบหน้า โดยเฉพาะหน้าผาก แก้ม ขอบปากบน และคาง
สรุปแล้วฝ้ากับกระแตกต่างกันตรงที่ ฝ้ามีลักษณะเป็นแผ่นปื้น ๆ ขนาดใหญ่ มีรูปร่างหลากหลาย ส่วนกระเป็นจุดเล็ก ๆ กลม ๆ มีขอบชัดเจน
รวมวิธีรักษาฝ้า
แม้ว่าฝ้าจะเป็นปัญหาที่มาลดทอนความมั่นใจลงอย่างมาก แต่ในปัจจุบันก็มีวิธีการรักษาฝ้าที่หลากหลายเข้ามาช่วย ตั้งแต่การรักษาด้วยตัวเองที่อาจต้องใช้ความอดทนและระยะเวลาพอสมควร ไปจนถึงการรักษาแบบเร่งด่วนที่คลินิกเสริมความงาม ซึ่งวันนี้ Better Me Clinic ได้รวมวิธีรักษาฝ้ามาให้ถึง 6 วิธี จะมีวิธีไหนบ้างนั้น ตามมาดูกันได้เลย
ทาครีมกันแดดเป็นประจำ
การทาครีมกันแดดเป็นประจำถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในปกป้องผิวจากแสงแดดและลดเลือนฝ้าลง โดยควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป และทาให้ทั่วบริเวณที่ต้องโดนแดดเป็นประจำ แม้ในวันที่มีเมฆมาก
ใช้ครีมรักษาฝ้า
ครีมรักษาฝ้ามักประกอบด้วยส่วนผสมที่ช่วยลดเลือนฝ้า เช่น กรดซาลิไซลิก เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ หรือเรตินอยด์ ซึ่งช่วยขจัดสิ่งอุดตันในรูขุมขน ลดการอักเสบ โดยทาครีมลงไปบริเวณที่เป็นฝ้าหรือทาตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์
การทำเลเซอร์หน้าใส
การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์หน้าใสเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพ โดยวิธีนี้จะใช้การยิงพลังงานเลเซอร์ลงไปบนผิวเพื่อเข้าไปจับกับเม็ดสีเมลานินอันเป็นสาเหตุของฝ้า ทำให้เม็ดสีแตกตัวออก ถูกเม็ดเลือดขาวในร่างกายจับและกำจัดออกไปตามกระบวนการกำจัดของเสียของร่างกาย ช่วยย่นระยะเวลาการผลัดเซลล์เม็ดสีเมลานิน พร้อมกับกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนใต้ชั้นผิว จึงช่วยปรับสีผิวให้สม่ำเสมอและฝ้าดูจางลงเร็วขึ้น
การฉีดเมโสหน้าใส
วิธีการฉีดเมโสหน้าใสเป็นการใช้เข็มฉีดส่วนผสมของสารสกัด phytoHA ธรรมชาติจากพืชหลากหลายชนิด รวมถึงวิตามิน A B C E K แร่ธาตุ และกรดอะมิโนลงในผิวชั้นกลาง หรือชั้นที่เป็นหนังแท้ที่มีคอลลาเจนและอิลาสตินสะสมอยู่
ซึ่งเมโสหน้าใสจะเข้าไปช่วยชะลอการกระจายตัวของฝ้า ทำให้ฝ้าดูจางลง รวมถึงช่วยในการปรับผิวให้แลดูกระจ่างใสด้วย
การฉีดเอ็กโซโซม
สารเอ็กโซโซมจะมีโมเลกุลอนุภาคนาโนขนาดเล็กมาก เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว จะตรงเข้าไปช่วยฟื้นฟูเซลล์ที่เสื่อมสภาพและกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ได้ลึกถึงระดับยีน (Epigenetic) ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสี ทำให้ฝ้า กระ จุดด่างดำ แลดูจางลง อีกทั้งยังช่วยปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ
การทำทรีตเมนต์ Melasma
การทำทรีตเมนต์ Melasma ด้วยสูตรเฉพาะของ Better Me Clinic จะมีส่วนผสมของ Alpha Arbutin เข้มข้น ที่ช่วยยับยั้งการเกิดเม็ดสีเมลานิน ทำให้รอยดำ ฝ้า และกระ แลดูจางลง ผิวหน้าขาวดูกระจ่างใสขึ้น ลดความหมองคล้ำจากการถูกทำร้ายจากรังสี UV
การทำทรีตเมนต์ Melasma ที่ Better Me Clinic จะมีการทำความสะอาดผิว นวดหน้า ดีท็อกซ์ผิวขับสารพิษด้วยทรีตเมนต์ จากนั้นจะผลักวิตามินด้วยเครื่อง Cryo blue light ฉายแสง LED กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และมาส์กหน้ากระชับรูขุมขนและบำรุงให้ผิวแข็งแรงขึ้น
วิธีป้องกันและดูแลผิวสำหรับผู้ที่เป็นฝ้า
สำหรับผู้ที่เป็นฝ้าควรป้องกันและดูแลผิวเพื่อไม่ให้เป็นหนักกว่าเดิมด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดด เป็นเวลานาน เนื่องจากอาจทำให้ฝ้าขยายวงกว้างขึ้น
