ตะไบฮัมพ์จมูก ปรับสันจมูกให้โด่งอย่างเรียบเนียน
คุณอาจเคยเห็นชาวต่างชาติ หรือผู้ที่จมูกโด่งมากๆ แต่ความโค้งของจมูกดูงุ้มงอ มีองศาหักลงคล้ายกับหลังอูฐ ปากของนกแก้ว หรืออาจเคยเห็นผู้ที่มีทรงจมูกแบบที่ใครหลายคนชอบล้อว่าเป็น “จมูกแม่มด” ซึ่งเป็นทรงจมูกที่ส่วนปลายจะงุ้มลง แต่มีแกนกลางจมูกที่นูนเชิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ปัญหาเหล่านี้เกิดมาจากองค์ประกอบของจมูกส่วนที่เรียกว่า “ฮัมพ์จมูก” ซึ่งเป็นพื้นที่เล็ก ๆ ตรงกึ่งกลางสันจมูกซึ่งสามารถสร้างผลกระทบต่อทั้งบุคลิกและความสวยงามองค์รวมของใบหน้าได้
ฮัมพ์จมูกคืออะไร?
ฮัมพ์จมูก (Nasal Hump) คือ ชื่อเรียกมิติของสันจมูกส่วนที่นูนขึ้นมา โดยตั้งอยู่ในตำแหน่งรอยต่อระหว่างกระดูกแข็งและกระดูกอ่อนของดั้งจมูก
ฮัมพ์จมูกในมนุษย์แต่ละคนจะมีขนาด ความนูน และความกว้างที่แตกต่างกันไปตามกรรมพันธุ์ บางคนมีฮัมพ์จมูกที่นูนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บางคนมีฮัมพ์จมูกที่เล็กมาก และแทบมองไม่เห็นจากสายตาภายนอก นอกเสียจากจะลองใช้มือลองกดลูบตรงดั้งจมูก
โครงสร้างของฮัมพ์จมูกมีกี่แบบ?
ฮัมพ์จมูก ตั้งอยู่ในรอยเชื่อมระหว่างกระดูกแข็งซึ่งอยู่ตรงโคนบนสุดของจมูก และกระดูกอ่อนที่อยู่ถัดลงมา ปัญหาฮัมพ์จมูกที่มีมิติไม่เหมาะสมจึงมักมีปัจจัยมาจากขนาดหรือลักษณะที่ไม่เหมาะสมของกระดูกทั้ง 2 ส่วนนี้ โดยแจกแจงออกได้ 3 รูปแบบ
- ฮัมพ์จมูกจากกระดูกแข็งอย่างเดียว (Nasal Bone) เป็นมิติฮัมพ์จมูกที่เกิดจากกระดูกแข็งเชิดตัวขึ้นหรือมีลักษณะงอ ส่งผลทำให้ตรงสันจมูกส่วนบนเกิดความนูนขึ้น
- ฮัมพ์จมูกจากกระดูกอ่อนอย่างเดียว (Upper Lateral Cartilage) เป็นมิติฮัมพ์จมูกที่เกิดจากกระดูกอ่อนซึ่งอยู่ถัดลงมาจากกระดูกแข็งมีความโค้งงอ ในผู้ที่มีฮัมพ์จมูกแบบนี้จะเห็นความโค้งตรงบริเวณสันตรงกลางจมูก บางคนอาจมีปลายจมูกเชิดขึ้นเล็กน้อยด้วย
- ฮัมพ์จมูกจากทั้งกระดูกแข็งและกระดูกอ่อน (Combined Nasal Bone And Upper Lateral Cartilage) เป็นมิติฮัมพ์จมูกที่มักเห็นได้ค่อนข้างชัด เพราะเกิดจากความโค้งของทั้งกระดูกแข็งและกระดูกอ่อนรวมกัน ส่งผลทำให้พื้นที่ความนูนของสันจมูกดูยาวและดูใหญ่กว่า ร่วมกับอาจมีปลายจมูกที่งุ้มลงด้วย
ฮัมพ์จมูกกับโหงวเฮ้ง
หลายคนเชื่อว่า ฮัมพ์จมูกที่สูงหรือนูนมากมีโอกาสจะทำให้ผู้นั้นมีปัญหาด้านการเงิน ทำให้เก็บเงินไม่อยู่ ชีวิตไม่มีความมั่นคง นอกจากนี้ยังมีโอกาสถูกใส่ร้ายป้ายสีได้ง่าย ไม่เป็นที่รักใคร่ของคนรอบข้าง
