เปิดสาเหตุตัวการฝ้ากระ ปัญหากวนใจที่ต้องรีบจัดการ
ดูแลผิวหน้าทุกวิธี แต่อยู่ดี ๆ ก็เป็นรอยปื้น ๆ สีน้ำตาล หลายคนเกิดปัญหาฝ้า กระ แบบไม่คาดคิดเพราะคิดว่าตัวเองดูแลผิวหน้าดีอยู่แล้วโดยไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดฝ้า กระ เมื่อรู้ตัวอีกทีอาจมีฝ้า กระ เกิดขึ้นแล้วบนใบหน้า แต่ปัญหาเหล่านี้จะไม่สายเกินแก้ถ้าได้อ่านบทความนี้!
ฝ้า กระ เป็นหนึ่งตัวการสำคัญที่ทำให้สูญเสียความมั่นใจ แน่นอนว่าอายุก็เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดฝ้า กระ แต่การดูแลและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เร่งให้เกิดฝ้ากระนั้นถือเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจและควรได้รับการดูแลตั้งแต่เริ่มต้น
สำหรับใครที่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นรักษาฝ้า กระ อย่างไรให้เห็นผล อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่าจุดเริ่มต้นและสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดฝ้ากระคืออะไร? และใช่อายุจริงหรือไม่? พร้อมทราบถึงวิธีการป้องกันให้หายและไม่กลับมาเป็นซ้ำในระยะยาว
ฝ้าคืออะไร?
ฝ้า (Melasma) คือ ลักษณะของสีผิวที่คล้ำ ดำ เป็นปื้น เกิดจากภาวะที่เซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocytes) ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเมลานินสามารถทำงานหนักขึ้น เป็นผลมาจากสาเหตุต่าง ๆ ทำให้บริเวณที่ได้รับการกระตุ้นจะมีผิวที่เข้มกว่าผิวบริเวณอื่นๆ โดยอาจเกิดเป็นสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้ม ในบางรายที่ได้รับการกระตุ้นมากๆ อาจเกิดเป็นรอยปื้นสีดำได้
การเกิดฝ้ามักพบได้บ่อยในบริเวณที่ผิวหนังได้รับแสงแดดมากเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่จะพบที่ใบหน้า เช่น ในบริเวณหน้าผาก แก้ม จมูก ผิวเหนือริมฝีปากบน และกราม เป็นต้น ความชุ่มชื้นของอากาศและปัจจัยที่ทำให้ผิวหนังแห้งเสียเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เม็ดสีทำงานมากขึ้นได้เช่นกัน
ฝ้ามักเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีอายุระหว่าง 30-40 ปี แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดฝ้าได้ เช่น พันธุกรรม การใช้สารเคมีบางชนิด หรือลักษณะของผิวที่ไวต่อแสงแดด
โดยปัจจุบันพบว่าผู้ที่มีผิวเข้มมีโอกาสเกิดฝ้าได้มากกว่าคนที่มีผิวขาว รวมทั้งฝ้าสามารถพบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงในอัตราส่วนที่ไม่ต่างกันมากนัก
ลักษณะของฝ้า
- รอยปื้นบนผิวหนังเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของฝ้า ลักษณะของรอยจะมีสีเข้มและเปลี่ยนสี โดยมีสีน้ำตาล เทา หรือสีแทน
- ตำแหน่งของฝ้า ฝ้ามักปรากฏบนใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณแก้ม หน้าผาก จมูก ริมฝีปากบน และคาง
- ฝ้ามักเกิดขึ้นทั้งสองด้านของใบหน้าและมักจะสมมาตรกัน
- แผ่นฝ้าบริเวณใบหน้าอาจมีสีที่เข้มขึ้นเมื่อสัมผัสกับแสงแดด
8 สาเหตุของการเกิดฝ้า
หลายคนมีความเชื่อว่ามีเพียงอายุเท่าที่สามารถทำให้เกิดฝ้ากระได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดเพราะฝ้าอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด สามารถพบได้ในชีวิตประจำวันโดยแยกสาเหตุของการเกิดฝ้าได้ดังนี้
1. พันธุกรรม
ฝ้าจากพันธุกรรมเป็นภาวะที่สืบทอดกันมาจากพันธุกรรมของสมาชิกในครอบครัว หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นฝ้า เราก็มีโอกาสที่จะเป็นฝ้าได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้พันธุกรรมมีบทบาทของการเกิดฝ้าเพียง 50% เท่านั้น
