fbpx

🔥FREE! Schedule a 3D Facial Design consultation with Dr.Chanya only this month 🇺🇸 🇰🇷 🔥

เจาะลึกต้นตอ “สิวที่หลัง” ปัญหาใต้ร่มผ้าที่รบกวนความมั่นใจ

เจาะลึกต้นตอ “สิวที่หลัง” ปัญหาใต้ร่มผ้าที่รบกวนความมั่นใจ
เจาะลึกต้นตอ “สิวที่หลัง” ปัญหาใต้ร่มผ้าที่รบกวนความมั่นใจ

สิวที่หลัง ถึงแม้จะเป็นปัญหาที่อยู่ใต้ร่มผ้า แต่ก็สร้างความกังวลใจให้กับใครหลายคนไม่น้อย อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นซ้ำซาก ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการทำงานของฮอร์โมนและความอับชื้นจากการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

แต่รู้หรือไม่ว่าสิวเหล่านี้ไม่ต่างจากสิวบนใบหน้า ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีก็อาจทำให้อาการของสิวรุนแรงและยากต่อการรักษามากขึ้น Better Me Clinic จึงจะพาทุกคนมาทำความรู้จักสิวที่หลังแบบเจาะลึก พร้อมกับแนะนำวิธีรักษาสิวที่หลังอย่างถูกต้อง ถ้าพร้อมแล้วก็มาหาคำตอบได้ที่บทความนี้เลย!

สิวที่หลังคืออะไร? เกิดจากอะไร?

สิวที่หลัง (Back Acne หรือ Bacne) คือ ปัญหาผิวหนังที่เกิดขึ้นบริเวณแผ่นหลัง ซึ่งมีหลายลักษณะ อาจเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก ตุ่มนูนสีแดงที่สัมผัสแล้วเจ็บ สิวหัวขาว สิวหัวดำ หรือสิวผดที่มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ เกิดขึ้นบริเวณใต้ผิวหนังและยากต่อการสังเกต 

หลายคนอาจสงสัยว่าสิวที่หลังเกิดจากอะไร? ส่วนใหญ่แล้ว สิวที่หลังมักเกิดจากการจับตัวกันของสิ่งตกค้างบริเวณใต้ผิวหนังกับน้ำมันส่วนเกินของแผ่นหลัง จนทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนและเกิดเป็นสิวอุดตันขึ้น นอกจากนี้ สิวที่หลังยังเกิดขึ้นได้จากอีกหลายปัจจัย ดังนี้

  • กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีผิวมันหรือมีสิวเยอะ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใบหน้าหรือร่างกาย ก็มีโอกาสสูงที่คนในครอบครัวรุ่นถัดไปจะเกิดสิวได้ง่าย
  • ฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส่งผลต่อการผลิตน้ำมันในผิว โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นที่มีฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) เพิ่มขึ้น จึงกระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันมากขึ้นและเกิดการอุดตันของรูขุมขนได้ง่าย นอกจากนี้ ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงก่อนมีประจำเดือนหรืออยู่ระหว่างตั้งครรภ์ ก็อาจเกิดสิวที่หลังได้ง่ายเช่นกัน เนื่องจากฮอร์โมนแปรปรวนมาก
  • ความเครียด เป็นอีกหนึ่งอาการที่ทำให้ฮอร์โมนเกิดความผิดปกติ เมื่อเราเกิดความเครียดมาก ๆ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมา ซึ่งหากมีระดับคอร์ติซอลมากเกินไป ต่อมไขมันจะผลิตน้ำมันมากขึ้น ทำให้เกิดรูขุมขนอุดตัน และกลายเป็นสิวในที่สุด
  • การสะสมของเหงื่อไคลและสิ่งสกปรก เหงื่อไคลและสิ่งสกปรกนับเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดสิวที่หลัง โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวหรือหลังออกกำลังกาย หากไม่รีบทำความสะอาดร่างกาย ก็จะทำให้เหงื่อไคลและสิ่งสกปรกเหล่านี้รวมตัวกับฝุ่นละอองบนเสื้อผ้าและเกิดสิวที่หลังขึ้นได้
  • การสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป เสื้อผ้าเป็นสิ่งที่เสียดสีอยู่กับผิวของเราตลอดเวลา ยิ่งถ้าเนื้อผ้าระบายอากาศได้ไม่ดีพอ ก็จะยิ่งทำให้เกิดความอับชื้นและเกิดการสะสมของเหงื่อรวมถึงคราบไคลตามมา นอกจากนี้ การสะพายกระเป๋าเป้เป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรียจนเกิดสิวที่หลังได้
  • การรับประทานอาหารบางชนิด การรับประทานอาหารประเภทแป้ง ไขมัน หรือน้ำตาลมากเกินไป จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งอาจไปรบกวนการเผาผลาญไขมัน ทำให้ร่างกายผลิตน้ำมันบนผิวออกมามากผิดปกติ ง่ายต่อการดูดซับแบคทีเรียและเกิดสิวอุดตันได้ง่าย
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับผิว การดูแลผิวเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าหากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพผิว ก็อาจทำให้ผิวผลิตน้ำมันมากผิดปกติและนำมาสู่การเกิดสิวได้ ควรเลือกครีมอาบน้ำ ครีมกันแดด หรือครีมนวดผมที่มีความอ่อนโยนและไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน
  • ผลค้างเคียงจากการใช้ยา ยาบางชนิดส่งผลต่อฮอร์โมนและระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ยาคุมกำเนิด หรือยาสเตียรอยด์ ซึ่งจะทำให้การผลิตน้ำมันในผิวมากกว่าปกติจนเกิดสิวที่หลังได้

 

สิวที่หลังมีกี่ประเภท?

สิวที่หลังมีหลายประเภทและสามารถเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันได้ การเข้าใจประเภทของสิวที่ถูกต้องจะช่วยให้การรักษาสิวที่หลังมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงช่วยลดโอกาสการเกิดสิวซ้ำซากได้ โดยทั่วไปแล้ว สิวที่หลังสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1. สิวอุดตัน

สิวอุดตัน (Comedones) คือ สิวที่เกิดจากการจับตัวกันของสิ่งตกค้างบริเวณใต้ผิวหนังกับน้ำมันส่วนเกิน เมื่อสิ่งสกปรกเหล่านี้หมักหมมกันเป็นเวลานาน จะทำให้รูขุมขนไม่สามารถระบายของเสียออกมาได้ สิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงรวมตัวกันอยู่ใต้ผิวและเกิดการอุดตันในที่สุด

ลักษณะของสิวอุดตันที่พบได้บ่อย คือ สิวอุดตันหัวขาว (Whiteheads) มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีขาวขนาดเล็ก อาจสังเกตเห็นได้ยาก แต่หากสัมผัสแล้วจะรู้สึกถึงปุ่มนูนใต้ผิว และสิวอุดตันหัวดำ (Blackheads) เป็นสิวอุดตันที่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้อย่างชัดเจน มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก และมีหัวสีดำอยู่ตรงกลาง ในระยะแรก สิวชนิดนี้จะมีลักษณะคล้ายสิวหัวขาว ก่อนที่หัวสิวจะทำปฏิกิริยากับอากาศไประยะหนึ่งจนบริเวณหัวสิวกลายเป็นสีดำ

2. สิวอักเสบ

สิวอักเสบ เป็นสิวที่พัฒนามาจากสิวอุดตันและมีอาการรุนแรง โดยสิวอักเสบนั้นนับว่าเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดตุ่มบวมเป็นก้อนบริเวณผิวหนัง

การอักเสบของสิว เกิดจากการอุดตันในรูขุมขนที่มีสิ่งสกปรกและน้ำมันส่วนเกินสะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ต่อมาเมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าไปปะปนในรูขุมขน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะพยายามต่อสู้กับแบคทีเรียนั้น ส่งผลให้ผิวบริเวณดังกล่าวเกิดการระคายเคืองและอักเสบขึ้น โดยสิวอักเสบที่พบได้บ่อยบริเวณแผ่นหลัง มีดังนี้

