อายุมา หนังตาหย่อน เป็นแล้วอย่าปล่อยไว้! รีบรักษาก่อนมองไม่เห็น
ภาวะหนังตาหย่อน อีกหนึ่งปัญหาที่อาจดูไกลตัวสำหรับใครหลายคน แต่รู้หรือไม่ว่าปัญหานี้กลับเป็นปัญหาที่พบได้มากในทุกเพศทุกวัยและมีความรุนแรงแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ในบางคนอาจส่งผลให้หน้าดูแก่ก่อนวัย และในขณะที่บางคนอาจรุนแรงถึงขั้นบดบังการมองเห็นบางส่วน!
วันนี้ Better Me Clinic จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ “ภาวะหนังตาหย่อน” ตั้งแต่หนังตาหย่อนคืออะไร? หนังตาหย่อนเกิดจากอะไร? ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง? ไปจนถึงวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้อย่างอยู่หมัด! หากพร้อมแล้วก็ไปหาคำตอบกันได้เลย
หนังตาหย่อนคืออะไร?
หนังตาหย่อน หรือ หนังตาตก คือ ภาวะที่เปลือกตาหรือหนังตามีความหย่อนคล้อยและห้อยลงมาบดบังตาดำมากกว่า 2 มิลลิเมตร อาจเกิดทีละข้างหรือเกิดพร้อมกันทั้งสองข้าง โดยภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากอายุที่เพิ่มมากขึ้น การมีไขมันสะสมบริเวณเปลือกตา หรือมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
หากมีปัญหาหนังตาหย่อนแต่ไม่รุนแรงอาจไม่ส่งผลกระทบใดๆ แต่ในผู้ที่หนังตาหย่อนคล้อยมากๆ จะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น จนติดนิสัยเชิดหน้าอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เห็นภาพตรงหน้าได้ชัดเจน มีอาการลืมตาได้ไม่สุด ตาดูเล็กและปรืออยู่ตลอดเวลา มองเห็นภาพซ้อน รวมถึงยังทำให้ดูแก่ก่อนวัยได้อีกด้วย
หนังตาหย่อนมีกี่ประเภท?
หนังตาหย่อนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามบริเวณที่เป็นสาเหตุของปัญหา ดังนี้
1. ผิวหนังที่เปลือกตาหย่อนคล้อย
ผิวหนังที่เปลือกตาหย่อนคล้อย (Dermatochalasis) เป็นหนึ่งในสัญญาณของความชรา พบได้มากในผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนและวัยชรา ผู้ที่มีหนังตาหย่อนประเภทนี้ขอบเปลือกตาจะอยู่ในตำแหน่งปกติ แต่ผิวหนัง ชั้นไขมัน หรือความเหี่ยวย่นของหน้าผากจะหย่อนลงมาบดบังการมองเห็น สามารถเกิดได้ทั้งบริเวณเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง
นอกจากนี้แล้ว หนังตาหย่อนประเภทนี้ยังพบได้ในผู้ที่ชอบขยี้ตาบ่อยๆ มีอาการอักเสบโดยรอบของเนื้อเยื่อรอบตา และป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบางชนิด
เมื่อเป็นแล้วมักจะมองเห็นภาพด้านข้างได้ลดลง รู้สึกว่าเปลือกตาหนัก ล้า ปวดระหว่างคิ้ว บางรายอาจเกิดอาการหนังตาอักเสบเนื่องจากมีการสะสมความชื้นของบริเวณรอยพับที่ชั้นตา
2. หนังตาตก
หนังตาตก (Ptosis) เป็นภาวะที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย เกิดจากการที่กล้ามเนื้อยกเปลือกตาทำงานน้อยกว่าปกติหรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำให้ขอบของเปลือกตาจะลงมาบดบังการมองเห็น สามารถเกิดขึ้นร่วมกับผิวหนังที่เปลือกตาหย่อนได้
หากพบในเด็กจะสามารถสังเกตได้ว่ารอยพับของตาบนไม่เรียงชั้นเท่ากัน ทำให้ติดนิสัยเงยหน้า เชิดคาง หรือเลิกคิ้วขึ้นเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน ในบางรายหากเปลือกตาของเด็กลดลงจนบดบังการมองเห็นมากๆ อาจทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจ ซึ่งจะทำให้ตาข้างหนึ่งมีการมองเห็นที่ดีกว่าอีกข้าง
ส่วนปัญหาหนังตาตกในผู้ใหญ่มักจะเกิดขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชรา มีอาการบาดเจ็บที่ดวงตา ได้รับผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดตา หรือมีเนื้องอกที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อเปลือกตา ทำให้เกิดภาวะหนังตาตกได้
ทั้งนี้ภาวะหนังตาตกอาจไม่ได้อันตรายเสมอไป เพียงแต่จะส่งผลต่อด้านความงามและการมองเห็น หากมีความกังวลสามารถเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินและทำการรักษาต่อไป
หนังตาหย่อนเกิดจากอะไร?