2. อายุที่เพิ่มขึ้น
การเกิดฝ้าจากอายุที่เพิ่มขึ้นเป็นสภาวะที่พบได้บ่อย โดยเกิดจากการสะสมของเมลานินที่ผิวหนังในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดมาเป็นเวลานาน ทำให้ผิวบริเวณนั้นค่อยๆ เกิดเป็นปื้นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ
3. ฮอร์โมน
ฝ้ามักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ระดับฮอร์โมนของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ช่วงวัยรุ่น การตั้งครรภ์ หรือการใช้ยาที่มีผลต่อระดับฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด
4. ความเครียด
การมีความเครียดสะสมจะส่งผลโดยรวมต่อร่างกาย ร่ายกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมาช่วยกระตุ้นการผลิตเม็ดสีเมลานิน เกิดเป็นปัญหาฝ้า กระ บริเวณผิวหน้า
5. การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
การนอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลทำให้เกิดฝ้าได้ง่ายขึ้น เนื่องจากในขณะหลับร่างกายจะทำการผลัดเซลล์ผิวเก่าและสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาทดแทน การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ผิวขาดการซ่อมแซมในขณะหลับ รวมทั้งการนอนดึกจะส่งผลให้ผิวขาดน้ำและดูหยาบกร้านซึ่งเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดฝ้า กระ ได้ง่ายอีกด้วย
6. แสงแดด
แสงอัลตราไวโอเลต UV ทั้ง A (UVA) และ B (UVB) ที่มีอยู่ในแสงแดดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดฝ้า ฝ้า โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ฝ้าแดด (Sunspots)” เกิดจากจากการสะสมของเมลานินในผิวคล้ายกับสาเหตุของฝ้าที่เกิดจากอายุ แต่สามารถเกิดขึ้นได้แม้อายุจะยังน้อย
7. แสงสีฟ้าจากหน้าจอ
การใช้หน้าจอในระยะเวลานานๆ อาจทำให้ผิวหนังได้รับแสงสีฟ้าตลอดเวลาเกิดเป็นความร้อนสะสมบริเวณผิวหน้ากระตุ้นการผลิตเม็ดสีเมลานินทำให้เกิดเป็นฝ้าได้ในที่สุด
8. การแพ้สาร
ฝ้าที่เกิดจากการแพ้สาร เช่น สารเคมีที่ใช้ในเครื่องสำอาง ยา สารละลาย หรือสารเคมีในงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้การสัมผัสกับพืชหรือสิ่งแวดล้อมที่มีสารที่ส่งผลต่อผิวหนังก็สามารถทำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน
ฝ้ามีกี่ประเภท?
ฝ้าเป็นง่ายแต่หายยากหลายคนหายแล้วแต่ก็กลับมาเป็นซ้ำอีก โดนการรักษาจะแยกออกไปตามประเภทที่เป็น ฝ้าสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. ฝ้าตื้น
ฝ้าแบบตื้นจะอยู่ในระดับผิวหนังกำพร้าหรือบริเวณผิวชั้นนอก มีสีน้ำตาลขอบเข้มชัด ลักษณะของแผ่นฝ้าจะมีความสมมาตรกันทั้ง 2 ด้านของหน้า ฝ้าตื้นเป็นประเภทที่รักษาได้ง่ายโดยการกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวในเซลล์ผิวชั้นนอก
2. ฝ้าลึก
ฝ้าแบบลึกจะเกิดในระดับชั้นผิวหนังแท้ที่อยู่ลึกกว่าผิวหนังกำพร้า มีสีน้ำตาลอมม่วงขอบของการเกิดฝ้าไม่ชัดเจนเนื่องจากเกิดขึ้นในบริเวณผิวชั้นลึก รักษาได้ยากกว่าฝ้าตื้น
3. ฝ้าผสม
ฝ้าแบบผสมจะเป็นฝ้าที่ผสมกันระหว่างฝ้าลึกกับฝ้าตื้น ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ฝ้าผสมจะเกิดขึ้นในชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้รวมกัน มักมีสีเข้มในส่วนกลางและสีจางกว่าที่ขอบ พบบ่อยที่บริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด
ฝ้าแบบผสมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอาจมีการเพิ่มขนาดหรือเปลี่ยนแปลงของสีฝ้าเกิดขึ้น
กระคืออะไร?