  • สิวตุ่มแดง (Papule) มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงเข้มถึงสีม่วง หรือมีสีเข้มกว่าสีผิวตามธรรมชาติ ไม่มีหัวหนองใต้บริเวณชั้นของผิวหนัง แต่เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย
  • สิวหัวหนอง (Pustule) มีลักษณะเป็นตุ่มบวมแดงขนาดใหญ่ที่ฐาน บริเวณหัวสิวมีจุดสีขาวเหลืองจากการสะสมของหนอง สาเหตุการเกิดสิวหัวหนองนั้นจะเหมือนกับสิวตุ่มแดง เพียงแต่การเกิดหนองเป็นผลมาจากการอักเสบในระยะหนึ่งและเซลล์เม็ดเลือดขาวตายจากการต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย สิวชนิดนี้ไม่ควรบีบด้วยตัวเองเพราะอาจกระตุ้นการอักเสบ ทำให้อาการอักเสบรุนแรงขึ้นได้
  • สิวอักเสบขนาดใหญ่ (Nodule) หรือสิวไต เป็นสิวอักเสบที่มีความรุนแรงมาก มีไตขนาดใหญ่ใต้ชั้นผิวหนัง และไม่มีหัว เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บปวดมาก เพราะการอักเสบเริ่มลุกลามไปยังชั้นใต้ผิวหนัง

     

  • สิวหัวช้าง (Nodulocystic Ance หรือ Sever Nodular Acne) เป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรง มีลักษณะเป็นตุ่มขนาดใหญ่ แต่ไม่สามารถสังเกตเห็นหัวสิวได้ ภายในของสิวจะเป็นโพรงมีหนองปนเลือดที่เกิดจากการอักเสบรุนแรงใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้มีอาการเจ็บรุนแรงถึงแม้จะไม่ได้กด รวมถึงอาการเจ็บยังอาจร้าวไปที่ผิวหนังรอบ ๆ ได้ด้วย

วิธีรักษาสิวที่หลัง

การรักษาสิวที่หลังสามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของสิว หากสิวที่หลังมีอาการไม่รุนแรงมากอาจริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตัวเองก่อน เช่น อาบน้ำทันทีหลังจากทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออกมาก หรือการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่ช่วยลดสิว

แต่ถ้าหากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการสิวไม่ดีขึ้นและมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อาจลองเปลี่ยนมารักษาสิวที่หลังด้วยวิธีเหล่านี้แทน

1. การรักษาด้วยยาใช้ภายนอก

วิธีนี้เป็นวิธีแรก ๆ ที่แพทย์มักแนะนำเมื่อเกิดสิวที่หลัง เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการรับประทานยารักษาสิว

โดยวิธีนี้จะเน้นไปที่การลดความมันของผิว ผลัดเซลล์ผิว รวมถึงการนำยาที่มีส่วนประกอบในการฆ่าเชื้อสิวมาใช้รักษาด้วย โดยยาใช้ภายนอกที่มักนำมาใช้รักษาสิวที่หลัง มีดังนี้

  • เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) หรือ Benzac ยาชนิดนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เพราะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อและลดจำนวนแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวอักเสบ รวมถึงช่วยผลัดเซลล์ผิวและลดปริมาณไขมันบนผิวหนังได้ด้วย
  • ยากลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) เป็นอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ ที่สามารถใช้ได้กับสิวทุกระยะ มีคุณสมบัติสำคัญในการช่วยลดการอุดตันและยับยั้งการอักเสบของสิว แต่ทั้งนี้ไม่ควรใช้เรตินอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้ผิวบางลงและไวต่อแดดได้
  • ยาที่มีส่วนผสมของซัลเฟอร์ (Sulfur) ซัลเฟอร์มักถูกผสมเข้ากับสารตัวอื่นที่ช่วยในการรักษาสิว เนื่องจากซัลเฟอร์สามารถดูดซับความมันและสิ่งสกปรกภายในรูขุมขนได้ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้อาการอักเสบดีขึ้นด้วย
  • ยาที่มีส่วนผสมของกรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) เป็นกรดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สามารถลดการอุดตันของรูขุมขนและลดการอักเสบของสิวได้ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการรักษารอยสิวหลังจากสิวหายได้