หนังตาหย่อนเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กแรกเกิดไปจนกระทั่งผู้สูงอายุ สามารถเกิดขึ้นกับตาเพียงข้างใดข้างหนึ่งหรือเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองข้างก็ได้ ซึ่งหนังตาหย่อนเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1. หนังตาตกตั้งแต่กำเนิด
หนังตาตกตั้งแต่กำเนิด (Congenital Ptosis) เป็นภาวะที่ทำให้เด็กลืมตาได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากกล้ามเนื้อตาพัฒนาได้ไม่ดีและกลายเป็นเนื้อเยื่อผังพืดที่ดึงรั้งกล้ามเนื้อเอาไว้จนเปลือกตาไม่สามารถยกขึ้นได้สุด
โดยกว่า 70% ปัญหาหนังตาตกตั้งแต่กำเนิดมักจะเกิดขึ้นกับตาเพียงข้างเดียว เมื่อเป็นแล้วควรรีบพบแพทย์ เนื่องจากอาจทำให้ตาข้างที่มีหนังตาตกลงมาไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ทำให้มองเห็นได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงยังทำให้ลูกตาเล็กและเขได้
2. อายุที่เพิ่มมากขึ้น
อายุนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาหนังตาหย่อนคล้อย เพราะเมื่ออายุมากขึ้น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผิวหนังจะเสื่อมสภาพลงตามอายุ แต่หากมีการอักเสบรอบดวงตา ขยี้ตาบ่อยๆ ได้รับแสงแดดมากๆ เป็นเวลานาน ก็อาจทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควรได้
นอกจากนี้แล้ว เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นยังทำให้กล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพลง กล้ามเนื้อยกเปลือกตาหลุดออกจากตำแหน่งที่ยึดเกาะ จนทำให้เปลือกตาตกลงมาบดบังการมองเห็นด้วย
3. ความผิดปกติของร่างกายที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท
เส้นประสาทคู่ที่ 3 หรือ เส้นประสาทออกคูโลมอเตอร์ (Oculomotor Nerve) มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา การหรี่ม่านตา และควบคุมกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยกเปลือกตา หากเส้นประสาทนี้ได้รับการกระทบกระเทือนหนังตาก็อาจทำให้เกิดอาการหนังตาตกได้
โดยความผิดปกติของร่างกายที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท อาจเกิดจากโรคเลือดสมอง โรคเนื้องอกหรือมะเร็งสมอง และการเกิดอุบัติเหตุโดยตรงกับจอประสาทตา เป็นต้น
4. พฤติกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อตายืดหรือบาดเจ็บ
การทำพฤติกรรมที่ส่งผลให้ดวงตาเกิดความระคายเคืองเป็นประจำอาจทำให้หนังตาหย่อนก่อนวัยได้ เช่น มีประวัติภูมิแพ้บริเวณตา ขยี้ตาบ่อย ใส่คอนแทคเลนส์ที่มีความโค้งไม่เหมาะกับดวงตา ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ไม่ถูกต้อง หรือการใส่คอนแทคเลนส์ต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปี
5. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นเป็นหนึ่งในอาการจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis) ซึ่งเป็นโรคที่มักเกิดในผู้ที่มีอายุ 60-65 ปี เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่งที่เสื่อมสภาพลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถสั่งการและควบคุมกล้ามเนื้อได้อย่างปกติ
เมื่อเป็นแล้วนอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตาอ่อนแรงลง ยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า แขน และขา อ่อนแรงลงไปด้วย
6. ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดตา
หลังการผ่าตัดบางอย่างอาจทำให้หนังตาขยายออกและส่งผลให้เกิดอาการหนังตาหย่อนตามมาได้ เช่น การทำเลสิก (Lasik) หรือการศัลยกรรมตาสองชั้น
หนังตาหย่อนส่งผลอะไรบ้าง?