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนเลือกมาตะไบฮัมพ์จมูก เพื่อปรับมิติความโค้งงอของจมูกให้น้อยลง ทำให้โอกาสประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากสังคมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ยังมีอีกหลายคนที่มีฮัมพ์จมูกชัด แต่ก็เลือกที่จะเก็บฮัมพ์จมูกเอาไว้ และไม่ได้แก้ไขทรงจมูกเดิมออกแต่อย่างใด
ฮัมพ์จมูกกับบุคลิกของใบหน้า
นอกจากปัญหาด้านโหงวเฮ้ง ผู้หญิงและผู้ชายที่มีฮัมพ์จมูกอย่างเห็นได้ชัดยังมักถูกมองว่า ใบหน้าดูแข็งหรือดูไม่ละมุนอ่อนโยน หลายคนยังถูกมองว่า มีใบหน้าที่ดูดุดันหรือไม่เป็นมิตรเท่าไรนัก ซึ่งก็อาจส่งผลต่อโอกาสด้านหน้าที่การงานและการเข้าสังคมได้เช่นกัน
คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายหลายคนจึงเลือกที่จะตะไบฮัมพ์ เพื่อปรับความเรียบเนียนของโครงจมูกไม่ให้มีลักษณะงอหรืองุ้มอีก ช่วยเสริมบุคลิกภาพของใบหน้าให้ดูเป็นมิตรอย่างเป็นธรรมชาติขึ้น ทำให้ภาพลักษณ์ดูเข้าถึงง่ายกว่าเดิม โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสริมจมูกเสมอไป
ตะไบฮัมพ์คืออะไร? จำเป็นต้องตะไบก่อนทำจมูกไหม?
การตะไบฮัมพ์ (Nasal Hump Reduction) คือ การผ่าตัดเพื่อลดมิติของฮัมพ์จมูก โดยการสอดอุปกรณ์คล้ายกับแท่งตะไบเล็กๆ (Bone Rasp) เข้าไปขัดตกแต่งเพื่อปรับสันจมูกส่วนที่นูนเป็นกระดูกฮัมพ์ให้ลดความโค้งนูนลง ทำให้สันจมูกมีความราบเรียบสม่ำเสมอกัน
ความจำเป็นในการตะไบฮัมพ์ก่อนทำจมูกจะขึ้นอยู่กับลักษณะจมูกของผู้เข้ารับบริการแต่ละท่าน แพทย์จะเป็นผู้ออกความเห็นว่า ผู้เข้ารับบริการจำเป็นต้องตะไบฮัมพ์จมูกให้เล็กลงก่อนหรือไม่ เนื่องจากโครงสร้างของฮัมพ์จมูกเดิมอาจส่งผลทำให้จมูกหลังผ่าตัดเบี้ยว ปลายไม่สโลป หรือดูปลายพุ่งอย่างที่ต้องการได้
หรือในอีกกรณี การไม่ตะไบฮัมพ์ก่อนเสริมจมูก ก็อาจยิ่งทำให้กระดูกฮัมพ์จมูกดูชัดขึ้นกว่าเดิมหลังใส่ซิลิโคนเสริมจมูกได้เช่นกัน
สันจมูกนูน อาจไม่ใช่ฮัมพ์จมูกเสมอไป
อย่างไรก็ตาม การมีสันจมูกที่นูนขึ้นหรือดูโค้งก็ไม่ได้เกิดจากมิติของฮัมพ์จมูกเสมอไป ในบางคนอาจไม่ได้มีฮัมพ์จมูก เพียงแต่เป็นผู้ที่สันจมูกตรงหัวตาแบนหรือเตี้ย แล้วส่วนปลายโด่งพุ่งออก หรือเป็นผู้ที่ปลายจมูกโค้งงุ้มลง จึงเข้าใจผิดว่าตนเองมีฮัมพ์จมูก ซึ่งในกรณีนี้ เราสามารถเรียกได้ว่า “ฮัมพ์เทียม (Pseudo hump)”
ในผู้ที่มีจมูกลักษณะนี้ หากต้องการทำให้จมูกดูเป็นสันที่เรียบสม่ำเสมอกัน การตะไบฮัมพ์อาจไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม และหากฝืนตะไบฮัมพ์กับทรงจมูกแบบนี้ ก็อาจทำให้จมูกเสียทรงกว่าเดิมได้ จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เสียก่อนถึงวิธีการปรับทรงจมูกที่เหมาะสม
ตะไบฮัมพ์เจ็บไหม?