กระ (Freckles) คือ การสะสมของเม็ดสีเมลานินในผิวหนัง ซึ่งเมลานินมีหน้าที่ผลิตสีในผิวหนังและเป็นตัวกันแดดซึ่งช่วยปกป้องผิวหนังจากรังสี UV ของแสงแดด กระมีลักษณะเป็นจุดๆ เล็กๆ กระจายตัวอยู่บริเวณผิว สีของกระจะแยกตามประเภทของกระที่เป็นโดยประเภทของกระที่พบได้บ่อยได้แก่ กระตื้น กระลึก กระแดด เป็นต้น การเกิดกระมักพบในคนผิวขาวมากกว่าคนมีผิวสีเข้ม
3 สาเหตุของการเกิดกระ
1. พันธุกรรม
การมีกระมักเป็นเรื่องที่ถูกสืบทอดมาจากพ่อแม่ถ้าในครอบครัวมีคนที่มีกระก็จะทำให้สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสเป็นกระกระได้มากกว่าคนทั่วไป
2. แสงแดด
การสัมผัสแสงแดดมักเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดกระ รังสี UV ที่มีในแสงแดดสามารถกระตุ้นการสร้างเมลานินในผิวหนังกระตุ้นการเกิดกระ
3. อายุ
การเกิดกระจะมีมากขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นเนื่องจากผิวหนังที่ได้รับแสงแดดตลอดเกิดการสะสมของเม็ดสีเมลานินและเกิดเป็นกระในที่สุดเมื่อมีอายุที่เพิ่มขึ้น
ลักษณะของกระ
- กระจะเป็นจุดกลมๆ แบนๆ ขนาดเล็ก
- กระจะเกิดขึ้นแบบสุ่มกระจายบนผิวหนังหรือใบหน้า
- กระจะยิ่งชัดขึ้นหลังจากได้รับแสงแดดซ้ำๆ ในบริเวณเดิม
- กระมีสีแตกต่างกันไปอาจเป็นสีแดง เหลือง น้ำตาลอ่อน น้ำตาลเข้ม หรือดำ แต่สีของกระจะเข้มกว่าผิวหนังที่อยู่รอบๆ เสมอ
ฝ้า กระ จุดด่างดำ แตกต่างกันอย่างไร?
ไม่ว่าจะเป็น ฝ้า กระ หรือจุดด่างดำก็สามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของผิวหน้าด้วยกันทั้งสิ้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าตัวการร้ายที่ทำให้เกิด ฝ้า กระ จุดด่างดำ คือแสงแดด รังสี UV จากแสงแดดล้วนเป็นต้นเหตุของการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำด้วยกันทั้งสิ้น
Better Me Clinic ได้นำข้อสังเกตง่าย ๆ ในการแยกความแตกต่างระหว่างฝ้า กระ จุดด่างดำ โดยสามารถแบ่งรายละเอียดแต่ละประเภทได้ดังนี้
- ฝ้า จะมีลักษณะเป็นปื้นๆ สีน้ำตาลและมีขนาดใหญ่กว่ากระและจุดด่างดำ ขอบของฝ้าขึ้นอยู่กับชนิดของฝ้าที่เป็น สามารถพบได้ในคนที่มีผิวสีเข้มมากกว่าคนที่มีผิวขาว
- กระ จะมีลักษณะการเกิดเหมือนกันกับการเกิดฝ้าแต่กระจะเป็นจุดกลมๆ เล็กๆ มีขอบชัดเจน พบได้ในคนที่มีผิวขาวมากกว่าคนที่มีผิวสีเข้ม
- จุดด่างดำ คือ จุดเล็กๆ สีน้ำตาลเข้มไปจนถึงดำ หรือลักษณะของรอยแดงที่เปลี่ยนเป็นรอยดำบนใบหน้า มักเกิดขึ้นหลังจากมีผิวหนังที่อักเสบจากการเป็นสิว รวมถึงการผลัดเซลล์ผิวช้าลงเกิดการสะสมของเม็ดสีเมลานินเกิดเป็นจุดด่างดำบนใบหน้า
วิธีป้องกันฝ้า กระ
ฝ้า กระ จะเกิดขึ้นได้เสมอถ้าเราละเลยการดูแลผิวและสุขภาพโดยรวมของร่างกาย การดูแลสุขภาพและปกป้องผิวตั้งแต่ต้นจะช่วยชะลอและปกป้องผิวจากการเกิดฝ้ากระในระยะยาว โดยมีวิธีป้องกัน ฝ้า กระ ได้ดังนี้
1. ทาครีมกันแดด
การใช้ครีมกันแดดเปรียบเสมือนการสวมเกราะป้องกันให้กับใบหน้าไม่ให้สัมผัสกับแสง UV ได้โดยตรง การเลือกครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพทั้ง UVA และ UVB และใช้ประจำทุกวันจะช่วยปกป้องและลดความเสี่ยงของการเกิดฝ้ากระในอนาคตได้
2. หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด
หลีกเลี่ยงการอยู่ในแสงแดดที่มีรังสี UV แรง โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10 โมงเช้าถึงเวลา 4 โมงเย็นเพราะเป็นช่วงเวลาที่แสงแดดมีระดับความร้อนและรังสี UV สูงสุด
3. ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่อ่อนโยน
การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและบำรุงผิวหน้าที่เหมาะสมและอ่อนโยนสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดฝ้ากระได้เช่นกัน ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการทดสอบและเหมาะสมกับสภาพผิวของตนเอง
การเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากว่านหางจระเข้จะช่วยบำรุงผิวหน้าให้ชุ่มชื้นทั้งยังช่วยลดการระคายเคืองของผิวจากแสงยูวี
4. หลีกเลี่ยงสารเคมีในเครื่องสำอาง
หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีสารเคมีบางชนิด ซึ่งสารเคมีที่พบได้บ่อยในเครื่องสำอาง ได้แก่ สารกันบูด สารปรอท ตะกั่ว หรือสารสเตียรอยด์ อาจมีผลในการ กระตุ้นการเกิดฝ้า กระ
5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและผิวพรรณการนอนไม่เพียงพออาจมีผลต่อระบบฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้เกิดผลกระทบต่อผิว ดังนั้นการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรทำเพื่อให้หน้าใสห่างไกลฝ้ากระ
รวมวิธีรักษาฝ้า กระ
หลายคนที่มีปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ แต่ไม่รู้จะรักษาด้วยวิธีไหนดี? Better Me Clinic ได้รวบรวมวิธีการรักษาฝ้ากระในปัจจุบันมาแนะนำให้ได้รู้จักกันซึ่งผลลัพธ์ของแต่ละวิธีนั้นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของฝ้ากระ ความเข้มของฝ้ากระ รวมถึงสภาพผิวของแต่ละบุคคล
1. การฉีดเมโส
การฉีดเมโสรักษาฝ้ากระเป็นการฉีดวิตามินเข้าไปในผิวหนังบริเวณผิวหน้าเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น ลดริ้วรอย และกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนในผิวหนัง Meso Glow Booster เป็นสูตรเมโสที่ช่วยให้ผิวแข็งแรงขึ้นพร้อมฟื้นฟูและทำให้ผิวหนังดูกระจ่างใสช่วยลดปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำให้ดูจางลง การรักษาฝ้ากระด้วยเมโสต้องอาศัยระยะเวลาและความสม่ำเสมอขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์
2. การทำทรีตเมนต์ผิวหน้า
การทำทรีตเมนต์ผิวหน้าที่ Better Me Clinic เป็นการผลักวิตามินร่วมกับการนวดกดจุดตามจุดยุทธศาสตร์ของใบหน้า ด้วยเครื่องความเย็น -5 องศา โดยสูตรที่แนะนำสำหรับผู้ที่มีปัญหาฝ้ากระ ได้แก่ สูตร Melasma Treatment โดยสูตรนี้จะตอบโจทย์สำหรับผู้ที่มีปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ มีส่วนผสมของ Alpha Arbutin เข้มข้น
3. เลเซอร์รักษาฝ้า
การรักษาฝ้ากระด้วยเลเซอร์เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เห็นผลได้อย่างรวดเร็ว เลเซอร์จะช่วยลดความเข้มของฝ้ากระและช่วยลดการเกิดฝ้าดำและช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวใหม่ให้กับผิวหน้า โดยวิธีการคือการยิงไปบริเวณที่เกิดฝ้าและทำลายเม็ดสีด้วยความร้อน