ในช่วงแรกของการมีอาการหนังตาหย่อนอาจไม่พบความปกติใดๆ มากนัก แต่จะส่งผลต่อด้านความงามเป็นหลัก คือ สามารถสังเกตเห็นได้ว่าใบหน้าโดยรวมดูมีอายุมากขึ้น แววตาดูไม่สดใส รวมถึงเริ่มรู้สึกได้ว่าเปลือกตาหนักขึ้น มีอาการล้า ปวดระหว่างคิ้ว และเริ่มพยายามเลิกคิ้วเพื่อช่วยยกเปลือกตา
ส่วนในผู้ที่หนังตาหย่อนมาก จะทำให้เปลือกตาบดบังการมองเห็นบางส่วน ทำให้ต้องใช้สายตามากขึ้นในการเพ่งมอง บางรายอาจติดนิสัยเงยหน้า เชิดคาง เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน
นอกจากนี้ ปัญหาหนังตาหย่อนยังทำให้เกิดภาวะขนตาทิ่มตา (Trichiasis) ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นภาวะที่ขนตาเสียดสีกับกระจกตาจนเกิดความระคายเคือง กะพริบตาบ่อยขึ้น บางรายอาจระคายเคืองมากจนลืมตาไม่ขึ้น หากปล่อยไว้อาจทำให้กระจกตาอักเสบและติดเชื้อได้
วิธีรักษาหนังตาหย่อน
ปัญหาหนังตาหย่อนสามารถรักษาได้หลายวิธี ทั้งวิธีการผ่าตัดและวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของหนังตาหย่อนด้วยว่าเกิดจากสาเหตุใด หากเกิดจากความหย่อนคล้อยของชั้นผิวหรือชั้นไขมันบริเวณเปลือกตา อาจไม่จำเป็นที่จะต้องผ่าตัด ในขณะที่ผู้ที่มีปัญหาหนังตาหย่อนมากและเป็นผลมาจากการทำงานของกล้ามเนื้อตาที่ผิดปกติ อาจทำการรักษาได้จากวิธีการผ่าตัดเท่านั้น
หากไม่มั่นใจว่าตนเองมีปัญหาหนังตาหย่อนจากสาเหตุใด สามารถติดต่อเข้ามาที่ Better Me Clinic by Dr. Chanya เพื่อให้คุณหมอประเมินวิธีการรักษาได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!
โดยวิธีรักษาหนังตาหย่อน สามารถทำได้ดังนี้
1. HIFU
HIFU (High Intensity Focused Focus Ultrasound) หรือ ไฮฟู่ เป็นเครื่องมือยกกระชับผิวที่ใช้คลื่นอัลตราซาวด์ความเข้มข้นสูงเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อผิวชั้น SMAS ทำให้ผิวชั้นนี้หดตัว กระตุ้นให้มีการจัดเรียงตัวใหม่ของเส้นใยคอลลาเจนใต้ผิว ทำให้หนังตาที่เคยหย่อนคล้อยกลับมายกกระชับขึ้นอีกครั้ง
แต่ถ้าหากต้องการผลลัพธ์ในอีกระดับ Better Me Clinic ขอแนะนำการทำ HIFU ด้วยเครื่อง Ultraformer lll ซึ่งเป็นเครื่องมือในการทำ HIFU ที่ใช้นวัตกรรม MMFU (Micro & Macro Focused Ultrasound) หรือการใช้พลังงานถึง 2 รูปแบบ เข้าไปช่วยกระตุ้นการทำงานใต้ผิว ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการทำ HIFU แบบทั่วไปถึง 5 เท่า
หลังรับบริการ HIFU ด้วยเครื่อง Ultraformer lll สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ทันทีหลังทำ แต่ผลลัพธ์จะค่อยๆ ดีขึ้นและเห็นผลชัดเจนที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปราวๆ 2 เดือน ก่อนที่ผลลัพธ์จะคงประสิทธิภาพไว้ได้นานประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพผิวก่อนรับบริการและการดูแลตัวเองหลังรับบริการด้วย
ทั้งนี้การทำ HIFU ไม่สามารถรักษาอาการหนังตาหย่อนที่เป็นผลมาจากการทำงานของกล้ามเนื้อตาที่ผิดปกติได้ รวมทั้งดวงตายังเป็นบริเวณที่บอบบางมากๆ จึงต้องอาศัยทักษะพิเศษในการแก้ปัญหานี้ ก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษาควรหาข้อมูลให้มั่นใจเสียก่อนว่าแพทย์ผู้ดูแลมีความชำนาญมากพอเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงที่จะตามมาได้