- ทาครีมกันแดด ที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป ควรทาเป็นประจำทุกวันแม้วันที่แดดไม่ออก นอกจากนี้ควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก ๆ สองชั่วโมง โดยเฉพาะเมื่ออยู่กลางแจ้ง
- สวมอุปกรณ์กันแดด เช่น หมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด และเสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันผิวจากแสงแดด
- ทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน ไม่ขัดผิวรุนแรง เพราะอาจทำให้ผิวบางและไวต่อแสงได้
- ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ด้วยการทามอยเจอร์ไรเซอร์ที่เหมาะกับสภาพผิวของตัวเองเพื่อรักษาความชุ่มชื้นและป้องกันการเกิดผิวแห้ง
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกฤทธิ์รุนแรง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารที่ทำให้ระคายเคือง เช่น แอลกอฮอล์ น้ำหอม เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและฝ้าแย่ลง
- ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมทำให้ผิวกระจ่างใส เช่น วิตามินซี ไนอาซินาไมด์ กรดโคจิก และกรดอะเซไลอิก เนื่องจากช่วยทำให้ฝ้าจางลงได้
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์แต่งหน้าที่ปราศจากน้ำมัน ไม่ก่อให้เกิดสิว และมีป้ายกำกับว่าเหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย
รักษาฝ้าที่ไหนดี?
การรักษาฝ้าด้วยการทำหัตถการ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเองและต้องการให้ฝ้าหายไวขึ้น รวมทั้งอยากให้ผิวหน้าดูกระจ่างใส เปล่งปลั่ง ไม่หมองคล้ำ
ดังนั้น การเลือกสถานที่ในการรักษาฝ้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง เพราะจะส่งผลต่อผลลัพธ์ที่เกิดกับหน้าของผู้เข้ารับบริการโดยตรง ควรเลือกใช้บริการรักษาฝ้ากับคลินิกเสริมความงามที่ได้มาตรฐาน คุณหมอมีประสบการณ์ ใช้ผลิตภัณฑ์และเครื่องมือคุณภาพสูง รวมถึงมีการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ
Better Me Clinic by Dr. Chanya เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการรักษาฝ้า บอกลาปัญหาแผ่นปื้นคล้ำเสีย เพราะคุณหมอของเรามีประสบการณ์มากกว่าหมื่นเคส พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด ใส่ใจรายละเอียดแบบเคสต่อเคส มีการประเมินสภาพผิวอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจทำ
อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน พร้อมเครื่องมือครบครัน และนวัตกรรมที่ทันสมัย หากสนใจ สามารถติดต่อนัดหมายได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-059-8118, 088-603-2641 หรือไลน์ @bettermeclinic ปรึกษาคุณหมอได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับรองว่าจะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่และแก้ปัญหาได้ตรงจุดอย่างแน่นอน
- American Academy of Dermatology, MELASMA: DIAGNOSIS AND TREATMENT (https://www.aad.org/public/diseases/a-z/melasma-treatment), 2 December 2023
- River chase Dermatology, Melasma Treatment: How to fade these brown Patches on the skin (https://www.riverchasedermatology.com/blog/melasma-treatment-how-to-fade-these-brown-patches-on-the-skin/), 2 December 2023
- Eucerin, ฝ้า เกิดจากอะไร มีกี่ชนิด เรียนรู้สาเหตุและวิธีรักษาฝ้า (https://www.eucerin.co.th/skin-concerns/uneven-skin/melasma), 2 ธันวาคม 2566
- Nivea, รู้จักชนิดของฝ้า ที่ไม่อยากให้เกิดบนหน้าของเรา (https://www.nivea.co.th/advice/luminous630-introduction-to-melasma-and-protection-guides), 2 ธันวาคม 2566