fbpx

🔥FREE! Schedule a 3D Facial Design consultation with Dr.Chanya only this month 🇺🇸 🇰🇷 🔥

ผิวผสมไม่ใช่ปัญหา! เปิดโพยคู่มือดูแลผิวผสมฉบับละเอียด

รอยแตกลายไม่ใช่ปัญหา! เผยวิธีลดรอยแตกลายให้เห็นผล
รอยแตกลายไม่ใช่ปัญหา! เผยวิธีลดรอยแตกลายให้เห็นผล

รอยแตกลาย หนึ่งในปัญหากวนใจที่ใครหลายคนต้องเผชิญ ถึงแม้จะไม่กระทบต่อสุขภาพ แต่ก็เป็นปัญหาที่ทำให้หลายคนเสียความมั่นใจไปไม่น้อย แต่คุณรู้หรือไม่ว่ารอยแตกลายสามารถดูแลรักษาให้จางลงได้หากรักษาอย่างถูกวิธี

ในบทความนี้ Better Me Clinic จะมาเผยเคล็ดลับและวิธีดูแลรักษารอยแตกลายให้จางลง เพื่อที่คุณจะได้มีผิวที่เรียบเนียน เรียกคืนความมั่นใจกลับมาได้อีกครั้ง!

รอยแตกลายคืออะไร?

รอยแตกลาย (Stretch Marks หรือ Striae) คือ รอยแผลเป็นชนิดหนึ่งที่พบได้มากในบริเวณที่มีการสะสมของไขมัน เช่น หน้าอก, หน้าท้อง, ต้นแขน หรือต้นขา โดยในระยะแรก รอยแตกมักจะมีสีแดง สีชมพู หรือสีม่วงที่สังเกตเห็นได้ชัด แต่เมื่อเวลาผ่านไป สีของรอยแตกจะค่อย ๆ จางลงจนกลายเป็นสีขาว โดยจะขึ้นอยู่กับสีผิวของแต่ละบุคคล

รอยแตกลายเกิดจากอะไร?

รอยแตกลายเกิดจากการที่ผิวหนังถูกยืดหรือขยายตัวออกอย่างรวดเร็วจนโครงสร้างเส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นผิวหนังแท้ (Dermis) รับไม่ไหว ส่งผลให้เกิดการฉีกขาดของเส้นใยและปรากฏเป็นรอยแตกบนผิวหนังขึ้นมา ซึ่งรอยแตกลายสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

  • การตั้งครรภ์: เนื่องจากผิวหนังบริเวณหน้าท้องต้องยืดออกเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารก รวมถึงผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนสูง ซึ่งฮอร์โมนบางชนิดอาจทำให้ความยืดหยุ่นของผิวหนังลดลงได้ ส่งผลให้เกิดรอยแตกลายง่ายขึ้น
  • การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว: การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้ผิวหนังต้องยืดหรือหดตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หากคอลลาเจนและอีลาสตินในผิวหนังปรับตัวไม่ทัน เส้นใยเหล่านี้ก็อาจฉีกขาดและก่อให้เกิดรอยแตกขึ้นมาได้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการสะสมไขมันมาก เช่น บริเวณหน้าท้อง, สะโพก และต้นขา
  • พันธุกรรม: หากสมาชิกในครอบครัวมีปัญหารอยแตกลาย คนรุ่นต่อไปก็อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดรอยแตกลายได้ง่ายเช่นกัน เนื่องจากพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดโครงสร้างผิวหนังและระดับความยืดหยุ่นของผิว
  • ฮอร์โมน: การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายสามารถส่งผลต่อความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของผิวหนังได้ โดยเฉพาะฮอร์โมนคอร์ติโซล (Cortisol) ที่จะหลั่งออกมามากเมื่อเกิดความเครียด ฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นและความแข็งแรงจนเกิดรอยแตกลายได้ง่าย
  • อายุ: ในช่วงอายุต่าง ๆ มีความเสี่ยงต่อการเกิดรอยแตกลายที่แตกต่างกัน สำหรับช่วงวัยรุ่น ร่างกายจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งส่วนสูง น้ำหนัก รวมถึงการขยายตัวของกล้ามเนื้อและไขมัน หากการทำงานของผิวหนังไม่สอดคล้องกับกระบวนการเจริญเติบโตก็อาจทำให้เกิดรอยแตกลายขึ้นได้ ในขณะที่ผู้สูงอายุ ความยืดหยุ่นของผิวจะลดลงตามธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดรอยแตกลายได้ง่ายแม้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดร่างกาย
  • การรับประทานยาบางชนิด: การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ที่ใช้ในการรักษาอาการอักเสบและภูมิแพ้ต่าง ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือทายาในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นบางลงและเกิดรอยแตกลายได้

รอยแตกลายมีกี่ประเภท?