ทั้งนี้ ถึงแม้ยารักษาสิวที่หลังหลาย ๆ ชนิดจะสามารถหาซื้อได้เอง แต่ก่อนใช้ยารักษาสิวที่หลังก็ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เนื่องจากยาบางชนิดอาจเกิดผลข้างเคียงได้

2. การรับประทานยารักษาสิว

การรับประทานยารักษาสิว เป็นวิธีที่แพทย์มักเลือกมาใช้เป็นตัวเลือกที่สองหลังจากรักษาสิวด้วยยาใช้ภายนอกแล้วไม่ได้ผล โดยยาชนิดรับประทานที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาสิวที่หลัง มีดังนี้

  • ยากลุ่มไอโสเตรตินอย (Isotretinoin) เป็นอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ มักนำมาใช้ในผู้ป่วยที่เป็นสิวระยะปานกลางถึงรุนแรง โดยตัวยาจะช่วยให้ต่อมไขมันสร้างไขมันลดลง รวมถึงช่วยลดการอุดตันของรูขุมขนและลดการอักเสบได้ แต่ทั้งนี้ ยากลุ่มไอโสเตรตินอยก็มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง จึงมักจะใช้กับผู้ที่มีสิวจำนวนมากหรือสิวที่มีการอักเสบรุนแรงเท่านั้น
  • ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน เช่น ด็อกซีไซคลีน (Doxycycline), เซฟาเลกซิน (Cephalexin) และแมคโครไลด์ (Macrolide) ยาเหล่านี้มีคุณสมบัติสำคัญในการควบคุมความมันของผิว ลดการอุดตันของรูขุมขน ลดปริมาณของแบคทีเรีย และต้านเชื้อแบคทีเรียใหม่ได้ ทั้งนี้ควรรับประทานยาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะอาจส่งผลต่อการทำงานของไตได้
  • ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนเป็นส่วนสำคัญของการเกิดสิว โดยยาคุมกำเนิดจะเข้ามาช่วยลดปริมาณฮอร์โมนแอนโดรเจนและฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการผลิตซีบัม โอกาสเกิดสิวจึงลดลง

เนื่องจากยารักษาสิวชนิดรับประทานมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง การใช้ยาชนิดนี้เพื่อรักษาสิวจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น ไม่แนะนำให้หาซื้อยามาทานด้วยตนเอง

3. รักษาสิวที่หลังด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์

การรักษาสิวที่หลังด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ มักถูกนำมาใช้ในกรณีที่รักษาสิวที่หลังด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล รวมถึงผู้ที่ต้องการเห็นผลลัพธ์หลังการรักษาอย่างรวดเร็ว โดยวิธีรักษาสิวที่หลังด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ Better Me Clinic แนะนำมีดังนี้

  • ฉีดสิว (Acne Injection) เป็นการใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ฉีดลงไปที่ตุ่มสิว ทำให้สิวยุบตัวลง มักนิยมใช้ในการรักษาสิวไม่มีหัวที่มีแนวโน้มว่าจะมีอาการบวมมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดตรงที่อาจทำให้เกิดรอยบุ๋มหลังการรักษาได้
  • การจี้ด้วยไฟฟ้า (Electrosurgery) ใช้ในผู้ที่มีปัญหาผิวอุดตันที่แผ่นหลังจำนวนมาก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือจี้ลงบริเวณที่เป็นสิวเพื่อเปิดรูขุมขน แล้วกดนำสิ่งอุดตันออก
  • เลเซอร์สิว (Acne Clear Laser) เป็นการบำบัดและรักษาสิวด้วยการใช้แสงเลเซอร์ โดยเลเซอร์จะทำหน้าที่ช่วยกำจัดไขมันที่อุดตันอยู่ในรูขุมขน ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และยับยั้งการทำงานของต่อมไขมันให้ทำงานลดลง ช่วยให้ลดจำนวนสิวและยับยั้งการเกิดสิวใหม่ รวมถึงช่วยให้รูขุมขนกระชับ ผิวเรียบเนียน
  • ผลัดเซลล์ผิว (Peeling) หรือกระบวนการเร่งให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วด้วยการใช้สารเคมี วิธีนี้จะช่วยให้ชำระล้างสิ่งสกปรกในรูขุมขน รวมถึงช่วยกระตุ้นให้ผิวเกิดการซ่อมแซมตนเอง โดยที่ Better Me Clinic เรามีการผลัดเซลล์ผิวด้วยสูตร Acne Peeling ซึ่งสูตรนี้สามารถรักษาปัญหาสิวได้อย่างครอบคลุม ช่วยฆ่าเชื้อสิว และทำให้สิวหายไวขึ้น
  • ฉายแสง LED ลดสิวอักเสบ มักนิยมใช้แสงเลเซอร์อยู่ 2 ชนิด ได้แก่ แสงสีฟ้า ที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และแสงสีแดง ที่มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบของต่อมไขมัน รวมถึงกระตุ้นให้ผิวแข็งแรงขึ้น