ขั้นตอนการตะไบฮัมพ์ มีกระบวนการที่คล้ายคลึงกับการศัลยกรรมเสริมจมูก นั่นคือ มีการฉีดยาชาก่อนเริ่มการผ่าตัด ซึ่งจะทำให้ผู้เข้ารับบริการไม่มีความรู้สึกใดๆ ในระหว่างแพทย์ทำหัตถการ ดังนั้นผู้เข้ารับบริการจึงจะไม่รู้สึกเจ็บระหว่างตะไบฮัมพ์แต่อย่างใด
นอกจากนี้ ที่ Better Me Clinic by Dr.Chanya ยังมีเทคนิคการฉีดยาชาที่ไม่ทำให้ผู้เข้ารับบริการรู้สึกเจ็บระหว่างแพทย์ลงเข็มฉีดยาอีกด้วย เพียงแต่ในระหว่างที่แพทย์ตะไบฮัมพ์ ก็อาจมีความรู้สึกตึงแน่นจมูกได้บ้างเล็กน้อย
ตะไบฮัมพ์อันตรายไหม?
การตะไบฮัมพ์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยกรรมใบหน้า ไม่ได้สร้างอันตรายหรือผลข้างเคียงใดๆ ต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังจะทำให้ทรงจมูกของผู้เข้ารับบริการมีมิติสวยงามขึ้นในทุกองศาอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการพึ่งพาความเชี่ยวชาญจากแพทย์แล้ว การลดโอกาสผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการตะไบฮัมพ์ ก็ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เข้ารับบริการในการดูแลแผลหลังผ่าตัด และปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วย
ข้อดีของการตะไบฮัมพ์
- เสริมมิติของสันจมูกให้ลาดลงอย่างเรียบตรงที่สุด ไม่มีมิติโค้งนูน
- เสริมให้ผลลัพธ์หลังการเสริมจมูกเป็นไปอย่างที่ผู้เข้ารับบริการต้องการมากที่สุด
- ลดโอกาสซิลิโคนลอย เบี้ยว หรือไหลจนจมูกทะลุภายหลังเสริมจมูก
- เสริมบุคลิกของใบหน้าให้ดูอ่อนหวาน ดูละมุนอ่อนโยนมากขึ้น
- เสริมโหง่วเฮ้งให้ใบหน้า
- สามารถตะไบฮัมพ์อย่างเดียวเพื่อปรับรูปทรงจมูกได้ ไม่จำเป็นต้องทำคู่กับการเสริมจมูกเสมอไป
ข้อจำกัดของการตะไบฮัมพ์มากเกินไป
การตะไบฮัมพ์จะต้องมีการตะไบกระดูกออกอย่างพอดีและไม่มากจนเกินไป มิเช่นนั้นอาจส่งผลต่อโครงสร้างจมูกเดิม รวมถึงส่งผลข้างเคียงต่อการใส่ซิลิโคนเสริมจมูกในภายหลังได้ โดยตัวอย่างผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการตะไบฮัมพ์มากเกินไป ได้แก่
- เกิดอาการบวมสะสม ทำให้แผลผ่าตัดไม่ยุบตัว แม้จะผ่าตัดเสร็จสิ้นไปนานแล้ว
- ทำให้มีอาการปวดแผลมากกว่าปกติ
- เนื้อเยื่อกระดูกเกิดการบาดเจ็บ หรือติดเชื้อ
- ทำให้สันจมูกยุบตัว
- โพรงจมูกแคบเล็กลง ทำให้หายใจลำบากขึ้น
- เกิดปัญหาซิลิโคนลอยหลังเสริมจมูก
การตอกฐานกับการตะไบฮัมพ์เหมือนกันไหม?