รอยแตกลาย เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยลักษณะของรอยแตกลายนั้นสามารถแบ่งออกได้ตามระยะเวลาการเกิดและสีของรอย ซึ่งจะช่วยบ่งบอกถึงความรุนแรงและวิธีการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้ โดยทั่วไปแล้ว รอยแตกลายสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  • รอยแตกลายแดง (Striae Rubra) เป็นรอยแตกลายที่เกิดขึ้นหลังจากเส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินฉีกขาดได้ไม่นาน ทำให้เส้นเลือดใต้ผิวหนังในบริเวณนั้นยังเปิดอยู่และสามารถมองเห็นเส้นเลือดผ่านชั้นผิวหนังได้ โดยรอยแตกลายในระยะนี้อาจมีสีแดง สีชมพู หรือสีม่วง เมื่อใช้มือลูบจะรู้สึกได้ว่าผิวนูนขึ้นจากบริเวณอื่นเล็กน้อยและอาจมีอาการตึงหรือคันบริเวณผิวร่วมด้วย
  • รอยแตกลายขาว (Striae Alba) เป็นรอยแตกลายที่พัฒนามาจากรอยแตกลายแดง โดยสาเหตุที่รอยแตกลายเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีขาวเป็นเพราะว่าการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นลดลง รวมถึงเป็นผลมาจากกระบวนการซ่อมแซมของผิวในชั้นหนังแท้ ทำให้รอยแตกลายผลิตเมลานินออกมาได้น้อยกว่าบริเวณอื่น ๆ รอยแตกจึงมีสีขาวซีดหรือใกล้เคียงกับสีผิวเดิมแต่อาจดูจางลง รวมถึงอาจมีลักษณะที่ราบเรียบไปกับผิวหรือหากยุบตัวก็จะยุบตัวลงไปเพียงเล็กน้อย

วิธีรักษารอยแตกลาย

การรักษารอยแตกลายสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความรุนแรงของรอยแตกที่เกิดขึ้น โดยวิธีการรักษามีตั้งแต่การดูแลผิวด้วยตัวเอง ไปจนถึงวิธีลดรอยแตกลายด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนี้

1. การรักษารอยแตกลายด้วยวิธีธรรมชาติ

การรักษารอยแตกลายด้วยวิธีธรรมชาติเป็นอีกวิธีที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยและช่วยบำรุงผิวได้ในระยะยาว โดยวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการดูแลรักษาผิวแตกลาย มีดังนี้

  • น้ำมันบำรุงผิว: เช่น น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันอาร์แกน และน้ำมันโรสฮิป น้ำมันเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการอักเสบ และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้รอยแตกลายดูจางลงได้เมื่อใช้นวดเป็นประจำ
  • การนวดผิวด้วยสูตรธรรมชาติ: เช่น สครับน้ำผึ้งผสมน้ำตาล หรือโยเกิร์ตกับข้าวโอ๊ต ส่วนผสมเหล่านี้จะช่วยผลัดเซลล์ผิวและฟื้นฟูให้ผิวเรียบเนียนขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม การรักษารอยแตกลายด้วยวิธีธรรมชาติจะต้องอาศัยความสม่ำเสมอและใช้เวลานานกว่ารอยแตกจะจางลง หากมีปัญหารอยแตกลายลึกหรือเป็นมานานและต้องการเห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็วขึ้น การรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์อาจเหมาะสมกว่า

2. ครีมลดรอยแตกลาย

การทาครีมลดรอยแตกลายอาจเป็นวิธีแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง เนื่องจากเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์ดีและสามารถหาซื้อได้ง่าย แต่ถ้าหากต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีอาจต้องคำนึงถึงส่วนประกอบของครีมลดรอยด้วย โดยส่วนประกอบที่ควรมองหาหากต้องรักรอยแตกลาย มีดังนี้