 

ปรึกษาหมอชัญญาโดยตรง
ปรึกษาหมอชัญญาโดยตรง

วิธีป้องกันการเกิดสิวที่หลัง

สิวที่หลังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและอาจสร้างความกังวลใจในการแต่งกายได้ การป้องกันสิวที่หลังจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีป้องกันการเกิดสิวที่หลังสามารถทำได้ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่เกิดสิว เช่น การแคะ, แกะ, เกา และบีบเค้น รวมถึงการสัมผัสบริเวณสิว หากหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวบ่อย ๆ ได้ ก็จะช่วยลดโอกาสในการเกิดสิวที่หลังได้เช่นกัน
  • ดูแลผิวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดผิว การผลัดเซลล์ผิว และการใช้สกินแคร์ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว เมื่อผิวมีความสมดุล การผลิตน้ำมันก็จะลดลง และโอกาสในการเกิดสิวที่หลังจะลดลงไปด้วย
  • เลือกรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และน้ำตาลมากเกินไป เพราะอาจไปรบกวนสมดุลในการผลิตน้ำมันของผิวหนัง รวมถึงกระตุ้นให้ผิวเกิดการอักเสบได้
  • ปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าฮอร์โมนเป็นหนึ่งในปัจจัยของการเกิดสิว ซึ่งหากยังมีพฤติกรรมเดิมอยู่ เช่น มีความเครียดสะสม ถึงแม้จะรักษาสิวด้วยวิธีอื่น ๆ แล้ว แต่พฤติกรรมเหล่านี้จะยังคงทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลและนำไปสู่การเกิดปัญหาสิวดังเดิมไม่รู้จบ
  • รักษาความสะอาดของสิ่งของที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน หรือผ้าห่ม เพราะสิ่งเหล่านี้มักเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง และก่อให้เกิดสิวที่หลังได้
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดรูป เนื่องจากการสวมเสื้อผ้าที่พอดีตัวอาจทำให้เกิดการระคายเคืองจนเกิดเป็นสิวได้ ควรเปลี่ยนมาใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง สวมใส่สบาย หรือหากต้องการสวมเสื้อผ้ารัดรูป ควรเลือกเป็นเนื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีและไม่ก่อให้เกิดความอับชื้น

 

คำถามที่พบบ่อย

1. สิวที่หลังหายเองได้ไหม?

สิวที่หลังสามารถหายเองได้ในบางกรณี ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของสิว หากยังเป็นสิวอุดตันหรือสิวอักเสบในระยะเริ่มต้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างอาจช่วยให้อาการของสิวดีขึ้นได้ แต่สำหรับสิวอักเสบที่มีการอักเสบมาก เช่น สิวหัวช้าง อาจมีโอกาสน้อยที่สิวจะหายได้เอง การเข้ารับการรักษาโดยแพทย์หรือรักษาด้วยการใช้ยาอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

2. สิวที่หลังกดได้ไหม?