2. Ulthera
Ulthera (Microfocused Ultrasound with Visualization) เป็นเครื่องมือยกกระชับผิวที่ใช้คลื่นอัลตราซาวด์แบบเฉพาะเจาะจงในระดับความถี่สูง มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ HIFU แต่จะแตกต่างกันตรงที่ Ulthera มีหัวยิงที่มีขนาดจุดโฟกัสเล็กกว่า รวมถึงมีจอแสดงผลแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถแก้ปัญหาความหย่อนคล้อยได้อย่างตรงจุด
Ulthera นับเป็นเครื่องมือรักษาอาการหนังตาหย่อนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากการทำ Ulthera เพียง 1 ครั้ง สามารถคงผลลัพธ์ได้นานถึง 1 ปี รวมทั้งช่วยยกกระชับกรอบหน้าและลำคอได้อีกด้วย
3. Thermage
Thermage หรือ เทอร์มาจ เป็นเทคโนโลยียกกระชับผิวด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (High Radio Frequency) ชนิดขั้วเดียวลงไปในชั้นไขมันใต้ผิว โดยพลังงานความร้อนเหล่านั้นจะกระจายลงใต้ชั้นผิวอย่างอ่อนโยน เข้าไปสลายไขมันที่สะสมอยู่ พร้อมทั้งกระตุ้นการผลิตเส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินขึ้นมาใหม่
ทำให้เทอร์มาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหนังตาหย่อนจากการสะสมของชั้นไขมัน และต้องการลดรอยย่นรอบดวงตา
โดย Thermage รุ่นที่นิยมนำมาแก้ปัญหาหนังตาหย่อน คือ Thermage FLX เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ทันสมัย มีระบบช่วยคำนวณพลังงานความร้อนใต้ชั้นผิว และโฟกัสแม่นยำแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ
4. การผ่าตัดยกคิ้ว
การผ่าตัดยกคิ้ว โดยทั่วไปแพทย์จะทำการตัดผิวหนังส่วนเกินที่อยู่เหนือคิ้วออก แล้วเย็บดึงผิวหนังที่หย่อนคล้อยขึ้น ช่วยให้คิ้วอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถทำได้หลายเทคนิค เช่น เทคนิค Direct Brow Lift เทคนิค Pretrichial Brow Lift และเทคนิค Temporal Lift
การผ่าตัดยกคิ้ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวบริเวณหน้าหย่อนคล้อยมาก จนทำให้หนังตาหย่อนคล้อยตามไปด้วย ในบางรายการผ่าตัดยกคิ้วเพียงอย่างเดียวก็สามารถแก้ไขปัญหาหนังตาหย่อนได้แล้ว แต่บางรายแพทย์อาจแนะนำให้มีการศัลยกรรมตาสองชั้นร่วมด้วย
5. การทำศัลยกรรมตาสองชั้น
ในผู้ที่มีปัญหาหนังตาหย่อนมาก จนไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยเครื่องมือยกกระชับ แพทย์มักแนะนำให้เข้ารับการศัลยกรรมตาสองชั้นด้วยเทคนิคกรีดยาว
การศัลยกรรมตาสองชั้นด้วยเทคนิคกรีดยาว (Long Incision Blepharoplasty) เป็นการผ่าตัดกรีดหนังตาบนตั้งแต่ช่วงหัวตาไปจนถึงหางตา ทำให้สามารถนำหนังตาและไขมันส่วนเกินที่หย่อนลงมาออกได้ตามต้องการ รวมทั้งยังสามารถปรับกล้ามเนื้อตา เพื่อแก้ปัญหาหนังตาหย่อนจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้อีกด้วย
วิธีป้องกันหนังตาหย่อน