  • อนุพันธ์วิตามินเอ (Retinoids) : เป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวใหม่และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในผิวหนัง เหมาะสำหรับการรักษารอยแตกที่เพิ่งเกิดหรือรอยแตกลายสีแดง อย่างไรก็ตาม การใช้วิตามินเอจำเป็นที่จะต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร เนื่องจากวิตามินเออาจทำให้ผิวบางลงได้
  • วิตามินอี (Vitamin E) : เนื่องจากวิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบและช่วยฟื้นฟูผิวที่เสียหายจากการยืดหรือขยายตัวได้ นอกจากนี้ วิตามินอียังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นของผิวหนัง ทำให้ผิวที่แตกกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
  • กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid) : กรดไฮยาลูโรนิกเป็นสารที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่ผิวมีความชุ่มชื้นจะช่วยให้โครงสร้างผิวแข็งแรงและยืดหยุ่นมากขึ้น ช่วยลดการระคายเคืองในรอยแตกลายสีแดง รวมถึงทำให้ผิวที่มีรอยแตกลายดูเรียบเนียนขึ้น
  • BHA (Beta Hydroxy Acid) : เป็นกรดที่มีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิว ลดการอักเสบ และกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ โดย BHA จะมีขนาดโมเลกุลที่เล็กมาก ทำให้สามารถซึมลงไปแก้ปัญหาผิวได้ดี เหมาะสำหรับผู้ที่มีรอยแตกลายที่มีการอักเสบหรือรอยแตกลายสีแดง
  • AHA (Alpha Hydroxy Acid) : เป็นกรดที่มาจากผลไม้ มีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอก ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวได้ และเมื่อใช้อย่างต่อเนื่อง AHA จะช่วยทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีรอยแตกลายสีขาว

3. การผลัดเซลล์ผิว

การผลัดเซลล์ผิว เป็นวิธีที่ช่วยลดรอยแตกลายได้โดยการกำจัดเซลล์ผิวเก่าและกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมา การใช้สารเคมีต่าง ๆ เช่น AHA หรือ BHA จะช่วยปรับสภาพผิวให้เรียบเนียนและลดความชัดของรอยแตกลายได้ โดยเฉพาะรอยแตกในระยะแรก 

อย่างไรก็ตาม การใช้สารเคมีเหล่านี้อาจทำให้ผิวไวต่อแสงและเกิดการระคายเคืองได้ง่าย ผู้ที่จะทำการผลัดเซลล์ผิวจึงควรเริ่มต้นจากความเข้มข้นต่ำและใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ โดยวิธีนี้จะเหมาะกับรอยแตกลายสีแดงมากกว่าสีขาว ซึ่งอาจต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เสริมเพื่อผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากขึ้น

สำหรับผู้ที่มีปัญหารอยแตกลายและสนใจรักษารอยแตกด้วยการผลัดเซลล์ผิว Better Me Clinic ขอแนะนำโปรแกรม Scar Peeling โปรแกรมที่มีส่วนช่วยในการผลัดเซลล์ผิวและแก้ไขปัญหารอยดำ รอยแดง รอยแผลเป็นจากสิว รวมถึงช่วยลดรอยแตกลายและรอยแผลเป็นตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายให้จางลง

ปรึกษาหมอชัญญาโดยตรง
ปรึกษาหมอชัญญาโดยตรง

4. การใช้เลเซอร์รักษารอยแตกลาย

การใช้เลเซอร์รักษารอยแตกลาย เป็นหนึ่งในวิธีลดรอยแตกด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยม โดยแพทย์จะปล่อยพลังงานเลเซอร์ลงไปบนผิวหนังเพื่อกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนและอีลาสตินออกมาซ่อมแซมตามกลไกธรรมชาติ รวมถึงจะช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวชั้นบน ทำให้รอยแตกลายดูจางลงและผิวที่เกิดใหม่ดูเรียบเนียนขึ้น

สำหรับเลเซอร์ที่นิยมนำมาใช้ในการรักษารอยแตกลาย มีดังนี้

  • เลเซอร์ Picosecond : เป็นเลเซอร์ที่มีค่าพลังงานสูง แต่ระยะเวลาในการปล่อยพลังงานสั้นมาก ทำให้มีความแม่นยำและลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงได้ โดยเลเซอร์ Picosecond จะเหมาะสำหรับการรักษารอยแตกลายที่ลึกหรือรอยแตกลายสีขาว
  • เลเซอร์ VBeam : เป็นเลเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยี Pulsed Dye Laser (PDL) ซึ่งจะปล่อยแสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นเฉพาะออกมาเพื่อทำลายเส้นเลือดและหลอดเลือดที่เป็นปัญหา โดยเลเซอร์ VBeam จะเหมาะกับรอยแตกลายสีแดงในระยะแรก เนื่องจากช่วยลดการอักเสบของเส้นเลือดใต้ผิวหนังและปรับสีผิวให้ดูสม่ำเสมอได้
  • เลเซอร์ Fractional CO2 : เลเซอร์ชนิดนี้จะสร้างจุดเล็ก ๆ บนผิวหนังหลายพันจุดเพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและช่วยผลัดเซลล์ผิวที่แตกลายให้ดูจางลง เหมาะสำหรับการรักษารอยแตกลายสีขาวที่ไม่ตอบสนองกับวิธีการรักษาอื่น ๆ