4. รักษาฝ้าด้วย IPL
การรักษาฝ้ากระด้วย IPL (Intense Pulsed Light) เป็นอีกหนึ่งทางที่นิยมรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ เป็นเทคโนโลยีการรักษาที่ใกล้เคียงกับการทำเลเซอร์แต่กระบวนการการรักษาฝ้าด้วย IPL นั้นใช้หลักการของแสงที่ถูกปรับคลื่นและพลังงานเพื่อทำลายเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ในฝ้าหรือกระ โดยที่ผิวรอบๆไม่ได้รับความเสียหายจากการรักษาส่งผลรอยดำหรือฝ้าลดลง
รักษาฝ้า กระ ที่ไหนดี?
การพบเจอแสงที่มากเกินไปในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็น แสงแดด รังสี UV หรือแสงสีฟ้าจากหน้าจอ ล้วนเป็นต้นเหตุของปัญหาผิวฝ้ากระ ดังนั้นก่อนออกแสงแดดทุกครั้งเราควรปกป้องตัวเองด้วยการ ทาครีมกันแดด กางร่ม สวมเสื้อคลุม เพื่อป้องกันตนเองจากแสงแดดให้มากที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดฝ้าในอนาคต
Better Me Clinic by Dr.Chanya ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับฝ้า กระ จุดด่างดำ
สอบถามเพิ่มเติม
โทร: 020598118, 0886032641
Line: @bettermeclinic
Facebook : Better Me Clinic by Dr.Chanya
IG : Better Me Clinic by Dr.Chanya
ที่มาของข้อมูล
- รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, การปฏิบัติตนในการรักษาฝ้า กระ หรือรอยดำ, (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=642), 28 Sep 2023.
- รศ. นพ.วาสนภ วชิรมน, ฝ้า, (https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/01232020-1546), 28 Sep 2023.
- รศ. พญ.เพ็ญพรรณ วัฒนไกร, ทําอย่างไรให้ไร้ “ฝ้า”, (https://www.rama.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/28oct2020-1133), 28 Sep 2023.
- รศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา, ฝ้า (Melasma), (https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=1003), 28 Sep 2023.
- ผศ.พญ.มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์, ปัจจัยเสี่ยง ฝ้า กระ จุดด่างดำ, (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ปัจจัยเสี่ยง-ฝ้า-กระ-จุด/), 28 Sep 2023.
- VOGUE BEAUTY, ฝ้า กระ จุดด่างดำ แตกต่างกันอย่างไร รู้ไว้แก้ได้ไว รักษาได้ตรงจุด, (https://vogue.co.th/beauty/what-are-blemishes), 28 Sep 2023.
- Dr. Dhanraj Chavan, Understanding the Difference Between Freckles and Melasma, (https://www.clearskin.in/blog/understanding-the-difference-between-freckles-and-melasma/), 28 Sep 2023.
- Dr. Dhanraj Chavan, What is Melasma – A Complete Guide, (https://www.clearskin.in/blog/what-is-melasma-a-complete-guide/), 28 Sep 2023
- Stamford Skin Center, Melasma, Freckle And Nevus Of Hori & Ota, (https://stamfordskin.com/en/news/50019/), 28 Sep 2023.
- AE Skin, Can I Treat My Melasma but Keep My Freckles?, (https://www.aeskin.com/blog/311612-can-i-treat-my-melasma-but-keep-my-freckles/), 28 Sep 2023.