นอกจากการดูแลดวงตาแล้ว การดูแลเปลือกตาให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอก็นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ โดยเราสามารถป้องกันหนังตาหย่อนได้ง่ายๆ ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
- กะพริบตาบ่อยๆ การกะพริบตาบ่อยๆ จะช่วยให้มีการหลั่งน้ำตาออกมามากขึ้น ช่วยให้เยื่อบุตาแข็งแรง รวมทั้งยังช่วยลดการระคายเคืองและรักษาความชุ่มชื้นภายในดวงตาอีกด้วย
- พักสายตาเป็นระยะ เมื่อใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือต่อเนื่อง 40-60 นาที ควรพักสายตาโดยการมองออกไปที่ไกลๆ หรือหลับตาลงเป็นระยะ เพื่อให้ลดการใช้กล้ามเนื้อตา
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับดวงตาที่ได้มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการใส่บิ๊กอาย คอนแทคเลนส์ที่มีความโค้งไม่เหมาะกับรูปตา เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อตายืดหรือบาดเจ็บได้
- ทำความสะอาดดวงตาและเปลือกตาเป็นประจำ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ในการเช็ดหรือทำความสะอาดรอบดวงตา เพราะอาจทำให้ผิวเกิดความระคายเคืองและอักเสบได้
แก้ปัญหาหนังตาหย่อนที่ไหนดี?
จะเห็นได้ว่าปัญหาหนังตาหย่อนเป็นปัญหาที่ไม่ควรปล่อยปละละเลยเพราะนอกจากจะส่งผลกระทบต่อด้านความงามแล้ว หากปล่อยไว้อาจยิ่งส่งผลกระทบต่อการมองเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะรักษาหนังตาหย่อนที่ไหนดี? ให้ Better Me Clinic by Dr. Chanya เป็นหนึ่งในทางเลือก เพราะเรามีบริการแก้ปัญหาหนังตาหย่อนให้เลือกอย่างหลากหลาย ทั้งการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ให้บริการด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และทุกบริการดูแลโดยแพทย์ผู้ชำนาญเท่านั้น
หากยังไม่มั่นใจว่าควรเลือกรักษาหนังตาหย่อนด้วยวิธีใด สามารถติดต่อเข้ามาที่ Better Me Clinic by Dr. Chanya เพื่อให้คุณหมอประเมินสภาพผิวและแนะนำหัตถการที่เหมาะสมแบบเคสบายเคสได้เลย สามารถติดต่อนัดหมายได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-059-8118, 088-603-2641 หรือไลน์ @bettermeclinic ปรึกษาคุณหมอฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!
- American Academy of Ophthalmology, Dermatochalasis (https://eyewiki.aao.org/Dermatochalasis), 7 March 2024.
- American Academy of Ophthalmology, What Is Ptosis? (https://www.aao.org/eye-health/diseases/what-is-ptosis), 7 March 2024.
- HDmall, เปลือกตาตกและหย่อน สาเหตุ อาการ วิธีรับมือกับปัญหา (https://hdmall.co.th/c/pseudoptosis-eyelids-fall-slack), 7 มีนาคม 2567.
- โรงพยาบาลกรุงเทพ, หนังตาตก รีบรักษาก่อนเสียความมั่นใจ
- POBPAD, หนังตาตก (https://www.pobpad.com/หนังตาตก), 7 มีนาคม 2567.
- โรงพยาบาลกรุงเทพ, หนังตาตก รีบรักษาก่อนเสียความมั่นใจ(https://www.bangkokhospital.com/content/ptosis), 7 มีนาคม 2567.
- โรงพยาบาลพญาไท 2, ภาวะหนังตาตก…เมื่อหนังตาเป็นสาเหตุที่ทำให้การมองเห็นลดลง (https://www.phyathai.com/th/article/2793-ภาวะหนังตาตก___เมื่อหนัง), 7 มีนาคม 2567.