การตอกฐานจมูก (Nose Osteotomy) และการฮัมพ์จมูก มีจุดมุ่งหมายที่คล้ายกันคือ เพื่อลดมิติของสันจมูกให้ดูเหมาะสมกับโครงหน้า เพียงแต่ทั้ง 2 วิธีนี้มีกระบวนการและกลุ่มผู้เข้ารับบริการต่างกัน
- การฮัมพ์จมูก เป็นเพียงการตะไบเนื้อกระดูกออกส่วนหนึ่งเท่านั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีฮัมพ์จมูกเล็ก ไม่ได้นูนหรือมีขนาดใหญ่มาก
- การตอกฐานจมูก เป็นการใช้เครื่องตอกบีบฮัมพ์จมูกทั้ง 2 ข้าง ทำให้กระดูกฐานจมูกแคบเล็กลง และมีขนาดเรียวพอดีกับองค์ประกอบใบหน้า รวมถึงฐานจมูกมีความเรียบ ไม่งุ้มงอ เหมาะสำหรับผู้ที่มีฮัมพ์จมูกขนาดใหญ่ กระดูกฐานจมูกหนาหรือกว้างมาก
การเตรียมตัวก่อนตะไบฮัมพ์
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการผ่าตัดตะไบฮัมพ์จมูกที่เหมาะสม รวมถึงแผนการเสริมจมูก ในกรณีที่ต้องการผ่าตัดไปด้วยในครั้งเดียวกัน
- แจ้งโรคประจำตัว ประวัติสุขภาพ ประวัติแพ้ยา รายการยาประจำตัว วิตามินเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
- งดยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด ยาละลายลิ่มเลือด รวมถึงรายการยาอื่นๆ ตามที่แพทย์แนะนำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่และงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
- พักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนถึงวันเข้ารับบริการ
ขั้นตอนการตะไบฮัมพ์
การตะไบฮัมพ์มักเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ทำร่วมกับการศัลยกรรมเสริมจมูกในครั้งเดียวกัน หรือจะผ่าตัดเพื่อตะไบฮัมพ์เพียงอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- แพทย์ทำความสะอาดผิวจมูกด้านนอก รวมถึงผิวรอบๆ บริเวณที่จะผ่าตัด ตามด้วยการฉีดยาชา ในผู้เข้ารับบริการบางท่าน อาจมีการทายาชาให้ก่อนฉีดยาชา เพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บระหว่างที่ใช้เข็มลงยา
- ผู้เข้ารับบริการนอนลงกับเตียง แพทย์จะใช้ผ้าผ่าตัดปิดหน้า เหลือช่องไว้ตรงตำแหน่งจมูก
- แพทย์เริ่มผ่าตัดเปิดแผลขนาดเล็กด้านในรูจมูก แล้วสอดอุปกรณ์เป็นแท่งตะไบขนาดเล็ก เข้าไปขัดตกแต่งผิวฮัมพ์จมูกให้เรียบตามแผนการผ่าตัด
- หลังจากฮัมพ์จมูกแล้ว หากผู้เข้ารับบริการมีการเสริมจมูกด้วย แพทย์จะใส่ซิลิโคนติดลงไปยังสันจมูกที่ตะไบฮัมพ์เรียบร้อยแล้ว
- แพทย์เย็บปิดแผล
การดูแลตนเองหลังตะไบฮัมพ์
- อย่าให้แผลโดนน้ำ 1-2 สัปดาห์ แต่ให้ทำความสะอาดแผลด้วยการใช้สำลีชุบน้ำเกลือแล้วเช็ดที่แผลเบาๆ
- 48 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด ให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม
- หลังผ่านไป 3 วันหลังผ่าตัด ให้เปลี่ยนเป็นประคบอุ่นอย่างสม่ำเสมอ แต่ให้ระมัดระวังอย่าให้แผลได้รับความร้อนเกินไป
- 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ให้นอนหมอนสูง
- งดการกด แกะ หรือสัมผัสแผล รวมถึงระมัดระวังอย่าให้จมูกได้รับแรงกระทบกระเทือน
- งดกินอาหารหมักดอง อาหารปิ้งย่าง อาหารทะเล อาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ เพื่อเร่งให้แผลฟื้นตัวเร็วขึ้น
- กลับมาตรวจเช็กแผลกับแพทย์ตามนัดหมายทุกอย่าง
ตะไบฮัมพ์ที่ไหนดี?