สิวที่หลังสามารถกดได้ แต่ไม่แนะนำให้กดสิวที่หลังด้วยตัวเอง เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา เช่น การติดเชื้อ, สิวลุกลาม, รอยแผลเป็น และการเกิดสิวซ้ำซาก หากต้องการกดสิวที่หลัง แนะนำให้เข้ารับการรักษาที่สถานบริการที่ดูแลโดยแพทย์หรือผู้ชำนาญการ โดยผู้ที่มีสิวอุดตันมากแพทย์อาจมีการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าร่วมด้วย เพื่อเปิดหัวสิวก่อนทำการกด

3. รอยดำจากสิวที่หลังรักษาได้ไหม?

รอยดำจากสิวที่หลังสามารถรักษาให้หายได้ ทั้งการดูแลและฟื้นฟูผิวด้วยตัวเอง หรือรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ โดยผู้ที่สนใจรักษารอยสิวที่หลังด้วยตนเอง อาจเริ่มจากการเลือกใช้ยาทาลดรอยสิว หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของวิตามินซี ซิงค์ซัลเฟต อาร์บูติน และกรดซีลาอิก ซึ่งสารเหล่านี้จะมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันคือช่วยปรับสีผิวบริเวณที่มีรอยสิวให้ดูกระจ่างใสขึ้น

ส่วนผู้ที่ต้องการรักษารอยดำจากสิวด้วยวิธีทางการแพทย์ อาจเลือกเป็นการผลัดเซลล์ผิวด้วยการใช้สารเคมี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เข้าไปกำจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพและกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่ หรือการเลเซอร์หน้าใส ที่ทำได้โดยการยิงพลังงานเลเซอร์ลงไปบนผิวเพื่อเข้าไปจับกับเม็ดสีเมลานินและทำให้เม็ดสีแตกตัวออก

หากกำลังมองหาเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ไขปัญหารอยดำจากสิวที่หลังได้อย่างล้ำลึก Better Me Clinic ขอแนะนำเลเซอร์ Fractional CO2 เทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแสงในช่วง 10,600 นาโนเมตร และปล่อยพลังงานออกมาเป็นจุดเล็ก ๆ บนผิวหนัง ทำให้ผิวบริเวณที่มีปัญหาได้รับพลังงานอย่างเต็มที่และแม่นยำ

รักษาสิวที่หลังที่ไหนดี?

จะเห็นได้ว่าการรักษาสิวที่หลังนั้นทำได้ไม่ยากและใกล้เคียงกับการรักษาสิวที่หน้า หากใครที่มีปัญหาสิวที่หลังหนักมากและปล่อยไว้ไม่รีบทำการรักษา ก็อาจทำให้สิวกลายเป็นปัญหาเรื้อรังได้ ทั้งนี้ การรักษาสิวที่หลังให้มีประสิทธิภาพและเห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจน ก็ควรเข้าพบแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อประเมินปัญหาและเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมก่อน

หากคุณกำลังสนใจรักษาสิวที่หลังและต้องการปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ให้ Better Me Clinic by Dr. Chanya เป็นหนึ่งในทางเลือก เพราะเรามีบริการรักษาสิวให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการผลัดเซลล์ผิว การทำทรีตเมนต์พร้อมฉายแสง LED หรือแม้กระทั่งการเลเซอร์สิว ทุกบริการเราดูแลและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น 

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ Better Me Clinic by Dr. Chanya ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-059-8118, 088-603-2641 หรือไลน์ @bettermeclinic ปรึกษาคุณหมอฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย รับรองว่าคุณจะมีผิวสวย ๆ กลับบ้านไปอย่างแน่นอน

  • Cleveland Clinic, Back Acne (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22756-back-acne), 14 September 2024.
  • Medical News Today, How to get rid of acne on the back (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318548), 14 September 2024.
  • HDmall, เลเซอร์สิว รักษาได้เร็ว หน้าใสไร้สิวทันใจ (https://hdmall.co.th/blog/c/acne-clear-laser/), 14 กันยายน 2567.

เว็บไซต์นี้ มีการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ (Cookies) เพื่อมอบบริการที่ดีที่สุดสำหรับคุณ