5. การรักษารอยแตกลายด้วยคลื่นวิทยุ

การรักษารอยแตกลายด้วยคลื่นวิทยุ (Radiofrequency: RF Therapy) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุปล่อยพลังงานลงไปที่ชั้นผิวเพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญที่ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่นและแข็งแรงขึ้น 

การรักษารอยแตกลายด้วยคลื่นวิทยุจึงเหมาะสำหรับการรักษารอยแตกลายสีขาวและปัญหาที่เกี่ยวกับความหย่อนคล้อยของผิว โดยเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดความชัดของรอยแตกด้วยการกระตุ้นการฟื้นฟูเนื้อเยื่อใหม่และปรับผิวให้ดูเรียบเนียนขึ้น อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ไม่ต้องพักฟื้นนานและเหมาะกับผู้ที่ต้องการเห็นผลลัพธ์ชัดเจน

วิธีป้องกันการเกิดรอยแตกลาย

วิธีป้องกันการเกิดรอยแตกลายสามารถทำได้ด้วยการดูแลรักษาผิวหนังให้มีความยืดหยุ่นและชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยสามารถทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรม การบำรุงผิว และการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม: การเพิ่มหรือลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผิวเกิดการยืดหดตัวอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดรอยแตกลายได้ง่าย เพราะฉะนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว: ผิวที่แห้งจะทำให้เกิดรอยแตกลายง่าย ควรทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูรอนิกหรือวิตามิน E เพื่อให้ผิวชุ่มชื้นและยืดหยุ่นมากขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีสารอาหารสำคัญ: ควรเพิ่มสารอาหารที่ช่วยบำรุงผิว เช่น โปรตีน, วิตามิน C, วิตามิน E และ Omega-3 เพื่อช่วยให้ผิวแข็งแรงและสร้างคอลลาเจนมากขึ้น รวมถึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณวันละ 8 แก้ว ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
  • ใช้ครีมป้องกันรอยแตกลาย: ควรทาครีมที่มีส่วนผสมในการช่วยป้องกันรอยแตกลาย โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์หรือตอนที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่รุนแรง: การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีที่รุนแรงและระคายเคืองต่อผิวอาจทำให้ผิวสูญเสียความยืดหยุ่นและเกิดรอยแตกได้ง่าย

สรุปเกี่ยวกับรอยแตกลาย

รอยแตกลาย เกิดจากการที่ผิวหนังยืดหรือหดตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินฉีกขาดจนกลายเป็นรอยแผลเป็นสีแดงหรือสีขาว ซึ่งรอยแตกลายนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย การดูแลผิวให้ชุ่มชื้นและยืดหยุ่นอยู่เสมอ รวมถึงการควบคุมน้ำหนักและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดรอยแตกลายลดลงได้

แต่ถ้าหากคุณต้องการดูแลรอยแตกลายด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ Better Me Clinic by Dr. Chanya เพื่อให้คุณหมอประเมินสภาพผิวและแนะนำหัตถการที่เหมาะสมแบบเคสบายเคสได้เลย สามารถติดต่อนัดหมายได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-059-8118, 088-603-2641 หรือไลน์ @bettermeclinic ปรึกษาคุณหมอฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับรองว่าคุณจะมีผิวสวย ๆ กลับบ้านไปอย่างแน่นอน!

  • Stretch Marks. (2024, April 30). NHS. https://www.nhs.uk/conditions/stretch-marks/ 
  • Stretch marks: Why they appear and how to get rid of them. (2024, November 24). American Academy of Dermatology Association. https://www.aad.org/public/cosmetic/scars-stretch-marks/stretch-marks-why-appear 
  • รวม 5 ชนิดเลเซอร์รอยแตกลาย พร้อมข้อดีและข้อเสีย. (24 พฤศจิกายน 2567). HDmall. https://hdmall.co.th/blog/c/stretch-mark-laser/ 

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อมอบบริการที่ดีที่สุดสำหรับคุณ