Better Me Clinic By Dr. Chanya พร้อมเป็นผู้ช่วยเปลี่ยนทรงจมูกทุกรูปแบบให้กับคุณ ไม่ว่าจะปัญหาจมูกงอ งุ้ม หรือไม่สโลปอย่างเรียบเนียนจากฮัมพ์จมูกแบบไหน เราก็สามารถตะไบฮัมพ์แก้ไขให้คุณได้อย่างมืออาชีพ นอกจากนี้แผลยังเล็ก ไม่เจ็บ สามารถกลับออกไปจากคลินิกได้อย่างมั่นใจ ไร้กังวลเรื่องแผลผ่าตัด
ที่ Better Me Clinic By Dr. Chanya ใช้เทคนิคการตะไบฮัมพ์แบบ Gentle Rasping ซึ่งเป็นเทคนิคการตะไบฮัมพ์ที่ทำให้แผลบวมน้อย ฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็ว
ทางคลินิกยังมีเทคนิคการฉีดยาชาแบบ Distraction Technique with GCT ซึ่งช่วยลดอาการเจ็บระหว่างใช้เข็มลงยาให้กับผู้เข้ารับบริการ และยังมีเทคนิคการเย็บแผลแบบ Chanya’s Suture 4D lock ซึ่งช่วยลดรอยแผลเป็น ทำให้แผลผ่าตัดหลังเย็บดูเรียบเนียน ยากต่อการสังเกตเห็น
ทีมแพทย์ที่ Better Me Clinic By Dr. Chanya เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยกรรมที่มีประสบการณ์ดูแลความงามมาแล้วกว่าหมื่นเคส สามารถให้คำแนะนำ ตรวจประเมิน และช่วยวางแผนการผ่าตัดแบบเคสต่อเคสได้อย่างชำนาญ เพื่อให้คุณได้ทรงจมูกที่สวยในทุกมุม จะเป็นมุมข้าง หน้าตรง หรือหันหน้าด้านไหน จมูกก็ยังโด่งสวยอย่างมั่นใจ
ตะไบฮัมพ์ปรับมิติจมูกของคุณให้เข้ากับรูปหน้า เปลี่ยนสันจมูกที่งุ้มหรืองอให้กลายเป็นสันที่โด่งอย่างเรียบเนียน และเป็นธรรมชาติ ด้วยบริการเสริมจมูกจาก Better Me Clinic By Dr. Chanya
สอบถามข้อมูลบริการตะไบฮัมพ์ บริการเสริมจมูก ตอกฐานจมูก หรือบริการเสริมความงามด้านอื่นๆ ได้ผ่านทางช่องทางต่อไปนี้
ที่มาของข้อมูล
- Dr. SEDGH Facial Plastic Surgery ,WHY DO I HAVE A NOSE HUMP? (https://www.sedghplasticsurgery.com/blog/why-do-i-have-a-nose-hump/), 26 August 2023.
- Healthline, All About Dorsal Humps: Causes and Removal Options (https://www.healthline.com/health/dorsal-hump), 26 August 2023.
- STEIGER FACIAL PLASTIC SURGERY, Rhinoplasty- What is a nasal hump and how is it removed? (https://drsteiger.com/south-florida-rhinoplasty-what-is-a-nasal-hump/), 26 August 2023.
- The Naderi Center, Removing a Dorsal Hump with Rhinoplasty Surgery in Virginia, Washington D.C. and Maryland (https://www.virginiafacialplasticsurgery.com/blog/removing-dorsal-hump-rhinoplasty-surgery), 26 August 2023.